Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5224
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมชาย อรรฆศิลป์ | - |
dc.contributor.advisor | พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์ | - |
dc.contributor.author | สุทัศน์ เรืองจุติโพธิ์พาน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-01-03T05:29:10Z | - |
dc.date.available | 2008-01-03T05:29:10Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741744862 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5224 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในผู้ป่วยโรคลูปุสเทียบกับประชากรทั่วไปของประเทศไทย วิธีการศึกษา: ทำการตรวจเลือดผู้ป่วยลูปุสทั้งหมด 90 ราย เป็นเพศหญิง 89 ราย เพศชาย 1 ราย มาตรวจหาแอนติบอดี้ต่อไวรัสตับอักเสบซี โดยวิธี Third generation Enzyme immunoassay ซึ่งถ้าได้ผลบวกจะหมายถึงเคยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี และส่งเลือดเพื่อตรวจหาการติดเชื้อที่ยังคงดำเนินอยู่ (Active infection) โดยวิธี Reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) เก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ทางคลินิกของโรคลูปุส แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับการศึกษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในประชากรทั่วไปที่มาบริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย ผลการศึกษา: ตรวจพบแอนติบอดี้ต่อไวรัสตับอักเสบซีในผู้ป่วยโรคลูปุสทั้งหมด 9 ราย (ร้อยละ 10) เมื่อเทียบกับประชากรปกติที่มาบริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย (ร้อยละ 0.5) พบว่ามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีที่ยังดำเนินอยู่ (Active infection) ให้ผลบวก 3 ราย (ร้อยละ 3.3) ผู้ป่วยโรคลูปุสที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี มีอายุขณะที่ทำการวิจัยมากกว่า (45+-12 ปีต่อ-36+-12ปี, p=0.037) มีข้ออักเสบขณะที่ทำการวิจัยมากกว่า (ร้อยละ 56 ต่อ ร้อยละ16, p=0.01) มีระดับ complement (CH50) ในเลือดต่ำกว่า (16+-10 ต่อ 23+-10 U/mL, p=0.04)) และมีผลรวมของความรุนแรงของโรค(SLEDAI)มากกว่า (8+-9 ต่อ 4+-5, p<0.05) เมื่อเทียบกับผู้ป่วยโรคลูปุสที่ไม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ผลสรุป: ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในผู้ป่วยโรคลูปุส มากกว่าประชากรปกติที่มาบริจาคโลหิตของประเทศไทย ผู้ป่วยโรคลูปุสที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีอายุขณะที่ทำการวิจัยมากกว่า มีข้ออักเสบขณะที่ทำการวิจัยมากกว่า มีระดับ complement ในเลือดต่ำกว่า และมีความรุนแรงของโรค (SLEDAI)มากกว่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยโรคลูปุสที่ไม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี | en |
dc.description.abstractalternative | Objective: To determine the prevalence and clinical significance of hepatitis C virus (HCV) infection in Thai patients with systemic lupus erythematosus (SLE). Method: Blood samples were drawn from 90 SLE patients (89 woman and 1 men) who fulfilled the 1982 revised criteria for SLE of the American College of Rheumatology. Serum from all patients was tested for antibodies to HCV (by third generation enzyme immunoassay). Active HCV infection was diagnosed by reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR). SLE and HCV infection features were reviewed and compared with 200 voluntary blood donors data. Result: Antibodies to HCV were present in 9 patients with SLE (10%) and in 1 (0.05%) of blood donors, significantly higher in SLE group (p<0.001). Among the anti-HCV positive group, active HCV infection were presented in 3 SLE patients (3.3%). Compared with SLE patients without infection, those with HCV infection were at older age at study entry (45+-12 versus 36+-12 years, p=0.037), and have a higher frequency of arthritis (56% versus 16%, p=0.01), lower complement (CH50) levels (16+-10 versus 23+-10 U/mL, p=0.04), and a higher SLEDAI (8+-9 versus 4+-5, p=0.05). Conclusion: The prevalence of HCV infection in SLE patients was higher than blood donors. SLE patients with HCV infection were at older age and have a higher frequency of arthritis, hypocomplementemia and a higher SLEDAI. | en |
dc.format.extent | 509029 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ไวรัสตับอักเสบซี | en |
dc.subject | โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง | en |
dc.subject | ตับอักเสบเรื้อรัง | en |
dc.subject | ลูปัส | en |
dc.title | ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีของผู้ป่วยโรคลูปุสในประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | Prevalence of hepatitis C virus infection in Thai patients with systemic lupus erythematosus | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | fmedsak@md2.md.chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Pisit.Ta@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.