Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51736
Title: การคัดเลือกรายการยาที่มีความเสี่ยงสูงในผู้ป่วยสูงอายุไทยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย
Other Titles: Selection of high alert drugs in Thai elderly patients using delphi technique
Authors: ปริญญา สกุลรัตน์
Advisors: ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ
จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Supakit.W@Chula.ac.th
Jiraporn.Ke@Chula.ac.th
Subjects: เทคนิคเดลฟาย
การรักษาด้วยยา
ผู้สูงอายุ -- การใช้ยา
Delphi method
Older people -- Drug use
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้มีปัญหาในการรักษาพยาบาลและการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ป่วยสูงอายุส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาหลายชนิดร่วมกันซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การคัดเลือกรายการยาที่มีความเสี่ยงสูงจึงมีความจำเป็นต่อผู้ป่วยสูงอายุไทย วัตถุประสงค์: เพื่อคัดเลือกรายการยาสำหรับพิจารณาการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในผู้ป่วยอายุไทย และประเมินรายการยาที่มีความเสี่ยงสูงในผู้ป่วยนอกสูงอายุ โรงพยาบาลสิงห์บุรี วิธีดำเนินการวิจัย: การคัดเลือกรายการยาที่มีความเสี่ยงสูงใช้เทคนิคเดลฟายโดยการสำรวจ 3 รอบ เพื่อหามติร่วมของผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 – สิงหาคม 2549 แบบสอบถามที่สร้างขึ้นประกอบด้วยข้อความที่เกี่ยวกับการใช้ยาที่ทำให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ 3 ด้านซึ่งปรับปรุงจากคำจำกัดความของ JCAHO คือ ยาที่มีแนวโน้มทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ อันตรกิริยาของยาของโรค และอันตรกิริยาของยากับยา ในแต่ละข้อความ ผู้เชี่ยวชาญได้จัดประเภทการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงเป็น 3 ประเภทคือ ควรหลีกเลี่ยงการใช้สามารถใช้ในบางกรณีและมีข้อบ่งใช้บางอย่าง ส่วนรายการยาที่สร้างขึ้นได้ทำการประเมินในผู้ป่วยนอกสูงอายุ โรงพยาบาลสิงห์บุรี โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2549 ผลการวิจัย: ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุจำนวน 16 คนให้ข้อมูลในการสำรวจครบ 3 รอบ และสามารถหามติร่วมเพื่อคัดเลือกรายการยาที่มีความเสี่ยงสูง 77 รายการ (ร้อยละ 81.7) ซึงแบ่งเป็นยาที่มีแนวโน้มที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ 33 ชนิดยาหรือกลุ่มยา อันตรกิริยาของยากับโรค 32 รายการและอันตรกิริยาของยากับยา 12 รายการ รวมทั้งจัดประเภทยาที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ สามารถใช้ในบางกรณีและมีข้อบ่งใช้บางอย่าง (5, 7 และ 11 รายการ ตามลำดับ) ส่วนการประเมินรายการยาในผู้ป่วยนอกสูงอายุจำนวน 240 คน พบว่า ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 70.1+-6.5 ปี ได้รับการสั่งใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงเฉลี่ย 1.7+-1.1 รายการ โดยรายการยาที่สั่งใช้บ่อยที่สุดคือ กลุ่มยาโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางและกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDS) สรุปผล: การวิจัยนี้สามารถคัดเลือกและประเมินรายการยาที่มีความเสี่ยงสูงในผู้ป่วยสูงอายุ รายการยานี้สามารถใช้ในการสั่งใช้ยาและติดตามการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในผู้ป่วยสูงอายุได้ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินผลของการใช้รายการยาที่สร้างขึ้นนี้ในงานบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ
Other Abstract: Background: The number of older people in Thailand tends to increase dramatically. This trend results in many problems about patient care and high alert drug use. Most elderly patients have multiple diseases that require numerous drugs, leading to many adverse effects. Criteria for high alert drugs use in elderly patients are essential to help prevent the adverse events. Objective: This study aimed to develop explicit criteria for determining high alert drug use in Thai elderly patients and to evaluate the criteria in the elderly out-patients at Singburi Hospital. Methods: The study was conducted using a Delphi technique with three round surveys to obtain a consensus of 17 geriatric medicine experts between August 2005 and August 2006. A structured questionnaire with practice statements was created to embrace three types of high alert drug use, which was adapted from JCAHO’s definition. These included potential adverse reactions, drug-disease interactions and drug-drug interactions. In each statement, the expert panel was asked to classify three groups of drug use: the drugs should be avoided, rarely appropriate use and use with some indications for elderly patients. The developed criteria were evaluated in elderly out-patients at Singburi Hospital by using a structured questionnaire fro to November 2006. Results: A panel of 16 geriatric medicine experts completed the study. A consensus was achieved in 77 out of 95 practice statements (81.1%) Of these statements, 33 were potential adverse reactions, 32 drug-disease interactions and 12 drug-drug interactions. A total 23 out of 77 statements were categorized into three groups, which embraced drugs should be avoided, rarely appropriate use and use with some indications (5, 7 and 11 practice statements, respectively). For the evaluation of the criteria, 240 elderly out-patients participated in the study. Their average age was 70.1+-6.5 years. They were prescribed 1.7+-1.1 items of high alert drugs. Frequently used drugs or drug classes included cardiovascular drugs, drugs used in central nervous system and non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDS). Conclusion: The criteria for determining high alert drug use in elderly patients were developed and evaluated. They may be used as a tool for prescribing, identifying and monitoring high alert drug use in older patients. Further studies are needed to evaluate the impact of the criteria on pharmaceutical care service for elderly patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51736
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
parinya_sa_front.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
parinya_sa_ch1.pdf708.23 kBAdobe PDFView/Open
parinya_sa_ch2.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
parinya_sa_ch3.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
parinya_sa_ch4.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open
parinya_sa_ch5.pdf457.47 kBAdobe PDFView/Open
parinya_sa_back.pdf13.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.