Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5194
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธารี หิรัญรัศมี-
dc.contributor.advisorอรุณี กำลัง-
dc.contributor.authorนวพร พงษ์ตัณฑกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี-
dc.date.accessioned2008-01-02T05:03:50Z-
dc.date.available2008-01-02T05:03:50Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741734468-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5194-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractตรวจสอบความสัมพันธ์ของโครงสร้างการเป็นเจ้าของ ทั้งการกระจุกตัวและองค์ประกอบของผู้ถือหุ้น กับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยจำนวน 80 บริษัท โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และวิเคราะห์ความสอดคล้องกันระหว่างระดับการเปิดเผยข้อมูลจริง ของบริษัทตัวอย่างเหล่านี้กับระดับการเปิดเผยข้อมูลที่ผู้ถือหุ้นภายนอกจำนวน 160 คนต้องการ กระดาษทำการถูกส่งไปให้ผู้จัดการฝ่ายบัญชีของบริษัทที่สุ่มตัวอย่างมา เพื่อตรวจสอบแนวทางการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท จากนั้นจึงนำมาสร้างดัชนีการเปิดเผยข้อมูลแบบไม่ถ่วงน้ำหนัก เพื่อใช้วัดระดับคุณภาพของการเปิดเผยข้อมูล ที่แทนด้วยความครอบคลุมในรายละเอียดทั้งการเปิดเผยข้อมูล โดยสมัครใจ โดยข้อกำหนดและโดยรวม สำหรับการวัดการเปิดเผยข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล แบบสอบถามถูกส่งไปให้ผู้ถือหุ้นภายนอกที่สุ่มตัวอย่างมา เพื่อสำรวจการรับรู้เกี่ยวกับระดับความสำคัญและความจำเป็นของข้อมูล ในรายงานทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของตนเอง ผลการศึกษาระบุว่าการกระจุกตัวของการถือหุ้นซึ่งวัดจากการถือหุ้นสูงสุด 5 ในอันดับแรก มีความสัมพันธ์ในทางลบกับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลโดยสมัครใจ และการเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด ส่วนองค์ประกอบของผู้ถือหุ้นพบว่า การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นภายในซึ่งวัดจากการถือหุ้นของกรรมการและผู้บริหาร ไม่มีความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติกับคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลโดยสมัครใจ การเปิดเผยข้อมูลโดยข้อกำหนด และการเปิดเผยข้อมูลโดยรวมทั้งหมด ในขณะที่การถือหุ้นของสถาบันมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการเปิดเผยข้อมูลทั้ง 3 ประเภท ดังนั้นผู้ลงทุนสถาบันจึงเป็นกลไกที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่ช่วยสนับสนุนให้ระบบข้อมูลและบัญชีของบริษัทมีความโปร่งใส นอกจากนี้ผลการศึกษายังระบุอีกว่า ข้อมูลที่เปิดเผยในรายงานทางการเงินของบริษัทตัวอย่าง ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ถือหุ้นภายนอก โดยการเปิดเผยข้อมูลในทางปฏิบัติของบริษัทมีระดับที่ ต่ำกว่าการเปิดเผยข้อมูลที่ผู้ถือหุ้นต้องการen
dc.description.abstractalternativeTo examine the association of ownership structure including concentration and composition with the disclosure quality of the sample of 80 listed companies in Thailand by using multiple regression analysis, and to analyze the consistency between the level of actual disclosure of these sampled companies and the level of desired disclosure of the sample of 160 outside shareholders. The working papers were sent to the accounting managers of sampled companies for examining disclosure practices of companies. After that, an unweighted disclosure index was developed to measure the level of quality of voluntary, mandatory and aggregate disclosure, as proxied by comprehensiveness. For measuring disclosure needs of users, the questionnaires were sent to the sampled outside shareholders for surveying their perceptions about level of importance and necessity of information disclosed in corporate reports influencing on their decisions. The result indicates that ownership concentration, measured by the top five largest shareholdings, is significantly and negatively associated with the quality of both voluntary and aggregate disclosure. For ownership composition, it shows that the inside ownership, measured by shareholdings of directors and managers, is not significantly associated with the quality of voluntary, mandatory and aggregate disclosure, while the institutional ownership is significantly and positively associated with three types of disclosure. Therefore, the institutional investors are the important mechanism for enhancing corporate transparency of accounting and information system. In addition, the result also indicates that information disclosed in corporate reports of the sampled companies is not consistent with the perceived needs of outside shareholders. The level of disclosure practiced by companies is lower than the level of disclosure perceived by shareholders to be desirableen
dc.format.extent1588222 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1258-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเปิดเผยข้อมูลen
dc.subjectผู้ถือหุ้นen
dc.subjectหุ้นและการเล่นหุ้นen
dc.subjectบริษัทมหาชนen
dc.titleโครงสร้างการเป็นเจ้าของและคุณภาพของการเปิดเผยข้อมูล ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยen
dc.title.alternativeOwnership structure and the quality of disclosure of firms listed on the Stock Exchange of Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบัญชีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorfcomthi@phoenix.acc.chula.ac.th-
dc.email.advisorfcomakl@acc.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.1258-
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Navaporn.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.