Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52298
Title: | การปรับปรุงความสามารถในการใช้งานโมบายแอพพลิเคชั่นแผนที่ |
Other Titles: | Usability Improvement of Map Mobile Applications |
Authors: | ภัทรดา ธนะจันทร์ |
Advisors: | อริศรา เจียมสงวนวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | arisara.j@chula.ac.th,arisara.j@chula.ac.th |
Subjects: | แผนที่ โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ Maps Mobile apps |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การทดสอบความสามารถในการใช้งาน (Usability Test) เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพและจำเป็นในการประเมินผลิตภัณฑ์จากการทดสอบของผู้ใช้งานจริง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในด้านการใช้งานและปรับปรุงคุณภาพของโมบายแอพพลิเคชั่น การทดสอบความสามารถในการใช้งานจึงถูกสนใจในงานวิจัยนี้ การทดสอบความสามารถในการใช้งานเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ทำให้ผู้ออกแบบระบบได้รู้ถึงข้อผิดพลาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลวในการลงทุนและสูญเสียทรัพยากรเพราะระบบที่สร้างขึ้นมานั้นไม่มีความสามารถในการใช้งาน หลักการความสามารถในการใช้งาน (Usability) ทั้ง 5 ของ Nielson และมาตรฐานสากล ISO: 9241-11 (1998) ถูกนำมาทดสอบและวิเคราะห์เป็นแนวทางการออกแบบเพื่อปรับปรุงส่วนเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน (UI) ตามข้อแนะนำการออกแบบตามความสามารถในการใช้งาน หรือ วิธีการออกแบบโดยยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง โดยในงานวิจัยได้ทดสอบเปรียบเทียบความสามารถในการใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนที่ NOSTRA Map และแอพพลิเคชั่น Google Maps จำนวน 10 งานการทดสอบโดย 5 ผู้เข้าร่วมการทดสอบ เพื่อนำมาวิเคราะห์เป็นแนวทางในการออกแบบปรับปรุงได้เป็น NOSTRA Map เวอร์ชั่นใหม่ และนำมาทดสอบเปรียบเทียบกับเวอร์ชั่นเดิมอีกครั้ง ปัญหาที่พบในการใช้งานแอพพลิเคชั่น เช่น การใช้ภาษาเฉพาะของระบบที่เข้าใจยาก การออกแบบระบบที่มีฟังก์ชั่นการใช้ซับซ้อนเข้าถึงยาก การใช้ไอคอนที่ไม่สื่อความหมายและตำแหน่งในการวางไอคอนไม่เหมาะสม และปัญหาที่พบจากการทดสอบความสามารถใช้การใช้งานถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงเป็น NOSTRA Map เวอร์ชั่นใหม่ เมื่อทดสอบเปรียบเทียบเวอร์ชั่นใหม่กับเวอร์ชั่นเดิมอีกครั้งได้ผลความพึงพอใจในการใช้งานจากผู้เข้าร่วมการทดลองที่ดีขึ้น ผลความสามารถในการเรียนรู้และความถูกต้องสมบรูณ์ในการใช้งานในงานการทดสอบที่ 2 ดีขึ้นกว่าเวอร์ชั่นเดิม รวมถึงในงานการทดสอบที่ 2, 3, 5, 8 และ 10 มีผลประสิทธิภาพในการใช้งานดีขึ้นกว่าเวอร์ชั่นเดิม อีกทั้งในงานการทดสอบที่ 6 มีผลความสามารถในการจดจำเวอร์ชั่นใหม่ดีขึ้นกว่าเวอร์ชั่นเดิม |
Other Abstract: | Usability test is an evaluation method to identify error and user experiences from their design. The ease of human-computer interaction were quantitatively measured and illustrated problems with its severity. In order to improve the quality of mobile application, usability test, the effective technique for product evaluation was focused in this research. Without usability test, the application would have a complexity. In this study, five usability attributes of learnability, efficiency, effectiveness, memorability, and satisfaction were used regarding to Nielson and ISO 9241-11. This research was to evaluate usability of mobile map application for improve user interface. Comparative usability test was performed on map application by using NOSTRA map and Google maps. Ten tasks were set as scenario for five participants to complete usability test and used in the analysis. The suggestions for UI improvement were implement on new version of NOSTRA map application, which was used for the improvement validation in this study. The results showed that several usability issues such as difficulty of use or complex design were found. Most of the problems founded in this study are related to the design of icons and their location in apps which were inappropriately presented. The redesign of icons and change their location on screen should be considered to improve its usability. The new version of NOSTRA map revealed the highest satisfaction scores of five participants among NOSTRA map previous version. The result of the task2 shows the more learnability and effectiveness than the previous version. Moreover, the task 2, 3, 5, 8, and 10 are more efficient. Additionally, the task6 shows high memorability. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52298 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1089 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1089 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770951321.pdf | 6.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.