Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52248
Title: | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ใช้บริการในธุรกิจจัดหาคู่ |
Other Titles: | LEGAL PROBLEMS REGARDING CLIENT PROTECTION IN MATCHMAKING BUSINESS |
Authors: | โชคชัย เชื้อเทศขจร |
Advisors: | ชยันติ ไกรกาญจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chayanti.G@Chula.ac.th,Chayanti.G@Chula.ac.th |
Subjects: | ละเมิด -- ไทย สัญญาจ้าง -- ไทย ธุรกิจจัดหาคู่ -- การคุ้มครอง |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ธุรกิจจัดหาคู่ในประเทศไทยมีการดำเนินการมานานแล้ว มีผู้ใช้บริการหลักหมื่นคนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับประเทศที่มีการดำเนินธุรกิจนี้มาอย่างยาวนาน แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการโดยเฉพาะ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายเกาหลีและกฎหมายอังกฤษในประเด็นต่อไปนี้ ปัญหาผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตามสัญญา ตามกฎหมายไทยต้องกำหนดระยะเวลาให้ผู้ให้บริการปฏิบัติตามสัญญาก่อน ในขณะที่กฎหมายอังกฤษผู้ใช้บริการสามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันทีหากผู้ให้บริการผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งการจัดหาคู่ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ผู้ใช้บริการต้องการเป็นสาระสำคัญของสัญญา จึงควรให้สิทธิผู้ใช้บริการบอกเลิกสัญญาได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวให้ผู้ให้บริการปฏิบัติตามสัญญาก่อน เพราะสัญญาให้บริการจัดหาคู่เป็นสัญญาที่เกิดจากความไว้วางใจในตัวผู้ให้บริการ หรือถ้าหากมีการใช้สัญญามาตรฐานในเรื่องนี้ต่อไปภายหน้า ก็ควรให้สิทธิผู้ใช้บริการบอกเลิกสัญญาได้ทันทีถ้าผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตามสัญญา ปัญหาผลของข้อสัญญาไม่เป็นธรรมที่ไม่แน่นอนว่าแค่ไหนเพียงใดที่ถือว่าเป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี จากการศึกษาพบว่ากฎหมายเกาหลีกำหนดให้ข้อสัญญานั้นเป็นโมฆะ และกฎหมายอังกฤษกำหนดให้ข้อสัญญานั้นไม่มีผลผูกพันผู้ใช้บริการ แต่ก็ไม่อาจนำมาปรับใช้กับพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ได้ เมื่อธุรกิจจัดหาคู่มีแนวโน้มใช้ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมมากขึ้น จึงเสนอให้มีการบัญญัติกฎหมายกำกับดูแลธุรกิจนี้โดยกำหนดให้ต้องมีการทำสัญญากันเป็นหนังสือ เพื่อให้รัฐเข้ามากำกับดูแลสัญญาในธุรกิจนี้ได้ ปัญหาการคุ้มครองความเสียหายจากการใช้บริการในกรณีละเมิด กฎหมายไทยมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลทำให้ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิด ขณะที่กฎหมายอังกฤษสามารถคุ้มครองผู้ใช้บริการได้ตามหลักความสามารถในการคาดเห็นได้ล่วงหน้าอย่างสมเหตุสมผล สามารถเรียกผู้ให้บริการรับผิดกรณีจงใจหรือประมาทเลินเล่อในการให้บริการได้ แต่หากนำมาใช้จะมีปัญหาขอบเขตความรับผิดของผู้ให้บริการ จึงเสนอให้บัญญัติความรับผิดทางอาญาของผู้ให้บริการที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อในกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจจัดหาคู่ ปัญหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการที่ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยยังไม่ครอบคลุมเรื่องการรักษาความลับของผู้ใช้บริการที่หากนำกฎหมายเกาหลีมาใช้จะคุ้มครองผู้ใช้บริการได้ดีขึ้น และการเก็บข้อมูลที่ละเอียดอ่อนที่หากนำกฎหมายเกาหลีและกฎหมายอังกฤษมาปรับใช้จะคุ้มครองผู้ใช้บริการได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยยังไม่มีแนวโน้มที่จะพิจารณาประกาศใช้ จึงควรกำหนดหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจจัดหาคู่ นอกจากที่กล่าวในตอนต้น ยังควรที่จะนำหลักเกณฑ์การกำกับดูแลธุรกิจจัดหาคู่ของเกาหลีและแนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบธุรกิจจัดหาคู่แห่งสหราชอาณาจักรมาพิจารณาเป็นแนวทางประกาศใช้ในเรื่องการกำกับดูแลทางทะเบียน คุณสมบัติของผู้ที่จะประกอบธุรกิจจัดหาคู่ การตรวจสอบข้อมูลภูมิหลังของผู้ใช้บริการ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ การทำสัญญาให้บริการจัดหาคู่เป็นหนังสือ และมาตรการลงโทษผู้ให้บริการที่ฝ่าฝืนกฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติ |
Other Abstract: | Matchmaking businesses in Thailand have existed for many years, with an annual client population in the tens of thousands; this number has a likelihood of increasing, like other countries where such business has existed for many years. However, Thailand still lacks sufficient legislation outlining specific rights and responsibilities between service providers and clients in businesses of this nature. The researcher has therefore studied and conducted a comparison of Thai, Korean and British laws governing matchmaking businesses in these topics: Breach of contract: Thai laws give a specific period for service providers to perform contractual obligations, whereas British laws permit clients to terminate agreements immediately if the service provider has violated any condition in the agreement. In the matchmaking industry, providing members with the right qualifications requested by the client is a condition of the contract, which is signed with the client’s trust. Therefore clients should be able to terminate the agreement immediately without necessary prior notice. Another alternative is for the use of a standard contract which allows clients to terminate the agreement immediately, in the event the provider does not comply with the signed contract. Unfair contract terms: When contractual terms around scope and responsibility are uncertain or unclear, the study found that Korean laws dictate agreements to become void, whereas British laws dictate the particular term to be non-binding to the client. However, this cannot be used with the Unfair Contract Terms Act B.E. 2540. As the matchmaking industry has an increasing tendency to include unfair contractual terms, the researcher proposes specific legislation to the matchmaking industry for contracts to be entered into in writing so that the government has more involvement over contracts in such businesses Tort liability: Thai laws have limitations responsibilities of service providers because of the causation between actions and damages. On the contrary, British laws govern coverage to clients, allowing clients to claim damages from service providers under the reasonable foreseeability doctrine, ensuring service providers take full responsibility for intentional or negligent service. However if this was enforced, there would be limitations on the scope of responsibility of providers, therefore the researcher proposes legislation which defines penalty to service providers in the event of intentional or negligent services. Personal data protection: Thailand’s Personal Data Protection Bill still does not cover in aspect of clients’ confidence protection which if Thailand were to implement Korean measures, and in aspect of sensitive data protection which if Thailand were to implement Korean and British measures, this would surely improve the client protection. However, The possibility of enforcement of the Personal Data Protection Act in Thailand still remains low; for this reason, clauses regarding personal data protection should be considered in the legislation governing matchmaking businesses. In addition to the above, Thailand should give consideration to the adaptation of Korean Marriage Brokerage Business Management Act and Code of Practice for British Introduction Agencies. This includes registration for matchmaking businesses, background checks on clients, clients’ data protection, written service agreements and penalties for services providers in the event of violation of law or code of practice. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52248 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.486 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.486 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5685967934.pdf | 13.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.