Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52180
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นพพล วิทย์วรพงศ์ | en_US |
dc.contributor.author | พงศ์ทัศ วนิชานันท์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-03-03T03:01:49Z | - |
dc.date.available | 2017-03-03T03:01:49Z | - |
dc.date.issued | 2559 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52180 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | en_US |
dc.description.abstract | การถ่ายโอนสถานศึกษาจากสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของรัฐ แต่ปัจจุบันยังไม่มีงานศึกษาผลของกระบวนการถ่ายโอนสถานศึกษาที่ชัดเจน จุดประสงค์ของงานวิจัยฉบับนี้คือ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัด สพฐ. และ อปท. โดยใช้กรอบแนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์การเมือง รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดการศึกษาของรัฐให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น งานวิจัยฉบับนี้เปรียบเทียบการจัดการศึกษาระหว่างโรงเรียนถ่ายโอนกับโรงเรียน สพฐ. ใน 4 พื้นที่ รวมทั้งสิ้น 8 แห่ง โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนจำนวนทั้งสิ้น 23 คน โดยประเด็นการสัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ได้แก่ บริบทของพื้นที่ วิธีการใช้ทรัพยากรของโรงเรียน ลักษณะของโรงเรียน และโครงสร้างเชิงสถาบันของการจัดการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ตามเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจด้านการศึกษา โรงเรียนที่ถ่ายโอนควรมีความพร้อมในการจัดการศึกษามากขึ้น เพราะได้รับจัดสรรทรัพยากรตัวเงิน และครูเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีนโยบายการศึกษาที่เปิดให้สะท้อนถึงความต้องการในพื้นที่ได้มากกว่าการจัดการศึกษาของ สพฐ. อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการจัดการศึกษาภายใต้ อปท. ทำให้โรงเรียนมีความเป็นอิสระลดลง โรงเรียนจึงไม่สามารถใช้งบประมาณได้ทันในช่วงเวลาที่จำเป็น ดังนั้นผู้อำนวยการสถานศึกษาจำเป็นต้องใช้ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ผ่านความสัมพันธ์ระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษากับนายก อปท. ทำให้โรงเรียนให้มีโอกาสถูกการเมืองท้องถิ่นแทรกแซงในกระบวนการสรรหาครู ทำให้ได้รับครูไม่ตรงกับความต้องการทั้งในด้านสาขาวิชาและคุณภาพ อันส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา นอกจากนี้การจัดการศึกษาของรัฐในภาพรวมยังขาดกลไกความรับผิดรับชอบ อันเนื่องมาจากการขาดความรู้และข้อมูลในด้านการจัดการศึกษาของชุมชน (ผู้ปกครอง) ผู้ซึ่งมีบทบาทในการตรวจสอบการทำงานของโรงเรียน การขาดแรงจูงใจของโรงเรียนในการสะท้อนความต้องการของชุมชนให้ อปท. รับทราบ และการขาดแรงจูงใจของ อปท. ในการให้ความสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ดังนั้นเพื่อให้นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของรัฐ ควรมีการผ่อนคลายกฎระเบียบให้โรงเรียน อปท. มีอิสระ รวมทั้งสร้างมาตรการความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนให้ชัดเจนมากขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of the government’s initiative to transfer schools under the Office of the Basic Education Commission (OBEC) to Local Administrative Organization (LAO) is to improve efficiency and subsequently learning outcomes in the education system. However, based on existing studies, improved outcomes of transferred schools have not been clearly demonstrated. Using a framework in mainstream Economics and Political Economy, this study investigates the processes of education provision by LAOs and the OBEC with a view to better understanding the context of education decentralization and offering an appropriate policy recommendation that would improve the Thai education system. This paper compares the education provision systems of 8 LAO and OBEC schools from 4 different local areas. The methodology of this study is in-depth interviews with 23 stakeholders, all of whom are involved in the educational provision system. Four factors have been identified to influence student achievement and therefore included as discussion points during the interview process; they include the context of each study area, the utilization of school resources, school/locality characteristics, and relevant institutional structures embedded in the education system. The results reveal that, based on the underlying rationale of education decentralization, better student achievement is expected among transferred schools under LAOs, as they obtain more financial resources and are allocated with more teaching staff. Also, in comparison to OBEC schools, transferred schools under LAOs should be able to set better educational policies to reflect local needs. However, in practice, certain regulations under local authorities cause transferred schools to ultimately experience a lower degree of autonomy in terms of resource utilization. Specifically, transferred schools are not able to technically use their budget above a pre-specified threshold and therefore have to resort to informal relationships with LAO-elected officials to circumvent the regulations. In return, some of the transferred schools have to receive teaching staff who are recommended by local politicians and who may not necessarily meet their quality requirements. In addition, the form of education decentralization examined in this study do not seem to have introduced more accountability in education system. This study offers the following policy suggestions to improve educational outcomes of the public education system: to relax some of the local regulations in order to increase autonomy of LAO schools, and to enhance accountability of public schools, including accountability as one of the main criteria for school performance assessment. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.120 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | - |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | - |
dc.subject | นโยบายการศึกษา | - |
dc.subject | การศึกษาขั้นพื้นฐาน | - |
dc.subject | Education and state | - |
dc.subject | Basic education | - |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | en_US |
dc.title.alternative | The comparative study of education provision between school under office of the Basic Commission and Local Administrative Organization | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์การเมือง | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Nopphol.W@Chula.ac.th,nopphol@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.120 | - |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5585354029.pdf | 2.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.