Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52072
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา
dc.contributor.authorรัชนีกร รัชตกรตระกูล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned2017-02-25T07:10:02Z
dc.date.available2017-02-25T07:10:02Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52072
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาลักษณะของความเปรียบเกี่ยวกับอาหาร และสาระธรรมที่สื่อผ่านความเปรียบเกี่ยวกับอาหารในอรรถกถาชาดก เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของความเปรียบเกี่ยวกับอาหารในการสื่อสาระธรรม ผลการการศึกษาพบว่าความเปรียบเกี่ยวกับอาหารเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่โดดเด่นในอรรถกถาชาดก เพราะปรากฏความเปรียบเกี่ยวกับอาหารในอรรถกถาชาดกทั้งสิ้น 415 เรื่องจากอรรถกถาชาดกจำนวน 547 เรื่อง ลักษณะของความเปรียบเกี่ยวกับอาหารในอรรถกถาชาดกมี 2 ลักษณะ ลักษณะแรกคือความเปรียบเกี่ยวกับอาหารทางตรงมี 9 กลุ่ม ได้แก่ อาหารคือกาม เดนอาหารคือความน่ารังเกียจของกาม อาหารคือความตระหนี่ อาหารคือพระธรรม อาหารคือสติ อาหารคือบุญบารมี อาหารคือศรัทธาในการทำทาน อาหารที่ไม่เบียดเบียนคือศีล อาหารคือปีติจากการบำเพ็ญฌาน ลักษณะที่สองคือความเปรียบเกี่ยวกับอาหารทางอ้อม ได้แก่การใช้กริยาที่สัมพันธ์กับการบริโภค และการใช้รสซึ่งเป็นคุณลักษณะของอาหารมาเป็นความเปรียบ โดยความเปรียบเกี่ยวกับอาหารทั้งสองลักษณะสัมพันธ์เป็นเอกภาพเดียวกัน ทำให้ความเปรียบเกี่ยวกับอาหารในอรรถกถาชาดกมีลักษณะเป็น “ชุดความเปรียบ” การใช้อาหารเป็นความเปรียบในอรรถกถาชาดกเพื่อสื่อสาระธรรมเรื่องเหตุแห่งทุกข์ โดยแสดงให้เห็นว่าทุกข์มีเหตุมาจากความเพลิดเพลินในกามและตัณหา อาหารมีความหมายแทนเหตุหรือปัจจัยที่นำไปสู่ความทุกข์ ในขณะเดียวกันอาหารก็เป็นความเปรียบที่แสดงให้เห็นหนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ โดยใช้อาหารแสดงความศรัทธาในการทำทาน แสดงการรักษาศีลอันบริสุทธิ์ แสดงการสละออกจากกาม และที่สำคัญคือแสดงแนวทางการดับทุกข์ด้วยปัญญา อันได้แก่ใช้อาหารเป็นความเปรียบแทนโยนิโสมนสิการในธรรม และการบำเพ็ญสมาธิ นอกจากนี้ยังปรากฏใช้อาหารเป็นความเปรียบแสดง “ทุกข์” และ “ภาวะดับสนิทแห่งทุกข์” โดยนัยนี้ความเปรียบเกี่ยวกับอาหารในอรรถกถาชาดกจึงได้แสดงแนวคิดอริยสัจสี่อย่างสมบูรณ์ ความเปรียบเกี่ยวกับอาหารในอรรถกถาชาดกทำให้พันธกิจของอรรถกถาชาดกที่เป็นวรรณคดีพุทธศาสนาบริบูรณ์ โดยการทำให้ผู้อ่านเกิด “ปัญญา” ตามนัยพุทธศาสนา คือความเข้าใจเหตุแห่งทุกข์และหนทางดับทุกข์ ผ่านการเชื่อมโยงความหมายของอาหารซึ่งเป็นรูปธรรมกับสาระธรรมที่เป็นนามธรรมอันปรากฏในพระไตรปิฎก ความเปรียบเกี่ยวกับอาหารในอรรถกถาชาดกจึงมีความสำคัญในการสื่อสาระธรรมที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนาได้อย่างประณีตงดงามen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to study the food metaphors and Dharma message conveyed by food metaphors in JĀTAKAṬṬHAKATHĀ in order to illustrate the importance of food metaphors in Buddhist literary texts. The result of the study reveals that food metaphors are significant literary technique because the food metaphors appear in 415 texts out of 547 texts of JĀTAKAṬṬHAKATHĀ . There are two groups of food metaphors in JĀTAKAṬṬHAKATHĀ . The first group includes the metaphor that explicitly connotes or relates to food divided in to 9 groups namely food as kāma, scraps as disgusting kāma ,food as avarice, food as dharma, food as mindfulness, food as merit, food as faith of giving, non-violent food as virtue and food as rapture from meditation. The second group of food metaphor includes the metaphor that implicitly connotes or relates to food such as consumption verb and taste. These two groups of food metaphors cohere into unity, and this makes food metaphors in JĀTAKAṬṬHAKATHĀ a set of related metaphors. Food metaphors in JĀTAKAṬṬHAKATHĀ are employed to convey that the cause of suffering is the enjoyment in kāma and craving, in other words food connotes the cause of suffering. Meanwhile food metaphors in JĀTAKAṬṬHAKATHĀ are employed as the cause leading to the cession of suffering. That is food metaphor conveys the faith in giving, the observing of virtue, the renunciation, and most importantly the cession of suffering through wisdom,(Yonisomanasikāra) and meditation. Besides, food metaphors in JĀTAKAṬṬHAKATHĀ demonstrate the suffering and the cession of suffering ,hereby food metaphors in JĀTAKAṬṬHAKATHĀ illustrate completely the Forth Noble Truths in Buddhism. Food metaphors in JĀTAKAṬṬHAKATHĀ fulfill the function of JĀTAKAṬṬHAKATHĀ, as the Buddhist text with the creation of the Buddhist wisdom for reader. These food metaphors enhance the insights into both the cause and the cessation of suffering by means of the association of food with the Dharma that appears in the Tripitaka. Thus food metaphors in JĀTAKAṬṬHAKATHĀ are important for conveying the Dharma message that is the heart of Buddhist teaching.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1727-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอรรถกถาen_US
dc.subjectพระอภิธรรม. อรรถกถาen_US
dc.subjectความทุกข์ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนาen_US
dc.subjectนิโรธen_US
dc.subjectอาหาร -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนาen_US
dc.subjectAbhidharmaen_US
dc.subjectSuffering -- Religious aspects -- Buddhismen_US
dc.subjectFood -- Religious aspects -- Buddhismen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleความเปรียบเกี่ยวกับอาหารในอรรถกถาชาดก : เหตุแห่งทุกข์และหนทางดับทุกข์en_US
dc.title.alternativeFood metaphors in JĀTAKAṬṬHAKATHĀ : the cause and cessation of sufferingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuchitra.C@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1727-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ratchaneekorn_ra.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.