Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5204
Title: ระบบนาโนฟิลเตรชันขนาดทดสอบสำหรับการกำจัดสารอินทรีย์ธรรมชาติในน้ำประปา
Other Titles: Pilot-scale nanofiltration system for NOM removal in water supply
Authors: ปรภาภรณ์ ผาติสุนทร
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fencrt@kankrow.eng.chula.ac.th
Subjects: น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การกรอง
น้ำประปา
นาโนฟิลเตรชัน
ไตรฮาโลมีเทน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารอินทรีย์ธรรมชาติ (Natural Organic Matter, NOM) เป็นสารที่พบโดยทั่วไปในกระบวนการผลิตน้ำประปา ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองสารเคมีที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา และทำให้เกิดสารอันตราย เช่น ไตรฮาโลมีเทน งานวิจัยนี้เป็นการทดลองเพื่อศึกษาถึง การกำจัดสารอินทรีย์ธรรมชาติในน้ำประปาด้วยระบบนาโนฟิลเตรชัน โดยพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ความดัน เปอร์เซ็นต์ Recovery และการเกิดฟาวลิ่ง โดยใช้น้ำที่ผ่านกระบวนการกรองด้วยถังกรองทรายเป็นน้ำเข้าระบบ และมีระบบไมโครฟิลเตรชันเป็นระบบ Pre-treatment เมื่อใช้น้ำจากกระบวนการถังตกตะกอนเป็นน้ำเข้าระบบ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าค่าฟลักซ์ของน้ำสะอาดที่ผลิตได้ มีค่าเพิ่มขึ้นตามแรงดันของน้ำที่เพิ่มขึ้น สภาวะที่เหมาะสมในการเดินระบบที่ต่อเนื่องคือที่ความดัน 4 บาร์ เปอร์เซ็นต์ Recovery 50% โดยสามารถให้ค่าฟลักซ์ที่ 0.0418 ลบ.ม./ตร.ม.-ชม สามารถเดินระบบแบบต่อเนื่องได้ 390 ชั่วโมง ค่าฟลักซ์ของน้ำที่ผลิตได้จึงลดลงเป็น 40% ของค่าฟลักซ์เริ่มต้น หลังจากที่ทำความสะอาดเมมเบรนพบว่า ค่าฟลักซ์ของน้ำสะอาดที่ผลิตได้มีค่าลดลงเป็น 0.0342 ลบ.ม./ตร.ม.-ชม ที่ความดันและเปอร์เซ็นต์ Recovery ที่เท่ากัน แสดงให้เห็นถึงการเกิดการอุดตันในรูพรุนของเมมเบรน และเมื่อพิจารณาในด้านค่าใช้จ่ายในการกำจัดสารอินทรีย์ธรรมชาติพบว่า จากการเดินระบบสามารถลดความต้องการคลอรีนในการฆ่าเชื้อโรคได้ประมาณ 50% ของความต้องการคลอรีนก่อนที่จะเข้าระบบนาโนฟิลเตรชัน ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อคลอรีนในกระบวนการฆ่าเชื้อโรค และยังสามารถลดปริมาณสารไตรฮาโลมีเทนที่เกิดขึ้นสูงสุดได้ประมาณ 90% เพราะว่าระบบนาโนฟิลเตรชันกำจัดสารอินทรีย์ธรรมชาติ ที่เป็นสารตั้งต้นของสารไตรฮาโลมีเทน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารไตรฮาโลมีเทน สารอินทรีย์ธรรมชาติ พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ สามารถใช้ปริมาณสารอินทรีย์ธรรมชาติ ในการตรวจสอบติดตามปริมาณสารไตรฮาโลมีเทนได้
Other Abstract: Natural Organic Matter (NOM) is an organic substance found generally in water that used in water supply production process. It is required chemical substance for disinfection. The more natural organic matter in water, the more chemical substance is required. NOM plays important role in producing many hazardous substances such as Trihalomethane in water supply. The purpose of this research, therefore, is to study an effective way to remove natural organic matter using Nanofiltration system. Considering the pressure, percent recovery, fouling process, the experiment was conducted using sand-filtered water as influent water. Micro-filtration system is a pre-treatment system when uses water from sedimentation tank as influent water. From the study, pressure at 4 bar and 50% recovery, is the suitable condition for continuous running system, that gave flux value as 0.0418 cubic m/sq m-hr and 390 hrs for the continuous running system. Flux reduces by 40% of initial value. After cleaning membrane, flux reduces as 0.0342 at the same pressure and percent recovery that means there have a pore blocking in membrane. The pilot-scale plant required chlorine for disinfection approximately 50% less than that in conventional process of water supply treatment, thus, reducing cost of chlorine. It also reduced trihalomethane by 90%. This research concludes that as the relationship between the concentration of trihalomethane and natural organic matter is significant, we can use natural organic matter to monitor trihalomethane
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5204
ISBN: 9741737149
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parapaporn.pdf5.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.