Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52000
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัชชัย โกมารทัต-
dc.contributor.authorนิพิฐพนธ์ มาลาหอม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2017-02-20T06:34:02Z-
dc.date.available2017-02-20T06:34:02Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52000-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และเปรียบเทียบรูปแบบและปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการทำประตูฟุตบอลระหว่างทีมชาติสเปนและทีมคู่แข่งขันในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ทีมชาติสเปนกับทีมคู่แข่งขัน ทั้งหมด 7 ชาติ ได้แก่ ทีมชาติสวิสเซอร์แลนด์ ฮอนดูรัส ชิลี โปรตุเกส ปารากวัย เยอรมัน และ ฮอลแลนด์ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลตลอดการแข่งขันจาก DVD บันทึกการแข่งขัน โดยใช้โปรแกรม Focus X2 Version 1.5 ทำการบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นในการแข่งขัน แล้วนำผลที่บันทึกได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ นำเสนอเป็นตารางความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการทำประตูที่นิยมใช้มากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ของทีมชาติสเปนและทีมคู่แข่งขันคือรูปแบบการส่งจากด้านข้าง (17.48%) รูปแบบการทำประตูที่มีการยิงเข้ากรอบประตูมากที่สุดคือ รูปแบบการโต้กลับเร็ว (100%) รูปแบบการทำประตูที่ได้ประตูมากที่สุดคือ รูปแบบการส่งให้ตัวหลังสอดขึ้นมายิง(100%) และในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ครั้งนี้ไม่พบรูปแบบการทำประตูในรูปแบบใหม่ 2. เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบการทำประตูระหว่างทีมชาติสเปนกับทีมคู่แข่งขันพบว่า รูปแบบการทำประตูที่นิยมใช้มากที่สุดของทีมชาติสเปนคือ รูปแบบการส่งจากด้านข้าง (16.35%) ซึ่งสอดคล้องกับทีมคู่แข่งขันคือ รูปแบบการส่งจากด้านข้าง (20.51%) เช่นกัน รูปแบบการทำประตูที่มีการยิงเข้ากรอบประตูมากที่สุดของทีมชาติสเปนคือ รูปแบบลูกเตะโทษ 2 จังหวะ (100%) ส่วนทีมคู่แข่งขันคือ รูปแบบการส่งลูกกลับหลัง (100%) รูปแบบการทำประตูที่ได้ประตูมากที่สุดของทีมชาติสเปนคือ รูปแบบการส่งให้ตัวหลังสอดขึ้นมายิง (100%) ส่วนทีมคู่แข่งขันคือ รูปแบบการโต้กลับเร็ว (100%) 3. ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลในการทำประตู พบว่าตำแหน่งของผู้เล่นทีใช้ในการทำประตู ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ ตำแหน่งกองหน้า (27.97%) ตำแหน่งของผู้เล่นที่ใช้ในการทำประตูที่ยิงเข้ากรอบประตูมากที่สุดคือตำแหน่ง ปีกขวา (77.78%) และตำแหน่งของผู้เล่นที่ใช้ในการทำประตูที่ได้ประตูมากที่สุด คือตำแหน่งปีกซ้าย (18.18%) ปัจจัยทางด้าน แทคติคที่นิยมใช้มากที่สุด คือแทคติคการเล่นด้านกว้าง (32.17%) แทคติคที่ใช้ในการทำประตูที่ยิงเข้ากรอบประตูมากที่สุด คือ การหาที่ว่าง (95.45%) และแทคติคที่ใช้ในการทำประตูที่ได้ประตูมากที่สุดก็คือการหาที่ว่าง (16.67%) เช่นเดียวกัน 4. เปรียบเทียบปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลในการทำประตู พบว่าตำแหน่งของผู้เล่นที่นิยมใช้ในการทำประตูของทีมชาติสเปนคือ ตำแหน่งกองหน้า (28.85%) ซึ่งสอดคล้องกับทีมคู่แข่งขัน ที่ใช้ตำแหน่งกองหน้า (25.64%) แทคติคที่ใช้ในการทำประตูที่ได้ประตูของทีมชาติสเปนคือ การผ่านบอลยาว (20%) ซึ่งต่างจากทีมคู่แข่งขันที่ใช้การส่งแล้วเคลื่อนที่ (20%)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study, analyze and compare the successful goal attacking pattern of Spain team and its competitors in the 2010 world cup soccer tournament. The samples were Spain team and seven competitor teams, which were Switzerland, Honduras, Chile, Portugal, Paraguay, Germany and Holland. Seven games were analyzed, using sport analysis software Focus X2 Version 1.5. The data were collected by reviewing DVD files of each game. The obtained data were analyzed in terms of frequency and percentage The results were as follows: 1. The goal attacking pattern which was most frequently used by Spain team and its competitors in the 2010 world cup soccer tournament was Crossing (17.48%). The goal attacking pattern was most likely to shoot on target was Counter Attack (100%) and the goal attacking pattern which was used the most shoot on goal was Overlap (100%). There were no new goal attacking patterns of Spain team and its competitors in the 2010 world cup soccer tournament. 2. The comparison of the goal attacking pattern which was the most frequently used by Spain team was Crossing (16.35%) and the competitor teams were Crossing (20.51%). The goal attacking pattern was most likely to shoot on target of Spain team was Indirect Free Kick (100%) and the competitor teams were Cut Back (100%). The goal attacking pattern which was used the most shoot on goal of Spain team was Overlap (100%) and the competitor teams were Counter Attack (100%) 3. The goal attacking factor which was the most frequently used by Spain team and its competitors in the 2010 world cup soccer tournament in term of the shooting position was Striker (27.97%). The goal attacking factor was most likely to shoot on target in term of the shooting position was Right Winger (77.78%) and the competitor teams were Left Winger (18.18%) The goal attacking factor which was most frequently in term of the tactic was Wide Play (32.17). The goal attacking factor was most likely to shoot on target in term of the tactic was Running into Free Space (95.45%) 4. The comparison of the goal attacking factor which was the most frequently used by Spain team was Striker (28.85%) and the competitor teams were Striker (25.64%). The goal attacking factor which was used the most shoot on goal of Spain team was Long Ball Crosses (20%) and the competitor teams were Passing and Moving (20%)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2150-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectฟุตบอลen_US
dc.subjectฟุตบอล -- การแข่งขัน-
dc.subjectSoccer -- Tournaments-
dc.titleการวิเคราะห์รูปแบบการทำประตูของทีมชาติสเปนและทีมคู่แข่งขันในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010en_US
dc.title.alternativeAn analysis of successful goal attacking pattern of spain team and its competitors in the 2010 world cup soccer tournamenten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChuchchai.G@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2150-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nipitpon_ma.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.