Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52018
Title: | การศึกษาบทบาทของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีต่อการชำระหนี้ของนิสิตนักศึกษาคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา |
Other Titles: | Study of the roles of higher education institutions on students' repayment to student loan scheme |
Authors: | มุทิตา คงสมปราชญ์ |
Advisors: | จรูญศรี มาดิลกโกวิท |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Charoonsri.M@Chula.ac.th |
Subjects: | การชำระหนี้ สถาบันอุดมศึกษา กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา การกู้ยืม Performance (Law) Universities and colleges Student loan funds Loans |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีส่วนต่อการชำระหนี้ของนิสิตนักศึกษาคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และเสนอแนวทางในการพัฒนาบทบาทของสถานศึกษาที่มีส่วนต่อการชำระหนี้ของนิสิตนักศึกษาคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา 2) สภาพการดำเนินงานกองทุนฯ ของสถานศึกษาด้านบุคลากร ด้านสถานที่และด้านกิจกรรม 3) ความคิดเห็นเรื่องบทบาทของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีส่วนต่อการชำระหนี้ของนิสิตนักศึกษาคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และ 4) แนวทางการพัฒนาบทบาทของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีส่วนต่อการชำระหนี้ของนิสิตนักศึกษาคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มาจาก 1) แบบสอบถามสถานศึกษาระดับอุดมศึกษากลุ่มระดับการชำระหนี้ต่ำ 31 แห่ง กลุ่มระดับการชำระหนี้ปานกลาง 39 แห่ง และกลุ่มระดับการชำระหนี้ 31 แห่ง รวมทั้งสิ้น 101 แห่ง และ 2) การสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานด้านกองทุนฯ ของสถานศึกษา 11 ท่าน นักศึกษากู้ยืมเงินจากกองทุนฯ 5 ท่าน ผู้จัดการธนาคาร กรุงไทย 2 ท่าน และผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา รวมทั้งสิ้น 19 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทของสถานศึกษาด้านบุคลากร ร้อยละ 54.2 ของสถานศึกษากลุ่มระดับชำระหนี้ต่ำ มีจำนวนผู้ปฏิบัติงานกองทุน 1 คน มีเพียงร้อยละ 3.4 ที่มีจำนวนผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป กลุ่มระดับชำระหนี้ปานกลาง มีจำนวนผู้ปฏิบัติงาน 1 คน และ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 38.0 และ 33.0 ตามลำดับ มีเพียงร้อยละ 4.0 ที่มีจำนวนผู้ปฏิบัติงาน ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป กลุ่มระดับชำระหนี้สูง มีจำนวนผู้ปฏิบัติงาน 1 คน และ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 31.6 และ 33.0 ตามลำดับ และมีจำนวนผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบในแต่ละกลุ่ม พบว่า จำนวนผู้ปฏิบัติงานจะมีแนวโน้มสูงขึ้นตามระดับการชำระหนี้ (2) บทบาทของสถานศึกษาด้านสถานที่ ร้อยละ 54.8 ของสถานศึกษากลุ่มระดับการชำระหนี้ต่ำ มีสถานที่ทำงาน/ห้องทำงานเฉพาะงานกองทุนฯ ร้อยละ 45.2 ไม่มีสถานที่ทำงาน/ห้องทำงานเฉพาะงานกองทุนฯ และในกลุ่มระดับชำระหนี้ปานกลางและสูง ส่วนใหญ่มีสถานที่ทำงาน/ห้องทำงานเฉพาะงานกองทุนฯ ร้อยละ 53.8 และ 74.2 ตามลำดับ เมื่อเทียบในแต่ละกลุ่ม พบว่า กลุ่มระดับการชำระหนี้สูงมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญในเรื่องสถานที่/ห้องทำงานเฉพาะงานกองทุนฯ มากกว่า (3) บทบาทของสถานศึกษาด้านกิจกรรม สถานศึกษาทุกกลุ่มระดับการชำระหนี้ ส่วนใหญ่มีการจัดกิจกรรมครบตามแนวทางของกองทุน (4) ความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานกองทุนฯ เรื่องบทบาทสถานศึกษาที่มีต่อการชำระหนี้ของนิสิตนักศึกษาคืนกองทุนฯ ด้านบุคลากร โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 ด้านสถานที่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.19 ด้านกิจกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 (5) แนวทางในการพัฒนาบทบาทของสถานศึกษาที่มีส่วนต่อการชำระหนี้ของนิสิตนักศึกษาด้านบุคลากร 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) สถานศึกษาควรเพิ่มจำนวนผู้ปฏิบัติงานด้านกองทุน 2) ผู้ปฏิบัติงานต้องมีจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติ งานกองทุนฯ 3) กองทุนฯ ควรอบรมแนวทางปฏิบัติงานเรื่องการชำระหนี้คืนของนิสิตนักศึกษาให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ด้านสถานที่ ได้แก่ สถานศึกษาควรมีสถานที่เพียงพอต่อความต้องการและเหมาะสมกับจำนวนนิสิตนักศึกษากู้ยืม และด้านกิจกรรม 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ควรจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องและจัดให้มากขึ้น 2) ควรกระตุ้นให้นักศึกษากู้ยืมมีจิตสำนึกที่ดี 3) ควรจัดตั้งชมรมนิสิตนักศึกษากู้ยืมภายในสถานศึกษา ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้จากงานวิจัยได้แก่ 1) สถานศึกษาควรพิจารณาสัดส่วนจำนวนผู้ปฏิบัติด้านงานกองทุนฯ ต่อจำนวนนิสิตนักศึกษากู้ยืมภายในสถานศึกษา 2) กองทุนฯ ควรผลักดันให้ทุกสถานศึกษามีการจัดตั้งชมรมนิสิตนักศึกษากู้ยืม 3) สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมเพิ่มความรู้และทักษะเพื่อเพิ่มโอกาสการมีงานทำให้กับบัณฑิต |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the roles of higher education institutions and offer the guidelines for developing the roles of higher education institutions on students’ repayment to student loan scheme. Data used for this research were 1) general data of higher education institutions, 2) general state about the student loan works in the terms of loan staff, working places, and activities, 3) the opinions of the loan staff on the roles of higher education institutions on students’ repayment to student loan scheme, and 4) the guidelines for developing the roles of higher education institutions on students’ repayment to student loan scheme. Questionnaires were sent to 31 higher education institutions that had low students’ repayment level, 39 higher education institutions that had the medium students’ repayment level, and 31 higher education institutions that had the high students’ repayment level. And 11 loan staff, 5 borrower students, 2 managers of Krung Thai Bank, and the manager of student loan scheme were interviewed. Descriptive statistics and content analysis were used to analyze the data. The findings revealed that (1) the roles of institutions on loan staff, 54.2% of institutions with low students’ repayment level had one loan staff, only 3.4% of them had more than five staff; 38% and 33% of institutions with medium students’ repayment level had one or two staff respectively, only 4.0% of them had more than five staff; 31.6% and 33% of institutions with high students’ repayment level had one or two staff, and 24.2% of them had more than five staff. In comparison among three groups of institutions, the number of loan staff tended to be higher in respect to students’ repayment level. (2) The roles of institutions on working places, 58.4% of institutions with low students’ repayment level and 53.8% and 74.2% of institutions with medium and high students’ repayment level respectively had the loan office/ room. In comparison among three groups of institutions, ones with high students’ repayment level tended to realize the necessity of having the loan office/room the most. (3) The roles of institutions on activities, most of institutions with all students’ repayment levels already provided borrower students with all activities suggested by student loan scheme. (4) The opinions of loan staff on students’ repayment to student loan scheme in respect to the loan staff overall were highly rated at 3.95 average; opinions on the working places were rated moderately at 3.19 average; opinions on the activities were highly rated at 4.24 average. (5) The guidelines for developing the roles of higher education institutions on students’ repayment to student loan scheme, the top three ranks of institution roles on loan staff were as follows: 1) the institutions should increase the number of loan staff, 2) the staff should have good working consciousness, and 3) the student loan scheme should provide students’ repayment training for the loan staff. For working places, the institution should have enough space for the number of loan students. The top three ranks of institution roles on activities were as follows: 1) institutions should provide more activities continuously, 2) institutions should good borrower student consciousness, and 3) Institutions should set up the borrower student club. Policy recommendations based on the findings were as follows: 1) the institutions should consider the number of loan staff in relation to the number of borrower students, 2) the loan scheme should push all institutions to set up borrower student club, and 3) the institutions should provide the graduated students with extra curriculums to increase knowledge and skills for better job opportunity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พัฒนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52018 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.680 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.680 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
mutita_ko_front.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
mutita_ko_ch1.pdf | 998.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
mutita_ko_ch2.pdf | 3.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
mutita_ko_ch3.pdf | 950.83 kB | Adobe PDF | View/Open | |
mutita_ko_ch4.pdf | 12.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
mutita_ko_ch5.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
mutita_ko_back.pdf | 6.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.