Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51994
Title: การวิเคราะห์แบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อในการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 26
Other Titles: The analysis of service patterns of the 26th King’s Cup Sepaktakraw World Championship
Authors: จตุพันธ์ ปัญจมนัส
Advisors: ชัชชัย โกมารทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chuchchai.G@Chula.ac.th
Subjects: เซปักตะกร้อ -- การแข่งขัน
ตะกร้อ -- การแข่งขัน
Sepaktakraw
Takraw
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อ วิเคราะห์แบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อ และเปรียบเทียบแบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อระหว่างทีมชนะกับทีมแพ้ในการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 26 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 26 ประเภททีมชุดชาย ของการแข่งขันระดับพรีเมียร์ รวมทั้งสิ้น 8 ทีม ได้แก่ ทีมชาติไทย ทีมชาติมาเลเซีย ทีมชาติญี่ปุ่น ทีมชาติบรูไน ทีมชาติเกาหลี ทีมชาติอินโดเนเซีย ทีมชาติเมียนม่า และทีมชาติอินเดีย ทำการบันทึกภาพเก็บข้อมูลจำนวน 15 นัดการแข่งขัน นำเทปบันทึกภาพการแข่งขันมาวิเคราะห์ผ่านโปรแกรม Focus X2 Version 1.5 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการหาค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1.พบแบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อที่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน จำนวน 21 แบบแผนการเสิร์ฟ และพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสิร์ฟ จำนวน 7 ปัจจัย แบ่งเป็นรูปแบบการโยนลูกเสิร์ฟ จำนวน 3 รูปแบบและรูปแบบการยืนรับลูกเสิร์ฟ 4 รูปแบบ 2.การวิเคราะห์แบบแผนการเสิร์ฟในการแข่งขันกีฬาเซปักตะกร้อชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 26 พบแบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อที่ใช้จริงจำนวน 18 แบบแผน และพบว่าแบบแผนการเสิร์ฟที่นิยมมากที่สุด แบบแผนการเสิร์ฟที่ได้ผลมากที่สุดและแบบแผนการเสิร์ฟที่ได้คะแนนมากที่สุด คือ แบบแผนการเสิร์ฟด้วยข้างเท้าด้านในแบบเปลี่ยนทิศทางไปยังตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน และแบบแผนการเสิร์ฟด้วยข้างเท้าด้านในแบบรุนแรงไปยังตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน ส่วนแบบแผนการเสิร์ฟที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ แบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบรุนแรงไปยังพื้นที่ว่างระหว่างตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน แบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบรุนแรงไปยังพื้นที่ว่างในสนามแข่งขัน และแบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบสั้น แต่ไม่พบแบบแผนการเสิร์ฟแบบใหม่ 3.การเปรียบเทียบแบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อระหว่างทีมชนะกับทีมแพ้ในการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 26 พบว่าแบบแผนการเสิร์ฟที่นิยมใช้มากที่สุดและแบบแผนการเสิร์ฟที่ได้ผลมากที่สุดของทีมชนะกับทีมแพ้มีความสอดคล้องกัน คือ ใช้แบบแผนการเสิร์ฟด้วยข้างเท้าด้านในแบบเปลี่ยนทิศทางไปยังตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน แบบแผนการเสิร์ฟที่ได้คะแนนมากที่สุดของทีมชนะ คือ แบบแผนการเสิร์ฟด้วยข้างเท้าด้านในแบบรุนแรงไปยังตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน ซึ่งแตกต่างกับทีมแพ้ที่ใช้แบบแผนการเสิร์ฟด้วยข้างเท้าด้านในแบบเปลี่ยนทิศทางไปยังตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน แบบแผนการเสิร์ฟที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของทีมชนะ คือ แบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบรุนแรงไปยังพื้นที่ว่างระหว่างตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน ซึ่งแตกต่างกับทีมแพ้ที่ใช้แบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบสั้น สรุปว่าแบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อที่โค้ชควรเน้นในการเล่น คือ แบบแผนการเสิร์ฟด้วยข้างเท้าด้านในแบบเปลี่ยนทิศทางไปยังตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน และแบบแผนการเสิร์ฟด้วยข้างเท้าด้านในแบบรุนแรงไปยังตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน เพราะเป็นแบบแผนการเสิร์ฟที่นิยมมากที่สุด เป็นแบบแผนการเสิร์ฟที่ได้ผลมากที่สุด และเป็นแบบแผนการเสิร์ฟที่ได้คะแนนมากที่สุดในการแข่งขัน และควรพิจารณาแบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบรุนแรงไปยังพื้นที่ว่างระหว่างตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน แบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบรุนแรงไปยังพื้นที่ว่างในสนามแข่งขันและแบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบสั้น เนื่องจากเป็นแบบแผนการเสิร์ฟที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
Other Abstract: The purpose of this study was to study the Sepaktakraw service pattern, analyze the Sepaktakraw service pattern and compare Sepaktakraw service pattern of the 26th King’s cup Sepaktakraw World Championship between winner and loser.The samplers used in the research were 8 National Sepaktakraw teams in this tourmant including Thailand, Malysia, Japan, Brunei, Korea, Indonesia, Myanmar and India. There were about 15 matches and data collected by recording video of the real matches and analyzed data were then statistically analyzed by frequency and percentages. The results were as follow: 1.Found popular Sepaktakraw service pattern used present is 21 popular service patterns and found 7 factors influencing in Sepaktakraw service pattern.Devide throwing pattern 3 patterns and 4 standing received patterns.But from the analysis of 2.The analytical of service pattern of the 26th King’s Cup Sepaktakraw World Championship found the actual service patterns of the 26th King’s Cup Sepaktakraw World Championship found 18 service patterns and the most popular, most achievement and most scores service pattern is lateral inside foot make emphasize direction to opponent player service pattern and lateral inside foot make hard to opponent player service pattern.Most effective service pattern is back foot make hard to between opponent player service pattern, back foot make hard to space in the court service pattern and back foot short serve service pattern.But not found a new service pattern. 3. The comparison of service pattern of the 26th King’s cup Sepaktakraw World Championship between winner and loser founf the most popular and most achievement service pattern from winner and loser are consistency is lateral inside foot make emphasize direction to opponent player.The Most scores service pattern winner is lateral inside foot make strong to opponent player.It’s different with the loser is use lateral inside foot make emphasize direction to opponent player.The Most effective service pattern winner is back foot make hard to between opponent playersIt’s different with the loser is use the result is back foot to close net. Concluded coach should focus Sepaktakraw service pattern on playing is lateral inside foot make emphasize direction to opponent player service pattern and lateral inside foot make hard to opponent player service pattern because it is the most popular, most achievement and most scores service pattern.And should be considered back foot make hard to between opponent player service pattern, back foot make hard to space in the court service pattern and back foot short serve service pattern since they are most effective service pattern.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51994
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1755
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1755
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jatupan_pa.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.