Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52158
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพันธุ์ สาสัตย์en_US
dc.contributor.authorณัฐนันท์ คำพิริยะพงศ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:01:17Z-
dc.date.available2017-03-03T03:01:17Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52158-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน โดยจับคู่ตัวแปร เพศ อายุ ระยะเวลาที่เป็นโรค กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Becker, 1974) ใช้ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมความร่วมมือในการรับประทานยา แบบสอบถามการรับด้านสุขภาพ และแบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์ของครอนบาค เท่ากับ .81 และ .74 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มทดลองภายหลังที่ได้รับโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพมีพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาสูงกว่าผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of health belief model programme on medicine use behavior in older persons with hypertension. Forty older persons with hypertention admitted medication ward, the Thammast university hospital. The participants were randon assigned to the experimental and control grops (20 for each group). The control group received a conventional care while the experimental group received an intervention regard to health belief model programme, using the health belief of action influence health behaviors according to the health belief model (Becker, 1974). The programme was conducted for 5 weeks. The questionnaires consisted of demographic information, perceived health questionnaires, and medicine used behavior questionnaires. The reliabilities of the perceived health questionnaires and medicine used behavior were .81 and .74, repectively. Percent, mean, standard deviation, and independent t-test were used to analyze data. The results revealed that: 1. The mean of medicine used behavior score, after participating in the health belief programme, was significantly higher than that before participating in the programme at the statistical level of .05 2. The mean of medicine used behavior score, after participating in the health belief programme in the experiment group, was significantly higher than that before participating in the programme at the statistical level of .05en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.574-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การใช้ยา-
dc.subjectความดันเลือดสูงในผู้สูงอายุ-
dc.subjectOlder people -- Drug utilization-
dc.subjectHypertension in old age-
dc.titleผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF HEALTH BELIEF PROGRAM ON MEDICINE USED BEHAVIOR IN OLDER PERSONS WITH HYPERTENSIONen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiriphun.S@Chula.ac.th,sisasat@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.574-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577215236.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.