Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51738
Title: ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการรับรู้ประโยชน์ในการออกกำลังกายต่อระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
Other Titles: Effect of perceived self-efficacy and perceived behefits in exercise promoting program on blood pressure level among essential hypertensive patients
Authors: พิมพ์มาดา อัจฉริยพัฒนา
Advisors: นรลักขณ์ เอื้อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: noralukuakit@yahoo.com
Subjects: ความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย
ความดันเลือด
การออกกำลังกาย
Essential hypertension -- Patients
Blood pressure
Exercise
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการรับรู้ประโยชน์ในการออกกำลังกายต่อระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ที่เข้ารับบริการที่คลินิกความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอกโรงเรียนอ่าวอุดม จังหวัดชลบุรี จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 20 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการรับรู้ประโยชน์ในการออกกำลังกาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนแบบวัดการรับรู้ประโยชน์ในการออกกำลังกาย และแบบวัดพฤติกรรมการออกกำลังกาย ซึ่งเครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ด้วยการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .93, .88 แบะ .94 ตามลำดับ สำหรับการวัดความดันโลหิต ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการรับรู้ประโยชน์ในการออกกำลังกาย มีระดับความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการรับรู้ประโยชน์ในการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการรับรู้ประโยชน์ในการออกกำลังกาย มีระดับความดันโลหิตต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of the quasi-experimental research was to study the effect of perceived self-efficacy and perceived benefits in exercise promoting program on blood pressure level among essential hypertensive patients. The samples were 40 adult hypertensive patients in hypertensive clinic of the out patient department at Ao-Udom Hospital Chonburi. The samples were assigned in to the experimental and the control group by using a simple random method. The experimental group received the perceived self-efficacy and perceived benefits promoting program in exercise, while the control group received a conventional nursing care. The instruments were tested for the content validity by 5 experts. The reliabilities of perceived self-efficacy questionnaires, erceived benefits and exercise behaviors questionnaires were .93, .88, and .94. Using the automatic blood pressure monitor for blood pressure measurement. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and t-test. The research findings were as follows: 1. The systolic level and diastolic level of blood pressure of the experimental group after receiving the program were significantly lower than before receiving the program at the level of .05. 2. The systolic level and diastolic level of blood pressure of the experimental group after receiving the program were significantly lower than of the control group at the level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51738
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.744
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.744
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pimmada_at_front.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
pimmada_at_ch1.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
pimmada_at_ch2.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open
pimmada_at_ch3.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open
pimmada_at_ch4.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
pimmada_at_ch5.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
pimmada_at_back.pdf8.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.