Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52251
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริกัญญา โฆวิไลกูลen_US
dc.contributor.advisorชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรีen_US
dc.contributor.authorผกามาศ สงวนราษฎร์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:03:32Z-
dc.date.available2017-03-03T03:03:32Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52251-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับกับหนังสือค้ำประกันที่ธนาคารออกเพื่อประกันหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ต่างประเทศ 2) วิเคราะห์คำขอให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกัน เพื่อหาความชัดเจนในการบังคับใช้คำขอออกหนังสือค้ำประกัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นวิจัยทางเอกสารเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าตัวบทกฎหมาย ข้อมูลจากตำรา และบทความ เพื่อนำมาวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติของการออกหนังสือค้ำประกันของธนาคาร วิทยานิพนธ์นี้พบว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะค้ำประกัน ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้บังคับกับการออกหนังสือค้ำประกันของธนาคารเพื่อประกันหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ต่างประเทศ เพราะหากมีข้อต่อสู้ว่าหนังสือค้ำประกันตกเป็นโมฆะ จะทำให้ธนาคารไม่สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยให้ผู้ขอออกหนังสือค้ำประกันรับผิดชดใช้เงินคืนให้แก่ธนาคารได้ ธนาคารจึงต้องอาศัยคำขอออกหนังสือค้ำประกันเป็นเครื่องมือในการใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้ขอออกหนังสือค้ำประกันรับผิด อย่างไรก็ตาม ธนาคารก็อาจถูกผู้ขอออกหนังสือค้ำประกันยกข้อต่อสู้ได้ว่าธนาคารได้ชำระหนี้ไปตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระเพราะหนังสือค้ำประกันดังกล่าวตกเป็นโมฆะ และเมื่อสัญญาคำขอออกหนังสือค้ำประกันเป็นสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับหนังสือค้ำประกันที่เป็นโมฆะ สัญญาคำขอออกหนังสือค้ำประกันก็ย่อมตกเป็นโมฆะด้วย ธนาคารจึงไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ขอออกหนังสือค้ำประกันรับผิดชดใช้เงินคืนให้แก่ธนาคารตามสัญญาคำขอออกหนังสือค้ำประกันได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยการเสนอแนวทางในการร่างสัญญาคำขอออกหนังสือค้ำประกัน โดยการเปลี่ยนชื่อสัญญาคำขอออกหนังสือค้ำประกันเป็นสัญญาตกลงชดใช้ค่าเสียหายสำหรับการออกหนังสือค้ำประกัน และกำหนดข้อตกลงไว้อย่างชัดเจนในสัญญาว่าสัญญาฉบับนี้มีลักษณะเป็นเอกเทศ แยกต่างหากจากสัญญาประธานและหนังสือค้ำประกันที่ธนาคารออก ตลอดจนมิได้มีลักษณะเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาใด ๆ และกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายตามสัญญาฉบับนี้ว่าเป็นค่าเสียหายที่เกิดจากกรณีความเสียหายอย่างใดบ้าง เพื่อให้สัญญาคำขอออกหนังสือค้ำประกันมีความสมบูรณ์และมีผลบังคับได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis were to 1) study problems arising from an application of the Civil and Commercial Code, title Suretyship to a bank letter of guarantee issued as security to a foreign creditor and 2) analyze an application form of the bank letter of guarantee for its applicable enforcement. This thesis is a documentary research by researching legislations, textbooks and articles in order to analyze problems arising from practical issues of the issuance of the bank letter of guarantee. This thesis concludes that The civil and commercial code, title Suretyship is insufficient and inapplicable for the bank letter of guarantee issued as security to a foreign creditor. If the bank letter guarantee is voided, the issuer bank has no right to require for an reimbursement from the applicant. Consequently, the issuer bank has to claims against the applicant for the reimbursement by referring the submitted an application form of the bank letter of guarantee. However, the applicant may also defend against the issuer bank that the bank has arbitrarily paid debt because such the bank letter of guarantee becomes void. Since the submitted application form of the bank letter of guarantee is a part of such voided instrument agreement, the application form also becomes void. The bank therefore has no right to require for an reimbursement by referring the submitted applicant form of the bank letter of guarantee. This thesis recommends that changing the name of an applicant form of the bank letter of guarantee to be an indemnity agreement for the issuance of the bank of guarantee; specifying expressly covenants therein that this agreement is a specific contract separated from the principal agreement and the issued bank letter of guarantee and it is not instrumental to any contracts; and specifying a provision of contractual damages which can be caused by any incidents in order to make the applicant form of the bank letter of guarantee complete and enforceable.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.126-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectธนาคารพาณิชย์ -- ไทย-
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ค้ำประกัน-
dc.subjectกฎหมายธนาคาร-
dc.subjectBanking law-
dc.subjectSuretyship and guaranty-
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการออกหนังสือค้ำประกันของธนาคารพาณิชย์เพื่อประกันหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ต่างประเทศen_US
dc.title.alternativeThe Legal issues on Bank Letter of Guarantee for Foreign creditoren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายการเงินและภาษีอากรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSirikanya.K@Chula.ac.th,Sirikanya.K@Chula.ac.then_US
dc.email.advisorCharnchB@bot.or.then_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.126-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686208434.pdf15.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.