Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52257
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอกวัล ลือพร้อมชัยen_US
dc.contributor.authorพลิศา มหาชัยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:03:52Z-
dc.date.available2017-03-03T03:03:52Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52257-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractการปล่อยไขมันและน้ำมันลงแหล่งน้ำหรือท่อระบายน้ำ ทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม งานวิจัยนี้จึงสนใจนำวิธีทางชีวภาพมาใช้ร่วมกับบ่อดักไขมัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบและปรับปรุงคุณภาพของน้ำทิ้งให้ดีขึ้น โดยการทดลองประกอบด้วยการคัดเลือกแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายไขมัน การตรึงแบคทีเรียผสมบนพอลิยูรีเทนโฟม และการศึกษาประสิทธิภาพการย่อยไขมันของแบคทีเรียตรึงในขวดทดลองและถังดักไขมันแบบจำลอง ทั้งนี้คัดกรองแบคทีเรียจากทั้งหมด 17 สายพันธุ์ โดยดูจากความสามารถการย่อยสลายน้ำมันปาล์มที่ความเข้มข้น 1500 มิลลิกรัมต่อลิตร ในน้ำเสียสังเคราะห์ ผลการทดลองพบว่าแบคทีเรีย 3 สายพันธุ์ คือ Bacillus thuringiensis สายพันธุ์ SBO1, Bacillus subtilis สายพันธุ์ URBO1 และ Paenibacillus elgii RO3 มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายน้ำมันปาล์มมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นแบคทีเรียไม่ก่อโรคและไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เมื่อนำแบคทีเรียผสมทั้ง 3 สายพันธุ์มาตรึงบนพอลิยูรีเทนโฟม โดยให้จำนวนเซลล์ตรึงเริ่มต้นมีค่าประมาณ 11.2 log CFU ต่อกรัม พบว่าแบคทีเรียตรึงสามารถย่อยสลายไขมันในน้ำเสียสังเคราะห์ที่อัตรา 0.32 กรัมน้ำมันต่อกรัมแบคทีเรียต่อชั่วโมง จากนั้นทดสอบประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียโดยใช้น้ำเสียจริงจากร้านอาหารที่มีความเข้มข้นของไขมัน 1200-3000 มิลลิกรัมต่อลิตร ในบ่อดักไขมันจำลองมีปริมาตร 4 ลิตร และระยะเวลาในการกักเก็บ 12 ชั่วโมง พบว่าชุดการทดลองที่เติมแบคทีเรียตรึงและอากาศ มีประสิทธิภาพการย่อยสลายไขมัน 61 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 21 วัน และสามารถลดค่าบีโอดี และซีโอดี ได้ 38 และ 39 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้เซลล์ตรึงเพื่อลดปริมาณน้ำมัน ค่าบีโอดี และค่าซีโอดี ในน้ำทิ้งของบ่อดักไขมันได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe disposing of fat, oil and grease into water resources and drains can cause environmental problems. This study focused on the application of biological treatment with grease trap to improve the quality of effluent as well as the efficiency of wastewater treatment system. The experiments included the selection of oil degrading bacteria, the immobilization of mixed bacterial strains on polyurethane foam, and the investigation of their oil biodegradation efficiency in shake flask and grease trap model. Seventeen isolated bacteria were screened from oil biodegrading activity in synthetic wastewater containing 1500 mg/L of palm oil. Three isolated bacteria including Bacillus thuringiensis SBO1, Bacillus subtilis URBO1 and Paenibacillus elgii RO3 showed the positive results with more than 80% in palm oil biodegradation. In addition, they are non-pathogenic bacteria and did not posed antagonistic effect. The bacteria were mixed and immobilized on polyurethane at approximately 11.2 log CFU/g of initial cells. The oil biodegradation rate of immobilized bacteria in oil containing wastewater was 0.32 g of oil/g of bacteria/hour. The oil removal efficiency was later carried out in a grease trap model containing real wastewater from a restaurant with 1200-3000 mg/L of oil. The total volume of model was 4 liters with a hydraulic retention time of 12 hours. The system was operated for 21 days, the oil removal was decreased to 61%, while BOD and COD were decreased to 38% and 39%, respectively. This study showed that the immobilized bacteria can be used to reduce the oil concentration, BOD and COD in the effluent from grease trap.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.850-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการย่อยสลายทางชีวภาพ-
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพ-
dc.titleการย่อยสลายทางชีวภาพของไขมันและน้ำมันในบ่อดักไขมันโดยแบคทีเรียตรึงบนพอลิยูริเทนโฟมen_US
dc.title.alternativeBIODEGRADATION OF FOG IN GREASE TRAP BY IMMOBILIZED BACTERIA ON POLYURETHANE FOAMen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorEkawan.L@Chula.ac.th,ekawan.l@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.850-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5687215020.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.