Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52167
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถแห่งตนกับการมีกิจกรรมทางกายของวัยรุ่นตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | A relationship between self - efficacy and physical activity in early overweight adolescents in Bangkok Metropolis |
Authors: | วารินทร์ มากสวัสดิ์ |
Advisors: | สุจิตรา สุคนธทรัพย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | Suchitra.Su@Chula.ac.th,sukonthasab@hotmail.com |
Subjects: | บุคคลน้ำหนักเกิน โรคอ้วนในวัยรุ่น การออกกำลังกาย Overweight persons Obesity in adolescence Exercise |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถแห่งตนกับการมีกิจกรรมทางกายของวัยรุ่นตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินในกรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบการมีกิจกรรมทางกายตามตัวแปรเพศ อายุ และระดับชั้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินในกรุงเทพมหานคร จำนวน 302 คน โดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถแห่งตน General Self-Efficacy Scale และแบบสอบถามการมีกิจกรรมทางกายที่ดัดแปลงจาก GPAQ (Global Physical Activity Questionnaires: GPAQ Version2) มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.80 และ 0.82 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม (r) เท่ากับ 0.80 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า“ที” (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. การรับรู้ความสามารถแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับกิจกรรมทางกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. วัยรุ่นตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินในกรุงเทพมหานครมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และมีกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับปานกลาง 3. วัยรุ่นตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินในกรุงเทพมหานครที่มีเพศ และระดับชั้นต่างกัน มีการทำกิจกรรมทางกายแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุต่างกัน มีการทำกิจกรรมทางกายที่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย วัยรุ่นตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินในกรุงเทพมหานคร มีการรับรู้ความสามารถแห่งตนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง มีการทำกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับปานกลางและมีความสัมพันธ์กันทางบวก หากมีการพัฒนาและส่งเสริมให้วัยรุ่นตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีการรับรู้ความสามารถแห่งตนเพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลให้มีการทำกิจกรรมทางกายมากขึ้นได้ |
Other Abstract: | The purposes of this study were to determine the relationship between self-efficacy and physical activity related to gender, age and education level in early overweight adolescents in Bangkok Metropolis. This study was a descriptive study, consisted of 302 early overweight adolescents in Bangkok Metropolis. The data were collected by using general self-efficacy scale questionnaires, which is adapted from the GPAQ (Global Physical Activity Questionnaires; GPAQ 2). The items of objective congruent (IOC) of the general self-efficacy scale questionnaire and the GPAQ (Global Physical Activity Questionnaires ; GPAQ 2) questionnaire were 0.80 and 0.82 respectively, also reliability were 0.80 and 0.80 respectively. The data analysis was conducted by using Pearson Product Moment Correlation Coefficient, percentage, mean, standard deviations, t-test, and one-way analysis of variance. The result of this study were as follows 1. The self-efficacy had a low level of a significant positive correlation with physical activity (P<.05) 2. The early overweight adolescents in Bangkok Metropolis had a highly likely level of self-efficacy and a moderate level of physical activity. 3. In early overweight adolescents in Bangkok Metropolis, different genders and education levels caused different physical activity (P<.05), but age differences caused no different physical activity (P>.05). Conclusion: The early overweight adolescents in Bangkok Metropolis had a highly likely level of self-efficacy and a moderate level of physical activity, which were related to each other. If they are encouraged to have a higher level of self-efficacy, they will likely have higher physical activity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52167 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.811 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.811 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5578416239.pdf | 4.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.