Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51937
Title: การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของกระดูกอ่อนในซิโนวิโอไซต์จากผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
Other Titles: Expression of chondrogenic genes in synoviocytes from knee osteoarthritis patients
Authors: เอกณรงค์ สินธุวานนท์
Advisors: รัชนีกร ธรรมโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ratchaneekorn.t@chula.ac.th
Subjects: ข้อเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อม
Osteoarthritis
Gene expression
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis, OA) เป็นโรคในกลุ่มอาการข้ออักเสบ (arthritis) จัดเป็นโรคกระดูกที่พบได้บ่อยในประชากรสูงอายุทั่วไปการแสดงออกของยีนที่เปลี่ยนแปลงไปและการเสื่อมของกระดูกอ่อนเป็นปัจจัยในการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม ในงานวิจัยนี้ใช้ชีวสารสนเทศน์ในการคัดเลือกยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของกระดูกอ่อนจากฐานข้อมูลไมโครอาร์เรย์ที่เปรียบเทียบการแสดงออกของยีนระหว่างผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมและคนปกติ ผลจากไมโครอาร์เรย์พบว่ายีน EBP IMPAD1 PPAPDC1B และ FIBIN มีแนวโน้มที่จะมีระดับการแสดงออกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากนั้นได้ยืนยันผลระดับการแสดงออกในซิโนวิโอไซต์ชนิดบีด้วยเทคนิค real-time PCR พบว่าการแสดงออกของยีน EBP IMPAD1 และ PPAPDC1B ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม (N=33) และกลุ่มควบคุม (N=5) มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ยีน FIBIN ซึ่งได้ออกแบบไพรเมอร์โดยอาศัยลำดับนิวคลีโอไทด์ของชุดโพรบที่จำเพาะต่อยีนค่าการจับของโพรบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมและกลุ่มควบคุมมีค่าแตกต่างกันมากกว่า 5 เท่า พบว่ามีการแสดงออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.0228) ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งผลมีความสอดคล้องกับค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยชีวสารสนเทศน์ เมื่อการเกิดเมทิลเลชันบนโพรโมเตอร์ของยีน FIBIN ด้วยเทคนิค pyrosequencing และวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ด้วยสถิติแบบ Pearson correlation พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ระหว่างระดับการแสดงออก และการเกิดเมทิลเลชันบนโพรโมเตอร์การแสดงออกที่เปลี่ยนไปของยีน FIBIN อาจเป็นกลไกที่ซิโนวิโอไซต์ชนิดบีใช้ในการซ่อมแซมกระดูกอ่อนที่เกิดการเสียหายของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม หรืออาจเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดกระดูกงอกในข้อเข่าของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีอาการรุนแรงขึ้น และนำไปสู่สภาวะทุพลภาพ อย่างไรก็ตามกลไกของยีน FIBIN ที่มีต่อโรคข้อเข่าเสื่อมยังไม่แน่ชัด ดังนั้นควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงกลไกการทำงานของยีน FIBIN เพื่ออาจใช้ในการพัฒนาการรักษาที่มีความจำเพาะต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้
Other Abstract: Knee osteoarthritis (knee OA) is the most prevalent form of arthritis in the elderly people. It is characterized by the loss of articular cartilage. Changes in gene expressions and degradation of cartilage are important factors of knee osteoarthritis. In this study, bioinformatics was used to select chondrogenic genes that are differentially expressed between normal controls and knee OA patients from the microarray database. Genes that show statistically different expression data are EBP, IMPAD1, PPAPDC1B and FIBIN. In this study, type B synoviocytes from knee OA patients and normal controls were used to study differential expression of these genes. Gene expression levels were confirmed by real-time PCR technique. The results showed no significant differences of mRNA expressions of EBP IMPAD1 and PPAPDC1B genes between the knee OA patients (N=33) and normal controls (N=5). The expression results of FIBIN gene, whose differences in binding capacity value of the probes between the two groups are more than 5 times, showed that there were significant differences of the mRNA expressions between the two groups (p = 0.0228), which was consistent with microarray data. . However, methylation status in the promoter region of the gene, analyzed by pyrosequencing, showed no significant correlation between the two sample groups (p> 0.05). Changes in the FIBIN expressions may be one of the mechanismsthat type B synoviocytes use for repairing loss of cartilage in knee OA patients or may be the cause of osteophyte formation which leads to more severe knee OA. The mechanism of FIBIN gene in knee OA pathogenesis remains unclear. Therefore, further study of FIBIN gene function is needed and may help developing therapeutic agents that are specific to knee OA.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51937
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1372
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1372
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
eknarong_si.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.