Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52260
Title: | การหาขนาดที่เหมาะที่สุดของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่เพื่อการพึ่งพาตนเองได้ในด้านพลังงานของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน |
Other Titles: | Optimal sizing of battery energy storage system for sustainable energy in Mueang Mae Hong Son District |
Authors: | กลวัชร เกษกมล |
Advisors: | แนบบุญ หุนเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Naebboon.H@Chula.ac.th,naebboon@gmail.com,Naebboon.H@Chula.ac.th |
Subjects: | การกักเก็บพลังงาน Energy storage |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอกระบวนการการหาขนาดที่เหมาะสมของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่สำหรับอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนเพื่อการพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน โดยพิจารณาการทำงานใน 2 รูปแบบหลัก คือ ขณะเชื่อมต่อกับระบบส่งจ่ายไฟฟ้า กำหนดขนาดทางด้านกำลังของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ที่มีขนาดเล็กที่สุดที่จะสามารถทำให้อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนยังคงรักษาเสถียรภาพทางไฟฟ้าได้เมื่อเกิดความผิดพร่องขึ้น และขณะทำงานแยกโดด กำหนดขนาดทางด้านพลังงานของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ที่เล็กที่สุดที่จะสามารถทำให้อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนสามารถทำงานแบบแยกโดดได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 นาที โดยคำนึงถึงอัตราส่วนการอัดประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่ แนวคิดหลักที่นำมาประยุกต์คือใช้ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่มาทดแทนกำลังไฟฟ้าที่สูญหายจากสายส่งเมื่อเกิดความผิดพร่อง ดังนั้น ในช่วงการทำงานปกติที่เชื่อมต่ออยู่กับระบบส่งจ่ายไฟฟ้าจึงมุ่งเน้นการจัดการกำลังผลิตภายในเพื่อลดความต้องการใช้ไฟฟ้าจากภายนอกให้ได้มากที่สุด การแก้ปัญหาจะใช้กระบวนการหาค่าเหมาะที่สุดโดยใช้โปรแกรมเชิงเส้น ผลลัพธ์ที่ได้ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่จะมีขนาดพิกัดกำลังไฟฟ้า 4.5 เมกะวัตต์ และขนาดพิกัดความจุพลังงานไฟฟ้า 2.25 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (ที่อัตราส่วนการอัดประจุไฟฟ้าเท่ากับ 2) นอกจากนี้ พิจารณาผลของการควบคุมความต้องการใช้ไฟฟ้าโดยตรงต่อขนาดของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ใน 2 รูปแบบ คือ การควบคุมร้อยละของปริมาณพลังงานที่ใช้ และการควบคุมความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด พบว่า ผลของการควบคุมโหลดโดยตรงแบบการควบคุมร้อยละของปริมาณพลังงานที่ใช้จะส่งผลให้พิกัดกำลังไฟฟ้าของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่มีพิกัดกำลังไฟฟ้าลดลงได้ดีกว่าการควบคุมความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด |
Other Abstract: | This thesis proposes optimal sizing of battery energy storage system (BESS) for sustainable energy in Mueang Mae Hong Son district. During connected mode of operation, minimum power size of BESS is determined for maintaining stability of the power system in Mae Hong Son when fault occurs on the tie-line. Then during islanding mode, minimum energy size of BESS is determined so that the system can maintain operation in the islanding mode no less than 15 minutes at charge rate equal to 2. The main concept being applied here is to manage tie-line import power at minimum during normal operation, and to use power supply from BESS to substitute for such tie-flow when fault occurs on the tie-line. Linear programing is applied to solve the formulated optimization problem. The results show that the size of BESS is 4.5 MW, 2.25 MWh (at 2 charge rate). In addition, feasibility of further reducting the size of BESS using direct load control in 2 schemes; that is energy consumption control and peak load control, has been investigated. Test results show that the energy consumption control scheme is more effective in reducing size of BESS than the peak load control is. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52260 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.955 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.955 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770111521.pdf | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.