Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52192
Title: การยับยั้งการเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ในระบบยูเอเอสบีโดยโซเดียมโมลิบเดท
Other Titles: Inhibition of hydrogen sulfide in UASB reactor by sodium molybdate
Authors: วิษณุ สีโหน
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Orathai.C@Chula.ac.th,orathai.c@chula.ac.th
Warawut.C@Chula.ac.th
Subjects: ไฮโดรเจนซัลไฟด์
โมลิบเดต
Hydrogen sulfide
Molybdates
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งการเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์โดยโซเดียมโมลิบเดทด้วยน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำเสียจริงจากฟาร์มสุกร งานวิจัยแบ่งเป็น 3 ช่วงการทดลอง ช่วงการทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของโซเดียมโมลิบเดทต่อการยับยั้งการเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ในระบบแบบแบตช์ ด้วยน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้นซีโอดี 5,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ปรับอัตราส่วนซีโอดีต่อซัลเฟตเป็น 100 50 20 และ 15 ตามลำดับ ทดสอบด้วยโซเดียมโมลิบเดทความเข้มข้น 0.5 1.0 1.5 และ 2.0 มิลลิโมลาร์ ทุกๆอัตราส่วนซีโอดีต่อซัลเฟต โดยชุดควบคุมไม่มีการเติมสารดังกล่าว ทำการทดลองเป็นเวลา 7 วัน ช่วงการทดลองที่ 2 เป็นการทดลองในระบบยูเอเอส-บีด้วยน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้นซีโอดี 5,000 มิลลิกรัมต่อลิตร 2 ถังปฏิกรณ์ โดยกำหนดเป็น ชุดควบคุมและชุดทดลอง ซึ่งชุดควบคุมจะไม่มีการเติมโซเดียมโมลิบเดท แบ่งการทดลองเป็น 5 ระยะ ระยะที่ 1-4 ทดลองเป็นเวลาระยะละ 10 วัน ปรับอัตราส่วนซีโอดีต่อซัลเฟตเท่ากับ 100 50 20 และ 15 ตามลำดับ ส่วนระยะที่ 5 ทดลองเป็นเวลา 20 วัน ปรับอัตราส่วนซีโอดีต่อซัลเฟตเท่ากับ 50 การเติมโซเดียมโมลิบเดทในระยะที่ 1-4 จะเติมแบบต่อเนื่องพร้อมกับการเตรียมน้ำเสียสังเคราะห์ทุกครั้ง ส่วนระยะที่ 5 เติมแบบเป็นรอบ (เติมครั้งแรกพร้อมน้ำเสียสังเคราะห์และติดตามผลการเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์จึงเติมครั้งถัดไป) ในการทดลองช่วงที่ 2 จะเลือกค่าความเข้มข้นโซเดียมโม-ลิบเดทที่ได้จากช่วงการทดลองที 1 มาใช้ในการทดลอง ช่วงการทดลองที่ 3 เป็นการทดลองด้วยน้ำเสียจริงจากฟาร์มสุกรในระบบยูเอเอสบี โดยพิจารณาค่าซีโอดีต่อซัลเฟตของน้ำเสียเบื้องต้น และเลือกความเข้มข้นโซเดียมโมลิบเดทที่เหมาะสมจากการทดลองช่วงที่ 2 มาใช้ในการทดลอง ทำการทดลองเป็นเวลา 20 วัน แบ่งเป็นระยะละ 10 วัน เปรียบเทียบการเติมโซเดียมโมลิบเดทแบบต่อเนื่องและแบบเป็นรอบ ผลการทดลองช่วงที่ 1 พบว่า ที่อัตราส่วนซีโอ-ดีต่อซัลเฟต 100 50 20 และ 15 เมื่อเติมโซเดียมโมลิบเดทความเข้มข้น 0.5 1.0 1.5 และ 2.0 มิลลิโมลาร์ ตามลำดับ สามารถยับยั้งการเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้ต่ำกว่า 20 พีพีเอ็ม ผลการทดลองช่วงที่ 2 พบว่า ระยะการทดลองที่ 1-4 ชุดควบคุมเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์เฉลี่ย 555 970 3,870 และ 7,030 พีพีเอ็ม ตามลำดับ ขณะที่ชุดทดลองเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์เฉลี่ย 19 12.1 12 และ 19 พีพีเอ็ม เมื่อเติมโซเดียมโมลิบเดทความเข้มข้น 0.5 1.0 1.5 และ 2.0 มิลลิโมลาร์ ตามลำดับ ระยะการทดลองที่ 5 พบว่า ในชุดทดลองหลังจากหยุดเติมโซเดียมโมลิบเดท 5 วัน ไฮโดรเจนซัลไฟด์เพิ่มขึ้นจาก 20 ไปถึง 1,000 พีพีเอ็ม ขณะที่ชุดควบเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์เฉลี่ย 974.28 พีพีเอ็ม ผลการทดลองที่ 3 เลือกเติมโซเดียมโมลิบเดทความเข้มข้น 0.5 มิลลิโมลาร์ พบว่า ในชุดทดลองและชุดควบคุมเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์เฉลี่ย 7.67 และ 329 พีพีเอ็ม ตามลำดับ ส่วนการเติมโซเดียมโมลิบเดทแบบเป็นรอบ เมื่อหยุดเติมทำให้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เพิ่มขึ้น จาก 5 ไปถึง 350 พีพีเอ็มภายในเวลา 5 วัน
Other Abstract: This research aims to study effect of hydrogen sulfide (H2S) inhibition on anaerobic treatment of synthetic wastewater and swine wastewater. Sodium molybdate (Na2MoO4) was added, in order to inhibit the production of H2S. The research was divided into 3 experiments including the test in 1,000 ml of anaerobic serum bottle by synthetic wastewater, the test on UASB reactor with synthetic wastewater and swine wastewater, respectively. Na2MoO4 was added into equalization tank on second UASB reactor, the first reactor was set as control. In the first experiment, COD was set as 5,000 mg/l and conducted at 100, 50, 20 and 15 COD/SO42- ratio. Various concentration of Na2MoO4 including 0.5, 1.0, 1.5, and 2.0 mM were used. In this study to investigate the H2S inhibition from the first experiment, the results showed that addition of Na2MoO4 0.5, 1.0, 1.5 and 2.0 mM had an effective to control the concentration of H2S lower than 20 ppm for 100, 50, 20 and 15 COD/SO42- ratio respectively. The second experiment divided to 5 periods with the COD/SO42- ratio of 100, 50, 20, 15 and 50 respectively. Na2MoO4 was added every day to synthetic wastewater in period 1-4 (40d). The fifth periods (20d) was added only a single dose (added again when H2S increase). COD influent was set around 5,000 mg/l with hydraulic retention time (HRT) 0.5 day. The results from the second experiment in periods 1-4 represented that only small concentration of H2S was observed (not more than 20 ppm) when adding concentration of Na2MoO4 0.5, 1.0, 1.5 and 2.0 mM, respectively. In the fifth period, the results showed that H2S concentration increased from 20 to 1,000 ppm when stop adding Na2MoO4 within 5 days. The third experiment was divided into 2 periods of 10 days. Na2MoO4 was added by continuous and single dose as mentioned above. In this study, only small amount of H2S was observed in the range of 7.67 ppm when adding 0.5 mM Na2MoO4 and H2S concentration of the control set was 329 ppm. However, when stop adding Na2MoO4, leading to increasing of H2S concentrations from 20 to 1,000 ppm within 5 days.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52192
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1042
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1042
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670386721.pdf8.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.