Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52105
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์-
dc.contributor.advisorธิดารัตน์ บุญนุช-
dc.contributor.authorรุ้งเพชร สงวนพงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-03-02T06:17:34Z-
dc.date.available2017-03-02T06:17:34Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52105-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของผู้ให้และผู้ใช้บริการกายภาพบำบัด ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ วิเคราะห์คุณลักษณะของนักกายภาพบำบัดที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพ ตามความต้องการของผู้ให้และผู้ใช้บริการ พัฒนาหลักสูตรปริญญาบัณฑิตสาขากายภาพบำบัดที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ ผลลัพธ์ปลายทางเป็นฐานและวิเคราะห์ความสอดคล้องของหลักสูตรฯ ที่ได้พัฒนาขึ้น กับนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของชาติ ผลการศึกษา พบว่า ตามความคิดเห็นของหัวหน้าหน่วยงานกายภาพบำบัด หน่วยงานกายภาพบำบัดมีความต้องการจำเป็นที่จะพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพทั้งในด้านปริมาณงาน และคุณภาพของงาน โดยอุปสรรคของการให้บริการส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญ คือ ปริมาณผู้ป่วยที่ต้องให้การรักษาพยาบาลมีมากเกินไป หน่วยงานมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอและนักกายภาพบำบัดไม่มีเวลาในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ในส่วนของผู้ใช้บริการกายกาพบำบัด ข้อมูลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ทั้งผู้ป่วยที่ได้รับบริการกายภาพบำบัดและผู้ที่ออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ มีความต้องการจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนา ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะช่วยป้องกันตนเองจากการ เจ็บป่วยจนถึงระดับที่สามารถให้ความรู้กับผู้อื่นได้และต้องได้รับการพัฒนาให้มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ คุณลักษณะของนักกายภาพบำบัดที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพตามความต้องการของผู้ให้และผู้ใช้บริการ ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1) ความรู้และความสามารถในการให้ความรู้ 2) ความมีมนุษยสัมพันธ์ เป็นผู้นำ และมีทักษะการดำเนินชีวิต 3) ความสามารถในการบริหารจัดการ 4) ความเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน 5) เป็นผู้ที่มีทักษะในวิชาชีพและการประยุกต์ใช้ และ 6) มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับชุมชน การพัฒนาหลักสูตรกายภาพบำบัดที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ผลลัพธ์ปลายทางเป็นฐาน ดำเนินการโดยนำคุณลักษณะของนักกายภาพบำบัดที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพ มากำหนดเป็นวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ใช้แนวคิด SPICES model, PRISMS model, และหลักสูตรแฝง บูรณาการสาระสำคัญของความรู้ทางวิชาชีพกายภาพบำบัดและการส่งเสริมสุขภาพในการกำหนดแผนการสอนและเนื้อหารายวิชาของหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร จากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ หลักสูตรฯ ที่ได้พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับนโยบายของชาติด้านการสาธารณสุขที่มุ่งพัฒนาให้ประชาชนทั้งที่มีสุขภาพดีและผู้ที่เจ็บป่วยมีพฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพตนเอง เนื้อหารายวิชาในหลักสูตรมีความครอบคลุมความรู้ที่กำหนดในมาตรฐานนักกายภาพบำบัดของไทย พร้อมทั้งมีการบูรณาการการส่งเสริมสุขภาพ แต่ยังขาดความชัดเจนในเรื่องชื่อของรายวิชาที่ยัง ไม่เน้นถึงการส่งเสริมสุขภาพ และระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติในชุมชนที่ควรจัดให้มากขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to assess needs of the persons who give or receive health promotion from physical therapy services, to analyze the characteristics of physical therapist who performing health promotion services from the perspective of the giver and receiver of the services, to develop physical therapy curriculum focusing on health promotion through outcome-based education, and evaluate the curriculum in line with the national health promotion policy. The results show that in the opinions of the heads of physical therapy departments, there are needs to improve both quality and quantity of health promotion services. The most important barriers in delivering health promotion services of the physical therapist are the over demanding needs for physical therapy, lack of staff and time to deliver the health education. The data from the clients show that they need to perceive the knowledge and training to perform health promotion practices. There are 6 characteristics which are very important for the physical therapists who perform health promotion services. They are 1) ability to transfer health education, 2) good human relations, leadership and life skills, 3) management skills, 4) morale and ethics in professional practices, 5) ability in apply knowledge to practice, and 6) knowledge and skills in dealing with the community. Physical therapy curriculum focusing on health promotion is developed by taking the characteristics of physical therapists as the aim of the curriculum, planning the experience of learning by integrating the concepts of SPICES model, PRISMS model and latent curriculum, and designing the course contents by integrating physical therapy and health promotion. The evaluation of the experts indicates that the curriculum is well-designed and related to the national health promotion policy. The contents of all courses are related to the aim of the curriculum and cover the core physical therapy knowledge. The name of the courses are still unclear to represent health promotion. Also the time for community practices should be longer.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.767-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการวางแผนหลักสูตรen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectCurriculum planningen_US
dc.subjectHealth promotionen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรปริญญาบัณฑิต สาขากายภาพบำบัดที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ผลลัพธ์ปลายทางเป็นฐานen_US
dc.title.alternativeDevelopment of an undergraduate curriculum in psysical therapy focusing on health promotion using outcome-based educationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPansak.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorThidarat.B@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.767-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rungpetch_sa_front.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
rungpetch_sa_ch1.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
rungpetch_sa_ch2.pdf5.93 MBAdobe PDFView/Open
rungpetch_sa_ch3.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
rungpetch_sa_ch4.pdf11.54 MBAdobe PDFView/Open
rungpetch_sa_ch5.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
rungpetch_sa_back.pdf10.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.