Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52161
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประนอม รอดคำดีen_US
dc.contributor.authorสุนทรีย์ พันธุ์คำen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:01:22Z-
dc.date.available2017-03-03T03:01:22Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52161-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและภายหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของผู้เลี้ยงดูต่อพฤติกรรมส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยเตาะแตะที่มีภาวะน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้เลี้ยงดูเด็กวัยเตาะแตะที่มีภาวะน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่มารับบริการวัคซีนและประเมินพัฒนาการ ที่คลินิกสุขภาพเด็กดี ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ จำนวน 30 ราย และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของผู้เลี้ยงดู จำนวน 30 ราย จับคู่ความตรงกันด้านเพศและระดับการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของผู้เลี้ยงดูที่พัฒนาจากแนวคิดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของ Kolb (1984) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยเตาะแตะที่มีภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา(CVI) เท่ากับ.83 และมีค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที สรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1. พฤติกรรมส่งเสริมโภชนาการของผู้เลี้ยงดูเด็กวัยเตาะแตะที่มีภาวะน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ภายหลังได้รับโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมส่งเสริมโภชนาการของผู้เลี้ยงดูเด็กวัยเตาะแตะที่มีภาวะน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThis quasi experimental research purposes were to study the effect of experiential learning program on caretakers' nutrition enhancement behavior for undernutrition toddlers.The sample consisted of 60 caretakers of undernutrition toddlers receiving vaccination and child development assessment at well-child clinic, Ubonratchathani. Thirty caretakers were in each group. They were matched pair by gender and educational level between the two groups. The experimental group received experiential learning program from Kolb's theory. Data were collected by the nutrition enhancement behavior questionnaire. Its content validity was proved by the panel of experts, with the content validity index of .83. Its Cronbach's alpha coefficient was.73. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and t-test. Results: 1.After the experiment, the caretakers' nutrition enhancement behavior for undernutrition toddlers were significantly better than before experiential learning program (p-value<.05) 2.The caretaker's nutrition enhancement behavior for undernutrition toddlers in the experimental group were significantly better than the control group (p-value < .05)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.582-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเด็ก -- โภชนาการ-
dc.subjectChildren -- Nutrition-
dc.titleผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของผู้เลี้ยงดูต่อพฤติกรรมส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยเตาะแตะที่มีภาวะน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานen_US
dc.title.alternativeThe effect of experiential learning program on caretakers’ nutrition enhancement behavior for under nutrition toddlersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorbranomrod@gmail.com,branomrod@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.582-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577228436.pdf5.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.