Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52047
Title: ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Thai and foreign tourists' satisfaction concerning health tourism in Bangkok Metropolis
Authors: เพชรรัตน์ ภู่พันธ์
Advisors: สมบัติ กาญจนกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Sombat.K@Chula.ac.th
Subjects: การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Medical tourism -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในกรุงเทพมหานคร ในด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านการบริการ ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ และด้านข้อมูลข่าวสารการให้บริการและการประชาสัมพันธ์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศที่มีศักยภาพสูง ที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทั้งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในโรงแรม และที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เป็นศูนย์สุขภาพ ในกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2551 จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า "ที" (t-test) ในการเปรียบเทียบความพึงพอใจนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวศักยภาพสูงส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวเพศหญิง โดยมีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว และพนักงานบริษัท/ลูกจ้าง 2) นักท่องเที่ยวมีประสบการณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยรู้จักการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจาก สื่อนิตยสาร/วารสาร มากที่สุด ส่วนใหญ่เคยเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เป็นการนวด/อบ/ประคบสมุนไพร มากที่สุด โดยเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ พบว่ามักไปคนเดียว หรือไปกับเพื่อนฝูง และรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่คาดหวังที่นักท่องเที่ยวคาดหวังมากที่สุดคือ ทัวร์นวดแผนไทย 3) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในกรุงเทพมหานครในด้านบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจในด้านสถานที่ ด้านการบริการ ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ และด้านข้อมูลข่าวสารการให้บริการ และการประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับมาก 4) นักท่องเที่ยวชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ มีความพึงพอใจ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในกรุงเทพมหานคร ในด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านการบริการ และด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านข้อมูลข่าวสารการให้บริการและการประชาสัมพันธ์ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: The purpose of this research was to study Thai and foreign tourists' satisfaction concerning health tourism in Bangkok Metropolis in terms of place, staff, service, tools and equipments, and information of services. The samples consist of 200 Thai and foreign high end tourists who had visited Bangkok Metropolis for health promotion activities during January to March 2008. The important tool in collecting the data was the researcher's questionnaire, statistical method was employed in term of the percentage, average means, standard deviation, and t-test. The study found that: 1) The majority of tourists were female, within 31-40 years of age, holding a Bachelor's degree or equivalent, company employees or own their own businesses. 2) Most of the tourists had some experience in health tourism, introduced to it through magazines. The most common experience among tourists were having a herbal massage once a month. According to the survey, tourists enjoyed going alone or being accompanied by friends. When mentioning health tourism, a Thai massage tour ranked highest in expectation. 3) Tourists were satisfied with the health tourism in Bangkok in terms of health personnel, tourists received highest satisfaction, while place, services, tools and equipment, service information, and public relations received high level of satisfaction. 4) The satisfaction of health tourism in Bangkok among Thai and foreign tourists in accordance to place, staff, service and equipment used in health tourism activities were statistically significantly difference at the 0.05 level, with the exception of service information and public relations.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52047
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2180
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.2180
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
petcharat_ph_front.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
petcharat_ph_ch1.pdf784.47 kBAdobe PDFView/Open
petcharat_ph_ch2.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open
petcharat_ph_ch3.pdf729.06 kBAdobe PDFView/Open
petcharat_ph_ch4.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open
petcharat_ph_ch5.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
petcharat_ph_back.pdf5.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.