Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51767
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภัสราภา โตวิวัฒน์-
dc.contributor.advisorบุญยงค์ ตันติสิระ-
dc.contributor.advisorมยุรี ตันติสิระ-
dc.contributor.authorปฐวีณ์กร เกษโกมล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2017-02-11T13:47:32Z-
dc.date.available2017-02-11T13:47:32Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51767-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาฤทธิ์และกลไกการออกฤทธิ์ระงับปวดและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ 233 ที่ให้โดยการป้อนทางปากแก่หนูเมาส์ ก่อนที่จะนำมาทดสอบฤทธิ์ระงับปวดด้วยวิธี hot-plate วิธี tail-flick วิธี acetic acid-induced writhing และทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยคาราจีแนน เปรียบเทียบผลของอีซีเอ 233 ในขนาดต่างๆ (10-300 มก./กก.) กับกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (0.5%) และยามาตรฐาน พบว่าอีซีเอ 233 สามารถออกฤทธิ์ระงับปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่จะมีฤทธิ์อ่อนกว่ายาระงับปวดมาตรฐานในทุกวิธีทดสอบ โดยพบว่าอีซีเอ 233 จะออกฤทธิ์ระงับปวดได้ในขนาด 60-300 มก./กก.เมื่อทดสอบด้วยวิธี hot-plate และฤทธิ์ดังกล่าวของ อีซีเอ 233 ในขนาด 300 มก./กก.จะถูกยับยั้งได้ด้วยนาลอกโซน ในขณะที่เมื่อทดสอบด้วยวิธี tail-flick พบว่า อีซีเอ 233 ในขนาด 100-300 มก./กก. จะแสดงฤทธิ์ระงับปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม แสดงว่าการออกฤทธิ์ระงับปวดของอีซีเอ 233 น่าจะเป็นผลสืบเนื่องจากการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางทั้งในระดับเหนือไขสันหลังและไขสันหลัง และอาจเป็นการออกฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวรับ opioids นอกจากนั้นจากการที่พบว่าอีซีเอ 233 ในขนาด 60-300 มก./กก. สามารถออกฤทธิ์ระงับการบิดงอลำตัวที่เกิดจากการฉีดกรดอะซิติกเข้าช่องท้องได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อทดสอบด้วยวิธี writhing และฤทธิ์ดังกล่าวของ อีซีเอ 233 ในขนาด 300 มก./กก.จะถูกยับยั้งได้ด้วยนาลอกโซนเช่นกัน แสดงว่านอกเหนือจากการออกฤทธิ์ระงับปวดโดยการออกฤทธิ์ผ่านระบบประสาทส่วนกลางแล้ว อีซีเอ 233 ยังสามารถออกฤทธิ์ระงับปวดในระดับของระบบประสาทส่วนปลายโดยผ่านตัวรับ opioids ได้อีกด้วย สำหรับการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบ ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้อุ้งเท้าหนูบวมด้วยการฉีดคาราจีแนน พบว่า อีซีเอ 233 ในขนาด 100-300 มก./กก. สามารถลดการบวมของอุ้งเท้าหนูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในชั่วโมงที่ 4-5 หลังจากฉีดคาราจีแนน ซึ่งถือเป็นระยะที่ 2 ของการบวมซึ่งเชื่อว่าเป็นการบวมที่เกี่ยวข้องกับพรอสตาแกลนดิน สอดคล้องกับการที่พบว่าอีซีเอ 233 ในขนาด 300 มก./กก.สามารถลดการบวมของอุ้งเท้าหนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยการฉีดพรอสตาแกลนดิน อี 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการทดลองทั้งหมดแสดงว่า อีซีเอ 233 มีฤทธิ์ระงับปวดโดยมีการออกฤทธิ์ได้ทั้งในระดับประสาทส่วนกลางและระดับประสาทส่วนปลาย โดยอาจมีกลไกการออกฤทธิ์ส่วนหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับกับตัวรับ opioid และอีกส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับฤทธิ์ลดการอักเสบในส่วนที่พรอสตาแกลนดินมีบทบาทสำคัญ ควรมีการศึกษาต่อไปเพื่อให้เข้าใจฤทธิ์ระงับปวดของอีซีเอ 233 ได้อย่างชัดเจนen_US
dc.description.abstractalternativeThe present study aimed to investigate analgesic and anti-inflammatory effects of a standardized extract of Centella asiatica ECa 233 as well as its underlying mechanisms. Various doses of ECa 233 (10-300 mg/kg) were orally given to the animals before they were subjected to hot plate test, tail flick test and acetic acid-induced writhing test to evaluate analgesic activity in mice and carrageenan-induced paw edema in rats. The effects of ECa 233 were compared to those of 0.5%carboxymethylcellulose or respective standard drugs. Significant analgesic activity of ECa 233 was demonstrated in all animal models tested, however, the analgesic effect observed was comparatively weaker than its respective standard drug. Analgesic activity of ECa 60-300 mg/kg in the hot plate test was observed at the doses 300 mg/kg and it was significantly inhibited by naloxone. Analgesic activity of ECa 233 (100-300 mg/kg) was demonstrated in tail flick test. Results observed in these two models suggested that ECa 233 might exert its opioid mediated- analgesic activity by centrally acting mechanism, both at supraspinal or spinal levels. In addition, ECa 233 at the doses of 60-300 mg/kg was found to significantly reduced acetic acid (i.p.) induced writhing in rats and the effect observed at the doses 300 mg/kg was abolished by naloxone. Analgesic activity involving opioid receptors at the peripheral level was thus indicated. Further testing in carrageenan-induced paw edema in rats demonstrated anti-inflammatory effect of ECa 233 at the doses of 100-300 mg/kg. Significant effect was observed at phase 2 of inflammation, at 4-5 hours after the injection of carrageenan, suggesting the involvement of prostaglandins. Accordingly, prostaglandin E2-induced paw edema was significantly reduced by ECa 233 at the dose of 300 mg/kg. Based on the results obtained, it can be concluded that ECa 233 possess analgesic activity which seemed to involve both central and peripheral nervous mechanisms. Opioid mediated mechanism and possibly, analgesic activity secondary to anti-infammatory activity demonstrated by ECa 233 could, in part, accounted for the results observed. Prostaglandins seemed to play role in anti-infammatory activity of ECa 233. Further investigation should be carried out to get more insight into the analgesic activity of ECa 233.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2112-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบัวบกen_US
dc.subjectสารสกัดจากพืชen_US
dc.subjectสารต้านการอักเสบen_US
dc.subjectความเจ็บปวดen_US
dc.subjectCentella Asiaticaen_US
dc.subjectPlant extractsen_US
dc.subjectAnti-inflammatory agentsen_US
dc.subjectPainen_US
dc.titleฤทธิ์ระงับปวดและฤทธิ์ต้านอักเสบของสารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ 233 ในสัตว์ทดลองen_US
dc.title.alternativeAntinociceptive and anti-inflammatory effects of standardized extract of Centella Asiatica ECa 233 in animal modelsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorBoonyong.T@Chula.ac.th-
dc.email.advisorMayuree.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2112-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pataweekorn_ke.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.