Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51719
Title: | การศึกษาค่าจลนพลศาสตร์ของระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนในกรุงเทพมหานครและการสร้างแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ของโรงบำบัดน้ำเสียดินแดง |
Other Titles: | Study of kinetic parameters of Bangkok municipal wastewater treatment and computer modeling of Dindaeng wastewater treatment plant |
Authors: | ชลธิพร สุทธิธรรม |
Advisors: | ศรัณย์ เตชะเสน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | sarun.t@chula.ac.th |
Subjects: | น้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการแบบตะกอนเร่ง -- ไทย -- กรุงเทพฯ โรงบำบัดน้ำเสีย -- ไทย -- กรุงเทพฯ กากตะกอนน้ำเสีย -- ไทย -- กรุงเทพฯ Sewage -- Purification -- Activated sludge process -- Thailand -- Bangkok Sewage disposal plants -- Thailand -- Bangkok Sewage sludge -- Thailand -- Bangkok |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาค่าตัวแปรทางจลนพลศาสตร์ของระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนในประเทศไทยแบบแอกทิเวตเต็ดสลัดจ์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ AQUASIM2.1b ค่าที่ศึกษาได้แก่ ค่ายิลต์ (Growth Yield; Y) ค่าคงที่อัตราการย่อยสลายจำเพาะสูงสุด (Maximum Specific Growth Rate; mu[subscript m]) และค่าคงที่การอิ่มตัว (Half saturation Coefficient ; K[subscript s]) ในการทดลองแบบแบตซ์โดยใช้น้ำเสียและสลัดจ์จากโรงบำบัดน้ำเสียดินแดงและน้ำเสียจากย่อเกรอะจากอาคารสำนักงานสูง 22 ชั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การทดลองใช้ความเข้มข้นเริ่มต้นของน้ำเสียตั้งแต่ 60 ถึง 200 มิลลิกรัมซีโอดีต่อลิตร และความเข้มข้นของจุลชีพเริ่มต้นมีค่าเท่ากับ 100 และ 710 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการทดลองพบว่าค่ายิลด์มีค่าเท่ากับ 0.43 มิลลิกรัมวีเอสเอส/มิลลิกรัมซีโอดี (r[superscript 2] = 0.93) ส่วนการหาค่าจลนพลศาสตร์ในการทดลองโดยใช้โปรแกรม AQUASIM2.1b พบว่าค่า mu[subscript m] และ K[subscript s] ของการย่อยสลายสารอินทรีย์มีค่าเท่ากับ 3.96 มิลลิกรัมวีเอสเอส/มิลลิกรัมสซีโอดี-วัน และ 41.34 มิลลิกรัมซีโอดีต่อลิตร ตามลำดับ ซึ่งได้ค่าความผิดพลาดมาตรฐานน้อยกว่าร้อยละ 10 ของความเข้มข้นเริ่มต้น ในการจำลองระบบบำบัดน้ำเสียของโรงบำบัดน้ำเสียดินแดง ข้อมูลที่ป้อนเข้าในโปรแกรม ได้แก่ อัตราการไหล 186,310 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ความเข้มข้นของน้ำเสีย 72.27 มิลลิกรัมซีโอดีต่อลิตร ปริมาตรถังเติมอากาศ 71,265 ลูกบาศก์เมตร และความเข้มข้นของสลัดจ์ในถังเติมอากาศ 1,445 มิลลิกรัมวีเอสเอสต่อลิตร โดยใช้ค่าจลนพลศาสตร์ที่ได้จากการทดลองมาจำลองระบบบำบัดน้ำเสียของโรงบำบัดน้ำเสียดินแดง พบว่า ค่าซีโอดีของน้ำทิ้งควรมีค่าประมาณ 0.61 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีค่าต่ำกว่าที่วัดได้จริงจากโรงบำบัดน้ำเสียดินแดงในปัจจุบันมาก (ประมาณ 15 มิลลิกรัมต่อลิตร) สาเหตุที่เกิดขึ้นอาจมาจากสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ช้าหลุดออกไปกับน้ำทิ้ง |
Other Abstract: | This research studied kinetic parameters of activated sludge process treating municipal wastewater in Thailand using a computer program, AQUASIM2.1b. Parameters included growth yield (Y), maximum specific degradation rate (mu[subscript m]), and half saturation coefficient (K[subscript s]). Experiments were performed with batch reactor using raw wastewater and sludge from Dindaeng wastewater treatment plant and wastewater from 22-story office building in the faculty of Engineering, Chulalongkorn University. The initial COD concentrations in this experiment were 60-200 mg-COD/L and initial sludge concentrations were 100 and 710 mg-MLVSS/L. Results showed that the growth yield (Y) was 0.43 mg-VSS/mg-COD (r[superscript 2] = 0.93). Determination of kinetic parameters using program AQUASIM2.1b found that mu[subscript m] and K[subscript s] of organics degradation were 3.96 mg-VSS/mg-COD-day and 41.34 mg-COD/L, respectively. The Standard Errors of Estimate (SEE) were less than 10% of initial concentration. In the simulation of wastewater treatment system in Dindaeng wastewater treatment plant, parameters input were flow rate of 186,310 m[superscript 3]/d, wastewater concentration of 72.27 mg-COD/L, aeration tank volume of 71,265 m[superscript 3], and MLVSS of 1,445 mg/L. By using kinetic parameters from experiments to simulate wastewater treatment system found that effluent COD should be about 0.61 mg/l, which is much lower than real effluent COD (15 mg/l). The results suggested that the effluent COD might come from slowly degradable organics. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51719 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.860 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.860 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chontiporn_su_front.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chontiporn_su_ch1.pdf | 455.17 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chontiporn_su_ch2.pdf | 2.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chontiporn_su_ch3.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chontiporn_su_ch4.pdf | 2.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chontiporn_su_ch5.pdf | 318.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chontiporn_su_back.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.