Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51703
Title: ผลของสารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ233 ต่อการทำงานของไมโทคอนเดรียในสมองของหนูเมาส์ที่มีภาวะบกพร่องของการเรียนรู้และความจำจากการเหนี่ยวนำโดยการฉีดบีตาแอมีลอยด์25-35
Other Titles: Effects of the standardized extract of Centella asiatica ECA233 on brain mitochondrial function in learning-and memory-impaired mice induced by β-Amyloid25-35 injection
Authors: ณัฐนันท์ โล่สุวรรณรักษ์
Advisors: บุญยงค์ ตันติสิระ
มยุรี ตันติสิระ
รัชนี รอดศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Boonyong.T@Chula.ac.th
Mayuree.T@Chula.ac.th
Ratchanee.R@pharm.chula.ac.th
Subjects: สารสกัดจากพืช
หนู -- การทดลอง
โปรตีนจากพืช
ไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอ
Plant extracts
Rats -- Experiments
Plant proteins
Mitochondrial DNA
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของสารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ233 (อีซีเอ233) ต่อการเรียนรู้และความจำ รวมถึงการทำงานของไมโทคอนเดรียที่ถูกเหนี่ยวนำให้บกพร่องโดยการฉีดโปรตีนบีตาแอมี-ลอยด์25-35 (Aβ25-35) เข้าทางโพรงสมองของสมองหนูเมาส์ หลังจากการฉีด Aβ25-35 ให้อีซีเอ233 ขนาด 10 และ 30 มก./กก. น้ำหนักตัว เป็นเวลา 7 วัน วันละ 2 ครั้งโดยการป้อนแก่หนูเมาส์ แล้วการทดสอบการเรียนรู้และความจำด้วย Novel object recognition model จากนั้นทำให้หนูเสียชีวิตอย่างสงบ แยกสมองหนูมาแบ่งกลุ่มเพื่อวัดการทำงานของไมโทคอนเดรียและวัดระดับลิพิดเปอร์ออกซิเดชันโดยการวัดระดับ MDA ผลการทดลองพบว่าหนูที่ได้รับ Aβ25-35 มีการเรียนรู้และความจำบกพร่องเมื่อเทียบกับหนูกลุ่มที่ไม่ได้รับ Aβ25-35 (กลุ่ม sham) และมีระดับ MDA สูงกว่าหนูกลุ่ม sham ส่วนหนูที่ได้รับ Aβ25-35 และได้รับอีซีเอ233 ทั้ง 2 ขนาดมีการเรียนรู้และความจำดีกว่าหนูที่ได้รับ Aβ25-35 อย่างเดียว รวมทั้งช่วยลดระดับ MDA ที่เกิดขึ้นในสมอง แต่ไม่พบว่าไมโทคอนเดรียจากสมองหนูที่ได้รับ Aβ25-35 มีอัตราการใช้ออกซิเจนของไมโทคอนเดรียของสมองแตกต่างจากหนูกลุ่ม sham แต่อย่างใด เมื่อทำการทดสอบผลของอีซีเอ233 ต่อการทำงานของไมโทคอนเดรียแบบ in vitro โดยการแยกไมโทคอนเดรียจากสมองหนูปกติมา incubate กับ KCN ซึ่งเป็นตัวยับยั้งจำเพาะของ complex IV ในไมโทคอนเดรียเพื่อยับยั้ง กระบวนการขนส่งอิเล็กตรอน ความเข้มข้นของ KCN ที่ใช้ในการทดลองนี้คือ IC50 ซึ่งเท่ากับ 0.3 มก./มล. ผลการทดลองพบว่า การ incubate ไมโทคอนเดรียกับอีซีเอ233 ความเข้มข้นต่างๆ (10 – 100 มก./มล. ใน DMSO) ไม่สามารถช่วยเพิ่มอัตราการใช้ออกซิเจนของไมโทคอนเดรียที่ถูกยับยั้งโดย KCN ได้ ผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าการที่ อีซีเอ233 ช่วยฟื้นฟูการเรียนรู้และความจำใน Novel object recognition และการลดระดับลิพิดเปอร์ออกซิเดชันได้นั้น ไม่ได้เป็นผลมาจากกลไกการช่วยปกป้องไมโทคอนเดรีย แต่อาจเป็นมาจากกลไกอื่นๆ ภายในเซลล์ซึ่งต้องศึกษาต่อไปในอนาคต
Other Abstract: This study aimed to investigate the effects of the standardized extract of Centella asiatica ECa233 (ECa233) on brain mitochondrial function and cognitive function impairment induced by intracerebroventricular injection of β-amyloid25-35 (Aβ25-35) into mouse. ICR mice were orally treated with 10 or 30 mg/kg body weight of ECa233 twice a day for 7 days after Aβ25-35 injection. Learning and memory was investigated using Novel object recognition model. After euthanasia, the brain was isolated and subjected to measurement of mitochondrial oxygen consumption and lipidperoxidation level determination using MDA as a marker of oxidative stress. The results demonstrated that Aβ25-35 injected mice displayed cognitive impairment and elevation of brain MDA level when compared to sham. Both 10 and 30 mg/kg body weight ECa233 recovered learning and memory impairment accompanied by MDA level reduction when compared to Aβ25-35 injected mice. However, no difference in mitochondrial oxygen consumption among sham, Aβ-treated and Aβ+ECa treated group were observed. The effect of ECa233 on mitochondrial function was further conducted in vitro. Brain mitochondria isolated from untreated mice was incubated with KCN (specific complex IV inhibitor). IC50 of KCN to mitochondrial function (0.3 mg/ml) was selected to investigate effects of ECa233. The results showed that incubation with different concentrations of ECa233 (10-100 mg/ml DMSO) did not recover KCN-induced mitochondrial function deficit. The results obtained indicated that improvement of learning and memory impairment in novel object recognition and reduced oxidative stress from Aβ25-35 elicited by ECa233 could not be accounted by its effect on mitochondrial function. Some other cellular mechanism of ECa233 should be further investigated.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สรีรวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51703
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2105
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2105
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nattanan_lo.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.