Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52031
Title: ผลของยาฟีโนไฟเบรตในขนาดต่าง ๆ ต่อระดับกรดยูริกในเลือดและในปัสสาวะในผู้ป่วยโรคเกาต์ที่ยังมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงหลังจากได้รับยาลดกรดยูริกที่เป็นมาตรฐานแล้ว
Other Titles: Effects of the addition of different dosage of fenofibrate on serum uric acid concentration and urinary urate excretion in patients with gout and hyperuricemia after receiving standard urate-lowering agents
Authors: อธิพงศ์ สูริประเสริฐ
Advisors: มนาธิป โอศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Manathip.O@Chula.ac.th
Subjects: โรคเกาต์ -- การรักษา
ยา -- ผลกระทบทางสรีระวิทยา
ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง
Gout -- Treatment
Drugs -- Physiological effect
Hyperuricemia
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาฟีโนไฟเบรต ขนาด 300 มก.ต่อวัน และ 100 มก.ต่อวัน และยาหลอก ในการลดระดับกรดยูริกในเลือด ในผู้ป่วยโรคเกาต์ ที่ยังมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง หลังจากได้รับ ยาลดกรดยูริกที่เป็นมาตรฐานแล้ว ศึกษาผู้ป่วยโรคเกาต์ที่ยังมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงหลังจากได้รับยาลดกรดยูริก ที่เป็นมาตรฐานแล้ว จำนวน 33 ราย โดยสุ่มเลือกให้ได้รับ ยาฟีโนไฟเบรต (Lexemin) ในขนาด 300 มก. (11 ราย) หรือ 100 มก. (11 ราย) หรือได้รับยาหลอก (11 ราย) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผู้ป่วยทุกรายต้องไม่มีการปรับเปลี่ยนขนาดยาลดกรดยูริก (ยาอัลโลพิวรินอลหรือเบนซ์บรอมาโรน) อย่างน้อย 3 เดือนก่อนเข้าร่วมการวิจัย และไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของยาที่มีผลต่อระดับกรดยูริกในเลือดหรือในปัสสาวะในระหว่างการวิจัย จากนั้นนำผลต่างของระดับกรดยูริกในเลือดที่ลดลงมาเปรียบเทียบกันระหว่าง 3 กลุ่ม ผู้ป่วยโรคเกาต์ที่เข้าร่วมการวิจัย มีอายุเฉลี่ย+ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 58.3+-14.5 ปี และร้อยละ 78.8 เป็นเพศชาย ผู้ป่วย 32 ราย (ร้อยละ 97) ได้รับยาอัลโลพิวรินอลขนาดเฉลี่ย 121.1+-53.1 มก. ยาฟีโนไฟเบรตขนาด 300 มก.ต่อวัน และขนาด 100 มก.ต่อวัน สามารถลดระดับกรดยูริกในเลือดได้มากกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยยาฟีโนไฟเบรตขนาด 300 มก.ต่อวัน สามารถลดระดับกรดยูริกในเลือด เฉลี่ย 1.6+-1.5 มก.ต่อดล. (ร้อยละ 20.9+-16.6) และยาฟีโนไฟเบรตขนาด 100 มก.ต่อวัน สามารถลดระดับกรดยูริกในเลือดเฉลี่ย 0.9+-0.8 มก.ต่อดล. (ร้อยละ 11.6+-9.4) ระดับกรดยูริกในปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เฉพาะกลุ่มที่ได้รับยาฟีโนไพเบรตขนาด 300 มก.ต่อวัน และผลข้างเคียงรุนแรงที่พบไม่มีความแตกต่างระหว่าง 3 กลุ่ม สรุปยาฟีโนไฟเบรตขนาด 300 มก.ต่อวัน. และขนาด 100 มก.ต่อวัน สามารถใช้เป็นยาเสริม เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคเกาต์ ที่ยังมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง หลังจากได้รับยาลดกรดยูริกที่เป็นมาตรฐานแล้วมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงร่วมด้วย
Other Abstract: Evaluates the effects on serum uric acid of 2 different dosages of fenofibrate in patients with gout and hyperuricemia after receiving standard urate-lowering agents. Twenty-six patients with gout were enrolled in this randomized, double-blind, placebo-controlled trial and were allocated to receive 300mg of fenofibrate daily (11 patients), 100mg of fenofibrate daily (11) or placebo (11) for 8 weeks. All patients had a stable dose of urate-lowering agents (allopurinol or benzbromarone) for at least 3 months before participating the study. No modification of the dose of urate-lowering agents or additional drugs was allowed throughout the study. The primary outcome of this study was the differences in serum uric acid at baseline and 8 weeks of treatment among the 3 groups. Results: The mean+-SD age of the patients was 58.3+-14.5 years, and 78.8% were men. Thrity-two patients (97%) were taking allopurinol at mean+-SD dose of 121.1+-53.1 mg. Serum uric acid levels were lowered by 1.6+1.5 mg/dl (20.9+-16.6%) in 300-mg fenofibrate group and 0.9+-0.8 mg/dl (11.6+-9.4%) in 100-mg fenofibrate group after 8 weeks of treatment, which were significantly better than placebo group. Urine urate excretion was increased significantly after treatment with 300 mg of fenofibrate daily (p=0.002), but in 100-mg fenofibrate and placebo group, no such effect was found. No significant difference in the serious adverse events was found among the 3 groups. Conclusion: Fenofibrate, either 100-or 300-mg daily may be used as an effective add-on urate-lowering therapy in patients with gout, especially in those with coexisting hypertriglyceridemia.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52031
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.725
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.725
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
athiphong_so_front.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
athiphong_so_ch1.pdf665.48 kBAdobe PDFView/Open
athiphong_so_ch2.pdf620.27 kBAdobe PDFView/Open
athiphong_so_ch3.pdf746.91 kBAdobe PDFView/Open
athiphong_so_ch4.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
athiphong_so_ch5.pdf574.27 kBAdobe PDFView/Open
athiphong_so_ch6.pdf348.48 kBAdobe PDFView/Open
athiphong_so_back.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.