Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52197
Title: การประเมินศักยภาพโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า
Other Titles: Greenhouse gas emission reduction assessment of electric power generation and distribution systems
Authors: กฤษณี สุวรรณพาหุ
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
ธนาพล ตันติสัตยกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Orathai.C@Chula.ac.th,Orathai.c@chula.ac.th
thanapolosk@hotmail.com
Subjects: การวิเคราะห์และประเมินโครงการ
อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ
Cost effectiveness
Electric industries
Greenhouse gas mitigation
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ จากรายงานทางสถิติของประเทศไทยพบว่าการผลิตไฟฟ้าทำให้มีการใช้พลังงานมหาศาลและยังทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นปริมาณมาก การลดการใช้พลังงานจากการปรับปรุงประสิทธิภาพจะช่วยทำให้ได้ประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านสิ่งแวดล้อม ในการศึกษานี้ เป็นการศึกษามาตรการอนุรักษ์พลังงาน 12 มาตรการในระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งจะคำนวณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกลไกการพัฒนาที่สะอาด ( clean development mechanism; CDM) และในมุมมองทางสิ่งแวดล้อม จะคำนวณจากค่ามูลค่าสุทธิปัจจุบัน(Net present value) และ ค่าความเสียหายทางมลพิษที่ลดลง จากการทำวิจัยพบว่าการเปลี่ยนวิธีการเพื่อควบคุม NOx จากการใช้ไอน้ำเป็นเทคโนโลยี Dry Low Emission ซึ่งเป็นมาตรการที่เปลี่ยนหัวฉีดเชื้อเพลิงให้มีการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้มีการใช้พลังงานที่ลดลงและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด และการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ทางการเงินและทางสิ่งแวดล้อมก็มีคุ้มค่าที่สุดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อคิดเป็นความเข้มของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้กับปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง กับพลังงานที่ใช้ลดลง พบว่ามาตรการreplacement transformer NO.20 เป็นมาตรการที่ค่าประสิทธิภาพสูงที่สุด เนื่องจากหม้อแปลงนี้ได้มีการใช้งานในระยะเวลายาวนาน และเมื่อเปลี่ยนเป็นหม้อแปลงใหม่ มีการเปลี่ยนเป็นหม้อแปลงที่มีคุณภาพสูงจากเดิมขึ้นมาก จึงทำให้ค่าความเข้มERI และ ESI มีค่าสูง นอกจากนี้งานวิจัยการประเมินศักยภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปรับปรุงประสิทธิภาพในระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการสร้างเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตได้อีกด้วย
Other Abstract: Electricity industry is one of the most important industries that contributes to Thailand's economic growth. Power generation requires a huge amount of energy and emits a great number of greenhouse gas emission. Reducing energy consumption by improving its efficiency will be beneficial in both economic and environmental aspect. In this study, twelve measures related to power generation and distribution system were assessed and analyzed its emission reduction via clean development mechanism and evaluated its cost effectiveness by using the net present value method and pollution decrease damage cost . The findings revealed that changing a burner with better efficiency was the best implemented measure providing a great point not only on total energy saving but also on gross emission reduction and on earning back the investment. The results in term of intensity of energy saving and emission reduction. However, demonstrated that replacing an old transformer with a new high efficiency one was the most effective measure because using it for a long time period results in high value of no load loss. The information regarding the potential of greenhouse gas emission reduction on the energy efficiency improvement of each measure would be a useful information for decision makers or other parties in power sector to understanding and planning the suitable strategies in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52197
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1041
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1041
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670519921.pdf10.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.