Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5175
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนวลฉวี หงษ์ประสงค์-
dc.contributor.advisorเอมอร เบญจวงศ์กุลชัย-
dc.contributor.authorจรีวรรณ พลชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-12-27T06:38:34Z-
dc.date.available2007-12-27T06:38:34Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743328645-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5175-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractประเมินแอคติวิตี้ของเอนไซม์เบต้า กลูคูโรนิเดสในน้ำเหลืองเหงือกจากฟัน ของผู้ป่วยปริทันต์อักเสบที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และผู้ป่วยปริทันต์อักเสบที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน และหาความสัมพันธ์ระหว่างแอคติวิตี้ของเอนไซม์เบต้า กลูคูโรนิเดสกับดัชนีวัดทางคลินิกต่างๆ โดยการสุ่มตัวอย่าง จากฟันจำนวน 240 ซี่ ในผู้ป่วย 5 กลุ่ม โดยมีผู้ป่วยกลุ่มละ 8 คน กลุ่ม 1 เป็นผู้ป่วยปริทันต์อักเสบที่เป็นโรคเบาหวาน และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ กลุ่ม 2 เป็นผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบที่เป็นโรคเบาหวาน และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด กลุ่ม 3 เป็นผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบที่ไม่มีประวัติของการเป็นโรคเบาหวาน กลุ่ม 4 และ 5 เป็นผู้ป่วยที่มีอวัยวะปริทันต์ปกติ แต่ผู้ป่วยกลุ่ม 4 มีประวัติการเป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย ผู้ป่วยทั้ง 5 กลุ่ม ได้รับการเก็บน้ำเหลืองเหงือกด้วยแถบกระดาษกรองจากร่องลึกปริทันต์ ในตำแหน่งที่ลึกที่สุดของฟันตัดหน้า ฟันกรามน้อยซี่ที่ 1 และฟันกรามซี่ที่ 1 ใน 2 จตุภาคของช่องปาก วัดปริมาตรน้ำเหลืองเหงือกโดยใช้เครื่องเพอริโอตรอน 8000 แล้วตรวจหาแอคติวิตี้ของเอนไซม์เบต้า กลูคูโรนิเดส โดยการอ่านค่าการดูดกลืนแสงจากเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ พบว่า แอคติวิตี้ของเอนไซม์เบต้า กลูคูโรนิเดสในน้ำเหลืองเหงือกจากฟันของผู้ป่วยกลุ่ม 1,2 และ 3 ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยกลุ่ม 1 มีค่าเฉลี่ยของเอนไซม์เท่ากับ 1.58 (+_0.69) ยูนิต, กลุ่ม 2 เท่ากับ 1.53 (+_0.67) ยูนิต และกลุ่ม 3 เท่ากับ 1.41 (+_0.89) ยูนิต อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีอวัยวะปริทันต์ปกติคือ กลุ่ม 4 และ 5 พบว่า ผู้ป่วยกลุ่ม 1,2 และ 3 มีแอคติวิตี้ของเอนไซม์เบต้า กลูคูโรนิเดสมากกว่ากลุ่ม 4 และ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกลุ่ม 4 มีค่าเฉลี่ยของเอนไซม์เท่ากับ 0.87(+_0.28) ยูนิต, กลุ่ม 5 เท่ากับ 0.89 (+_0.25) ยูนิต ซึ่งใน 2 กลุ่มนี้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงไม่พบความสัมพันธ์ ระหว่างโรคปริทันต์อักเสบกับโรคเบาหวาน แต่แอคติวิตี้ของเอนไซม์เบต้า กลูคูโรนิเดสจะเพิ่มขึ้นเด่นชัดในผู้ป่วยปริทันต์อักเสบ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่มีอวัยวะปริทันต์ปกติ โดยแอคติวิตี้ของเอนไซม์จะแปรผันตรงกับความลึกของร่องลึกปริทันต์ ดัชนีเหงือกอักเสบ ระดับการยึดเกาะทางคลินิก และปริมาตรของน้ำเหลืองเหงือกen
dc.description.abstractalternativeThe present study was designed to assess beta-glucuronidase activity in gingival crevicular fluid (GCF) from periodontitis patients with and without type 2 diabetes mellitus (DM), and to correlate it with clinical parameters. Forty subjects (240 teeth) in this study were divided into 5 groups. Group 1,2 and 3 patients were diagnosed as having periodontitis but group 1 had controlled DM, group 2 had uncontrolled DM and group 3 had no history of DM. Group 4 and 5 patients were diagnosed as having healthy periodontium but group 4 had DM and group 5 had no history of DM. The GCF was collected for 30 seconds with periopaper strips from the deepest pockets of the central incisor, first premolar and first molar from two quadrants of mouth. The volume of absorbed GCF was determined by Periotron 8000 and the crevicular beta-glucuronidase activity was colorimetrically determined by a spectrophotometer. There was no statistically significant difference in crevicular beta-glucuronidase activities among groups 1,2 and 3. Mean crevicular beta-glucuronidase activities in groups 1,2 and 3 were 1.58 (+_0.69), 1.53 (+_0.67), 1.41 (+_0.89) unit, respectively. However, groups 1,2 and 3 had higher beta-glucuronidase activity than groups 4 and 5 (p<0.05). Mean crevicular beta-glucuronidase activities in groups 4 and 5 were 0.87 (+_0.28), 0.89(+_0.25) unit, respectively. There was no significant difference between groups 4 and 5. The result of this study indicates that diabetes mellitus shows no relationship with periodontitis but activity of beta-glucuronidase in periodontitis patients is found to be higher than that of healthy periodontium patients. Activity of beta-glucuronidase was shown to be positively correlated with pocket depth, gingival index, clinical attachment level and volume of GCF.en
dc.format.extent5697477 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1999.96-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเบาหวานen
dc.subjectโรคปริทันต์en
dc.subjectน้ำเหลืองเหงือกen
dc.subjectเบตา-กลูคูโรนิเดสen
dc.titleเบต้า กลูคูโรนิเดสในน้ำเหลืองเหงือกของผู้ป่วยปริทันต์อักเสบ ที่เป็นโรคเบาหวานen
dc.title.alternativeBeta-glucuronidase in crevicular fluid of periodontitis patients with diabetes mellitusen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineปริทันตศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNoulchavee H.@chula.ac.th.-
dc.email.advisorEm-on.B@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1999.96-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jareewan.pdf5.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.