Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51796
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาภรณ์ นพคุณดิลกรัตน์-
dc.contributor.authorจิตราพร ศรีทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-02-14T02:59:33Z-
dc.date.available2017-02-14T02:59:33Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51796-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนึ้ศึกษาผลของอัตราส่วนสารสีทาโลไซยานินบลูต่อสารยึดพอลิยูรีเทนดัดแปรในหมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟีฐานน้ำต่อการยึดติดและคุณภาพสิ่งพิมพ์ของฟิล์มพอลิโอลิฟิน ปรับผิวฟิล์มพอลิโอลิฟินด้วยคอโรนาดิสชาร์จ วัดมุมสัมผัสและคำนวณพลังงานผิวของฟิล์ม หาอัตราส่วนของสารยึดต่อน้ำในการกระจายสารสีด้วยวิธี Daniel flow point แล้วกระจายสารสีโดยใช้ ball mill ด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสมของสารสีต่อสารยึดต่อน้ำต่อสารช่วยกระจายอนุภาค วัดขนาดอนุภาคสารสีที่ได้จากการบดที่เวลาต่าง ๆ เตรียมหมึกพิมพ์ฐานน้ำ 12 สูตร ด้วยสารสีที่กระจายอนุภาคแล้ว และใช้ปริมาณสารทำข้นที่คงตัว แต่สารยึด คาร์นูบาแวกซ์และสารลดแรงตึงผิวใช้ปริมาณต่างกัน วัดแรงตึงผิว ความเป็นกรด-เบส และความหนืดของหมึกพิมพ์ที่เตรียมได้ พิมพ์หมึกแต่ละสูตรบนฟิล์ม LLDPE และ CPP ด้วยเครื่อง IGT-F1 ตรวจสอบความกระดำกระด่าง การยึดติด ความมันวาว ค่าสี ความดำ และการทนต่อการขัดถูของสิ่งพิมพ์พบว่า การปรับผิวหน้าด้วยคอโรนาดิสชาร์จมีผลทำให้ค่าพลังงานผิวและความขรุขระของฟิล์ม LLDPE และ CPP เพิ่มขึ้น แต่ผิวหน้าบางส่วนของ CPP ถูกทำลาย เมื่อใช้อัตราส่วนสารสีต่อสารยึดที่มีปริมาณสารยึดมากขึ้น สารสีมีขนาดอนุภาคเล็กกว่าเมื่อใช้เวลาบดกระจายสารสีที่เท่ากัน สารช่วยกระจายสารสีชนิดอนุพันธ์ของกรดไขมันดัดแปรที่ไม่มีประจุลดขนาดอนุภาคได้ดีกว่าและสารสีไม่ตกตะกอนในหมึกพิมพ์ เมื่อปริมาณสารยึดในอัตราส่วนสารสีต่อสารยึดเพิ่มขึ้น ค่าความหนืดหมึกพิมพ์ลดลง อัตราส่วนสารสีต่อสารยึดมีผลต่อความมันวาว ความแตกต่างสีและค่าความดำของหมึกพิมพ์บนฟิล์มมีค่าน้อยลงด้วยการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารยึด ปริมาณคาร์นูบาแวกซ์มีผลต่อความกระดำกระด่าง ความมันวาว และเพิ่มการทนต่อการขัดถูของหมึกพิมพ์บนฟิล์ม CPP แต่ลดการทนต่อการขัดถูบนฟิล์ม LLDPE เมื่อใช้สารลดแรงตึงผิวเพิ่มขึ้น ค่าแรงตึงผิวและความหนืดของหมึกพิมพ์ลดลง สารลดแรงตึงผิวลดความมันวาวแต่เพิ่มการยึดติดและการทนต่อการขัดถูของฟิล์ม CPP แต่เมื่อใช้ปริมาณมากเกินไป ความกระดำกระด่างของชั้นฟิล์มหมึกพิมพ์บนฟิล์ม LLDPE และ CPP เพิ่มขึ้น หมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟีฐานน้ำที่เตรียมได้สามารถยึดติดบนฟิล์มพอลิโอลิฟินและให้คุณภาพสิ่งพิมพ์ที่ดีen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aim was to study the effects of phthalocyanine blue pigment-to-modified polyurethane binder ratio in the water-based flexographic inks on adhesion and printing qualities of olefin films. Olefin films were treated with corona discharge. The contact angles on non-treated and treated films were measured and their energy surfaces were calculated. The pigment-to-binder-to-water ratio for pigment dispersion was observed by Daniel flow point method. Pigment dispersion by ball mill with an optimal ratio of pigment: binder: water: dispersant was investigated. The pigment particle sizes from dispersion at various grinding times were measured. The twelve ink formulations were prepared with pigment dispersion paste, fixed thickener content and various contents of binder, carnuba wax and surfactant. The surface tension, pH and viscosity of the prepared inks were measured. Each ink formulation was printed on LLDPE and CPP films with IGT-F1. The mottle, adhesion, gloss, color value, density and rub resistant of the prints were investigated. It was found that the surface energy and roughness of LLDPE and CPP films increased with corona discharge. However, some part of CPP film surface was damaged. When binder content increased, the particle size of pigment was less at the same dispersion time. Non-ionic, modified fatty acid derivative dispersant gave better reduction the particle size and no flocculation of pigment in inks. When binder content in pigment-to-binder ratio increased, viscosity of ink decreased. Pigment-to-binder ratio affected gloss. The color difference and density decreased with increasing binder content. Carnuba wax content affect mottle and gloss. The carnuba wax increased rub resistant on CPP film, but it decreased rub resistant on LLDPE film. When surfactant increased, the surface tension and viscosity of ink was decreased. Surfactant decreased gloss but increased adhesion and rub resistance of CPP film. When used excess surfactant, prints mottle on LLDPE and CPP films increased. The prepared water-based flexographic ink could adhesion on polyolefin films and provided good printing qualities.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2113-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหมึกพิมพ์en_US
dc.subjectการพิมพ์เฟล็กโซกราฟีen_US
dc.subjectการพิมพ์บรรจุภัณฑ์en_US
dc.subjectPrinting inken_US
dc.subjectFlexographyen_US
dc.subjectPackage printingen_US
dc.titleผลของอัตราส่วนสารสีต่อสารยึดต่อการยึดติดและคุณภาพสิ่งพิมพ์ของหมึกเฟล็กโซกราฟีฐานน้ำบนพอลิโอลิฟินen_US
dc.title.alternativeEffects of pigment-to-binder ratio on adhesion and print quality of water-based flexographic ink applied on polyolefinen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีทางภาพen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2113-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jittraporn_sr.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.