Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52185
Title: | การวิเคราะห์คุณสมบัติด้านมิติของแอสฟัลต์คอนกรีตด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพ |
Other Titles: | Analysis of dimensional properties of asphalt concrete using image processing technique |
Authors: | กฤษฎา แสนสมบูรณ์ |
Advisors: | บุญชัย แสงเพชรงาม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Boonchai.Sa@chula.ac.th,bsangpetngam@gmail.com |
Subjects: | แอสฟัลต์คอนกรีต Asphalt concrete |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้นำเทคนิคการประมวลภาพถ่ายมาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การค้างบนตะแกรงของมวลรวม ความเรียว และความแบนของมวลรวมแต่ละขนาด โดยทำการเปรียบเทียบระหว่างค่าที่คำนวณจากห้องปฏิบัติการและค่าที่คำนวณได้จากเทคนิคการประมวลผลภาพ โดยผู้วิจัยได้พัฒนาเทคนิคใหม่ขึ้นมาสองเทคนิคคือเทคนิคการซ้อนภาพ 7 ชั้น และเทคนิคการกัดกร่อนภาพแล้วทำการปรับแก้ ซึ่งการปรับแก้มีสองวิธีคือการปรับแก้ด้วยเส้นรอบรูปและการปรับแก้ด้วยพื้นที่วงแหวน โดยทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบใน 7 ด้าน คือ ความแม่นยำในแต่ละเทคนิคที่ได้พัฒนาขึ้นมา จำนวนก้อนที่นับได้ในแต่ละหน้าตัด เปอร์เซ็นต์การค้างตะแกรงในแต่ละหน้าตัด ความถี่ของช่วงเปอร์เซ็นต์การค้างตะแกรงในแต่ละขนาด สัดส่วนความเรียวและความแบน พื้นที่ในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าเทคนิคการกัดกร่อนภาพให้ผลลัพธ์ของเปอร์เซ็นต์การค้างตะแกรงดีกว่าการซ้อนภาพ 7 ชั้น การปรับแก้ด้วยเส้นรอบรูปให้ผลดีกว่าการปรับแก้ด้วยพื้นที่วงแหวน จำนวนหินที่นับได้ในแต่ละหน้าตัดมีแนวโน้มของจำนวนก้อนใกล้เคียงกัน เปอร์เซ็นต์การค้างตะแกรงของมวลรวมเบอร์ #4(4.75 มม.) และเบอร์ #8(2.38 มม.) มีความใกล้เคียงกับค่าทดสอบในห้องปฏิบัติการมากที่สุด ซึ่งให้ผลสอดคล้องกับค่าความถี่ของช่วงเปอร์เซ็นต์การค้างตะแกรง โดยความถี่ของเปอร์เซ็นต์การค้างตะแกรงของมวลรวมเบอร์ #4 และเบอร์ #8 ให้ค่าตรงกับการทดสอบในห้องปฏิบัติการมากที่สุด สำหรับสัดส่วนความเรียว(สัดส่วนยาวต่อกว้าง)ที่ได้จากการประมวลผลภาพ เมื่อเทียบกับการวัดด้วยเวอร์เนียให้ผลออกมาใกล้เคียงกัน มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย สำหรับสัดส่วนความแบน(สัดส่วนสูงต่อกว้าง)ได้จากการประมวลภาพ เมื่อเทียบกับการวัดด้วยเวอร์เนีย ให้ผลออกมาใกล้เคียงกันมาก ขนาดพื้นที่หน้าตัดที่ใช้ประมวลผลส่งผลต่อความถูกต้องของการคำนวณ โดยพื้นที่หน้าตัดที่ใหญ่กว่าจะให้ผลลัพธ์มีความถูกต้องมากกว่าพื้นที่หน้าตัดขนาดเล็กกว่า จากผลการวิจัยในอนาคตอาจมีการพัฒนานำเทคนิคนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถใช้แทนวิธีปัจจุบันได้ เพราะใช้เวลาในการคำนวณน้อยกว่า เครื่องมือน้อยกว่าและต้นทุนด้านอุปกรณ์ต่ำกว่าวิธีที่ใช้ในปัจจุบัน |
Other Abstract: | This thesis use image processing techniques to calculate retained percent, elongation and flakiness of aggregates in each size. To compare between results from laboratory and results from image processing, researcher develops two techniques, seven layers overlaid method and erosion adjusted method. Results from erosion adjusted method are adjusted in two ways include adjustment by perimeter and adjustment by rind area. For comparison in seven main issues which include Accuracy of each developed technique, Amount of aggregates from counting in each sample profile, retained percent in each sample profile, frequency of percent interval of each sieve size, elongation and flakiness proportion, area in analysis Results of research found, erosion method yields the better results than overlaid 7 layer method, perimeter adjusted method yields the better results than ring method , amount of aggregates have similar results in each profile section, retained percent of #4 size and #8 size aggregate tended to be the same results with laboratory which correspond results with frequency of percent interval of each sieve size. From frequency of percent interval results, results from #4 and #8 sieve size yield the best results when compare with laboratory. For elongation proportion(length to width proportion) from image processing when compare with vernier caliper measurement yield the similar results. For flakiness proportion(height to width proportion) from image processing when compare with vernier caliper measurement yield the same results. Size of area effect on accuracy in calculation. By larger area yield better results than smaller area. From results of this study, in the future, civil engineer maybe improve efficiency of technique and can use this technique to replace traditional method because use smaller time than traditional method in calculation and save instrument costs than traditional method. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52185 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.929 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.929 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670115021.pdf | 8.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.