Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51855
Title: เอสเทอริฟิเคชันและทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน ของดิสทิลเลตกรดไขมันปาล์มในเครื่องปฏิกรณ์ เมมเบรนไคโตซาน
Other Titles: Esterification and transesterification of palm fatty acid distillate in chitosan membrane reactor
Authors: จิตราภรณ์ เลาหบุญญานุกูล
Advisors: ขันทอง สุนทราภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: khantong@sc.chula.ac.th
Subjects: เอสเทอริฟิเคชัน
ทรานเอสเทอริฟิเคชัน
กรดไขมันปาล์ม
เชื้อเพลิงไบโอดีเซล
Esterification
Transesterification
Fatty acids
Biodiesel fuels
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ใช้เครื่องปฏิกรณ์เมมเบรนไคโตซานเพอร์แวพอเรชัน โดยในปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ศึกษาเมมเบรนไคโตซาน 2 ชนิด ได้แก่ เมมเบรนไคโตซานแบบเนื้อแน่นไม่เชื่อมขวาง และแบบเนื้อแน่นเชื่อมขวางด้วยกรดซัลฟิวริก อัตราการป้อนเมทานอล 0 ถึง 85 มิลลิลิตรต่อนาที อัตราส่วนระหว่างดิสทิลเลตกรดไขมันปาล์มต่อเมทานอล 1 ต่อ 3 ถึง 1 ต่อ 24 ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยากรดซัลฟิวริกร้อยละ 0.5 ถึง 2.0 โดยน้ำหนัก อุณหภูมิ 50 และ 60 องศาเซลเซียส และในปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันศึกษาอัตราส่วนระหว่างดิสทิลเลตกรดไขมันปาล์มต่อเมทานอล 1 ต่อ 0 ถึง 1 ต่อ 15 ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาโซเดียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ 0.5 ถึง 2.5 โดยน้ำหนัก พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการดำเนินปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชันคือ ใช้อัตราการป้อนเมทานอล 20 มิลลิลิตรต่อนาที อัตราส่วนระหว่างดิสทิลเลตกรดไขมันปาล์มต่อเมทานอล 1 ต่อ 24 ปริมาณกรดซัลฟิวริกร้อยละ 1.5 โดยน้ำหนัก ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ในเครื่องปฏิกรณ์เมมเบรนไคโตซานแบบเนื้อแน่นไม่เชื่อมขวาง จากนั้นดำเนินปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันต่อเนื่องไปโดยไม่ต้องล้างผลิตภัณฑ์ และไม่ต้องเติมเมทานอลเพิ่ม ใช้ปริมาณโซเดียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ 2.0 โดยน้ำหนัก ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ได้ปริมาณเมทิลเอสเทอร์ร้อยละ 94.3±0.9 โดยน้ำหนัก ซึ่งยังต่ำกว่าค่ามาตรฐานไบโอดีเซลของประเทศไทย (ขั้นต่ำ 96.5) และค่าความเป็นกรด 1.1±0.02 มก/ก ที่สูงกว่าค่ามาตรฐาน (ขั้นสูง 0.5) แต่มีค่าจุดวาบไฟและความหนืดไคเนมาติกตามเกณฑ์มาตรฐาน
Other Abstract: In this study, the esterification and transesterification were performed in pervaporation assisted chitosan membrane reactor. In esterification reaction, the variables of membrane type on dense uncrosslinked and dense sulfuric crosslinked chitosan membranes, molar ratio of PFAD and methanol of 1:3 to 1:24, methanol feed flow rate at 0 to 85 ml/min, amounts of sulfuric acid catalyst of 0.5 to 2.0 wt%, and reaction temperature of 50°C and 60°C were studied. In transesterification reaction, the variables of molar ratio of PFAD and methanol of 1:0 to 1:15 and amounts of sodium hydroxide catalyst of 0.5 to 2.5 wt% were studied. The optimum condition for esterification reaction was at 20 ml/min methanol feed rate, 1:24 of PFAD to methanol ratio, 1.5 wt% H2SO4, 60°C for 2 h in the uncrosslinked chitosan membrane reactor. The transesterification was followed without washing step and without methanol addition at 2.0 wt% NaOH and 60°C for 1 h. The product with ester content of 94.3±0.9 wt% was obtained but not yet met the Thai Standard of 96.5 of wt%. The acid value of 1.1±0.02 mg/g was higher than the limitation of Thai Standard at 0.5. However, its flash point and kinematic viscosity were fulfilled.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51855
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1703
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1703
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jitraporn_la.pdf56.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.