Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52325
Title: | ผลของการแนะนำและช่วยปรับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามแต่ละบุคคลเปรียบเทียบกับการแนะนำการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามมาตรฐานต่ออาการของระบบทางเดินอาหารและการสร้างแก๊สไฮโดรเจนในลำไส้ในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน |
Other Titles: | Effect of structured individual-based lifestyle low FODMAPS dietary advice (SILFD) compare with usual care low FODMAPS dietary advice in gastrointestinal symptoms and intestinal hydrogen gas production in patients with irritable bowel syndrome |
Authors: | อัครวุฒิ จันทราพิรัตน์ |
Advisors: | สุเทพ กลชาญวิทย์ ฐนิสา พัชรตระกูล นริศร ลักขณานุรักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sutep.G@Chula.ac.th,gsutep@hotmail.com,gsutep@hotmail.com dr_tanisa@yahoo.com jobjobs@gmail.com |
Subjects: | ลำไส้ -- โรค ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ -- โรค คาร์โบไฮเดรต Intestines -- Diseases Gastrointestinal system -- Diseases Carbohydrates |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย การรับประทานคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายทำให้เกิดอาการระบบทางเดินอาหารรวมถึงเกิดแก๊สในลำไส้น้อยกว่าเมื่อเทียบการรับประทานคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยยาก การเปรียบเทียบประโยชน์ระหว่างการแนะนำและช่วยปรับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามแต่ละบุคคลกับการแนะนำการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามมาตรฐานในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนยังคงไม่มีความชัดเจนในปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลของการแนะนำและช่วยปรับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามแต่ละบุคคลเปรียบเทียบกับการแนะนำการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามมาตรฐานต่ออัตราการตอบสนองของอาการของระบบทางเดินอาหาร อาการของระบบทางเดินอาหารแต่ละชนิดและอาการโดยรวมของระบบทางเดินอาหาร และการสร้างแก๊สไฮโดรเจนในลำไส้ในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน ระเบียบวิธีการวิจัย ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนตามนิยาม Rome III ทั้งหมด 62 รายเข้าร่วมการศึกษา โดยแต่ละคนจะถูกสุ่มให้คำแนะนำที่แตกต่างกันคือกลุ่มแนะนำและช่วยปรับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามแต่ละบุคคล 30 รายกับกลุ่มแนะนำการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามมาตรฐาน 32 ราย โดยกลุ่มที่ให้คำแนะนำและช่วยปรับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามแต่ละบุคคลใช้เวลาแนะนำประมาณ 30 นาทีโดยวิเคราะห์อาหารในช่วง 1 สัปดาห์หลังสุดเพื่อหาว่าอาหารชนิดใดที่เป็นปัญหาของผู้ป่วยพร้อมแนะนำการหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้นและทดแทนด้วยอาหารที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายทดแทนจากหนังสือคู่มืออาหารที่แจกให้ผู้เข้าร่วมวิจัย ส่วนกลุ่มที่แนะนำตามมาตรฐานจะใช้เวลาประมาณ 5 นาที แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก ลดการบริโภคผลไม้ ผัก และอาหารที่สร้างแก๊สเช่นถั่ว กระเทียม โดยทั้ง 2 กลุ่มจะทำการตรวจวัดปริมาณแก๊สไฮโดรเจนในลำไส้ที่วัดจากลมหายใจออกด้วยเครื่อง Quintron breath test หลังทานมื้อกลางวันโดยวัดทุก 15นาที จนครบ 4 ชั่วโมง ร่วมกับประเมินความรุนแรงของอาการลำไส้แปรปรวนโดยใช้แบบสอบถาม 0-100 mm Visual analog scale (VAS) แนะนำให้บันทึกอาหารที่รับประทานใน 7 วันหลังสุดในสัปดาห์สุดท้ายของการวิจัย แล้วนัดผู้ป่วยมาทำการศึกษาต่อในลักษณะเดิมในอีก 4 สัปดาห์ต่อมา โดยมีนิยามของการตอบสนองของอาการของระบบทางเดินอาหารว่าเป็นอาการปวดท้องหรืออึดอัดแน่นท้องลดลงอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ โดนประเมินจากคะแนนสูงสุดโดยเฉลี่ยในแต่ละวันในช่วง 1 สัปดาห์หลังสุด ผลการวิจัย ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะพื้นฐานตั้งต้นที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งหมดสามารถร่วมการศึกษาได้ตลอดการศึกษาและไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง การตอบสนองของอาการของระบบทางเดินอาหารในกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำและช่วยปรับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามแต่ละบุคคลพบ 18 ราย จาก 30 ราย คิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ ในขณะกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามมาตรฐานพบ 9 รายจาก 32 ราย คิดเป็น 28 เปอร์เซ็นต์ (p<0.05) อาการโดยรวมของระบบทางเดินอาหารลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำและช่วยปรับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามแต่ละบุคคลเปรียบเทียบกับก่อนเข้าสู่การวิจัย (39±20 กับ 62±21, p<0.05) แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มแนะนำการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามมาตรฐานเปรียบเทียบกับก่อนเข้าสู่การวิจัย (54± 19 กับ 56±18, p>0.05) อาการปวดท้องลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำและช่วยปรับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามแต่ละบุคคลเปรียบเทียบกับก่อนเข้าสู่การวิจัย (23±25 กับ 41±34, p<0.05) แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มแนะนำการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามมาตรฐานเปรียบเทียบกับก่อนเข้าสู่การวิจัย (34±30 กับ 41±31, p>0.05) อาการอึดอัดแน่นท้องลดลงและท้องอืดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำและช่วยปรับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามแต่ละบุคคลเปรียบเทียบกับก่อนเข้าสู่การวิจัย (35±24 กับ 56±24 และ 35±25 กับ 49±30, p<0.05) ตามลำดับ แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มแนะนำการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามมาตรฐานเปรียบเทียบกับก่อนเข้าสู่การวิจัย (46±28 กับ 56 ±25 และ 40±33 กับ 49 ±34, p>0.05) ตามลำดับ ปริมาณแก๊สไฮโดรเจนในลำไส้ที่วัดจากลมหายใจออกของทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเริ่มเข้าสู่การวิจัย (2820±223 กับ 2791±246 ppm-min, p>0.05) โดยมีการลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำและช่วยปรับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามแต่ละบุคคล (1839±237, p<0.005) แต่กลับเพิ่มขึ้นในกลุ่มแนะนำการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามมาตรฐานแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (370±270 ppm-min, p < 0.005) โดยพบว่าจำนวนอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยยากมีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำและช่วยปรับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามแต่ละบุคคลเปรียบเทียบกับก่อนเข้าสู่การวิจัย (16±6 กับ 10±4 ชนิดต่อสัปดาห์, p<0.05)แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มแนะนำการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามมาตรฐานเปรียบเทียบกับก่อนเข้าสู่การวิจัย (16±6 กับ 15±6 ชนิดต่อสัปดาห์, p>0.05) สรุปผล: การให้คำแนะนำและช่วยปรับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามแต่ละบุคคลมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการแนะนำการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามมาตรฐานต่ออาการของระบบทางเดินอาหารและควรแนะนำให้เป็นแนวทางในการปฎิบัติกับผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนที่มารักษาแบบผู้ป่วยนอก |
Other Abstract: | BACKGROUND: Implementation of low FODMAP diet for IBS patients in out-patient clinic has not been well explored. To compare the effect of 2 low FODMAP dietary approaches; 1) a usual care low FODMAPs dietary advice (UCLFD) and 2) a structured individual-based lifestyle low FODMAPs dietary advice (SILFD), on IBS symptoms and postprandial hydrogen gas production. METHODS: We performed a study of 62 patients who met the ROME III criteria of IBS were randomized to receive SILFD (n=30) or UCLFD (n=32) for 4 weeks. The SILFD was a 30 minutes dietary advice session which included 1) analyzing the 1 week dietary record, 2) identifying high FODMAP diets that might aggravate patient’s symptoms, 3) advising the patients to avoid high FODMAP food items, and 4) discussing with the patients to substitute the high FODMAP items with patient’s favorite low FODMAP items in the FODMAP handbook of our clinic which contained common low FODMAP items in our country. The UCLFD was a brief 5 minutes dietary advice by a physician which included avoiding of large meals, reducing intake of fruits, vegetables, and gas producing foods, such as beans and garlic. All patients recorded their diets in a food diary for 1 week before and during the 4th week after the dietary advices. Global IBS symptoms, abdominal pain, discomfort, and severity of other GI symptoms were evaluated at baseline (BL) and the end of study using a 0-100 mm Visual Analog Scale (VAS). Hydrogen breath sample was collected every 15 minutes for 4 hours after lunch at before and end of treatment. The primary end point was the rate of responder defined as a ≥ 30% decrease in the average of daily worst abdominal pain or abdominal discomfort during the 4th week compared to baseline. RESULTS: All completed the studies with similar patient profiles between SILFD and UCLFD. Global IBS symptom score after SILFD was significantly decreased compared to BL (39±20vs.62±21, p<0.05) but not significantly changed after UCLFD (54± 19vs. 56±18, p>0.05). Abdominal pain score was significantly decreased compared to BL after SILFD (23±25vs.41±34, p<0.05) but not after UCLFD (34±30vs.41±31, p>0.05), Abdominal discomfort and Bloating score were significantly decreased compared to baseline after SILFD (35±24vs.56±24 and 35±25vs.49±30, p<0.05) but not after UCLFD (46±28vs.56 ±25 and 40±33vs.49 ±34, p>0.05). Other GI symptoms were not significantly changed. After SILFD treatment, 18 of 30 (60%) patients were fulfilled the criteria of responder, whereas after UCLFD only 9 of 32 (28%) patients were responders (p<0.05). The hydrogen gas production was similar between SILFD and UCLFD (AUC=2820±223 vs.2791±246 ppm-min, p>0.05) at baseline and significantly decreased after SILFD compared to UCLFD (1839±237vs.-370±270 ppm-min, p < 0.005) at the end of treatment. At baseline, patients who received SILFD and UCLFD consumed similar number of high FODMAP items (16±6vs.16±6 items/week, p>0.05), but significantly decreased at 4 week after SILFD compared to UCLFD (10±4vs.15±6 items/week, p<0.05). CONCLUSIONS: structured individual-based lifestyle low FODMAPs dietary advice is more effectively than a usual care low FODMAP dietary advice for relieving IBS symptoms in OPD practice and should be advocated as standard service in IBS |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52325 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1267 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1267 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774114130.pdf | 4.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.