Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52327
Title: EFFECTS OF DNA-MLV PRIME BOOST IMMUNIZATION ON MODULATION OF PRRSV-SPECIFIC IMMUNE RESPONSES IN HP-PRRSV CHALLENGED PIGS
Other Titles: ผลของการใช้ดีเอ็นเอวัคซีนร่วมกับวัคซีนพีอาร์อาร์เอสชนิดเชื้อเป็น ต่อการปรับเปลี่ยนการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อเชื้อพีอาร์อาร์เอสชนิดสายพันธุ์รุนแรงในสุกร
Authors: Chaitawat Sirisereewan
Advisors: Sanipa Suradhat
Roongroje Thanawongnuwech
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science
Advisor's Email: Sanipa.S@Chula.ac.th,Sanipa.S@chula.ac.th
Roongroje.T@Chula.ac.th,thaiowa@gmail.com
Subjects: โรคพีอาร์อาร์เอส
วัคซีนสัตว์
Porcine reproductive and respiratory syndrome
Veterinary vaccines
Issue Date: 2016
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Porcine reproductive and respiratory syndrome virus (PRRSV) has been recognized as the important swine pathogen that threaten swine industry globally. The quasispesies character of PRRSV causes genetic variation, leading to the emergence of the new variant type 2 PRRSV, known as highly pathogenic PRRSV (HP-PRRSV). HP-PRRSV first emerged in China in 2006 and then spread to circulate in the Southeast Asia region. Currently, commercially available modified live PRRS vaccines (MLV) are not able to provide complete protection against the HP-PRRSV, and have been reported to induce negative immunomodulatory effects in vaccinated pigs. Interestingly, a novel DNA vaccine was developed and successfully used to improve PRRSV-specific immune responses following MLV vaccination. To investigate the efficacy of a heterologous DNA-MLV prime-boost immunization against the HP-PRRSV infection, an experimental vaccinated-challenged study was conducted. Two-week-old, PRRSV-seronegative, crossbred pigs (5-8 pigs/group) were allocated into 5 groups. At day-14 (D-14), the treatment group (DNA-MLV) was immunized with a DNA vaccine encoding PRRSV-truncated nucleocapsid protein (pORF7t), followed by a commercial modified live, type 2 PRRS vaccine (MLV) at D0. The other groups included the group that received PBS at D-14 followed by MLV at D0 (MLV), pORF7t at D-14 (DNA), PBS at D0 (PBS) and the negative control group. At D42, all groups, except the negative control group, were challenged with HP-PRRSV (strain 10PL1). The results demonstrated that pigs that received MLV, regardless of the DNA priming, exhibited less clinical signs and faster viral clearance. Following HP-PRRSV challenge, the DNA-MLV group exhibited improved PRRSV-specific immunity, as observed by increased neutralizing antibody titers and PRRSV-specific IFN-g production, and reduced IL-10 and PRRSV-specific Treg productions. However, neither the prime-boost immunization nor the MLV was able to induce complete clinical protection against HP-PRRSV infection. In conclusion, improved immunological responses, but not complete clinical protection, were achieved by DNA-MLV prime-boost immunization. This study highlights the potential use of heterologous prime-boost vaccination regimen, where DNA can be incorporated with other vaccine candidates, for improving anti-PRRSV immunity that may eventually lead induction of complete PRRSV protection.
Other Abstract: ไวรัสพีอาร์อาร์เอส จัดเป็นไวรัสก่อโรคที่สำคัญในสุกร ที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรทั่วโลก ไวรัสพีอาร์อาร์เอสเป็นไวรัสที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง จึงเหนี่ยวนำให้เกิดกลายพันธุ์ของไวรัสจนเกิดเป็นไวรัสพีอาร์อาร์เอสชนิดสายพันธุ์รุนแรง การระบาดของไวรัสพีอาร์อาร์เอสชนิดสายพันธุ์รุนแรงเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน ในปี 2549 หลังจากนั้นไวรัสดังกล่าวได้แพร่กระจายเข้ามายังหลายประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันการใช้วัคซีนโรคพีอาร์อาร์เอสชนิดเชื้อเป็นไม่สามารถให้ผลในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสชนิดสายพันธุ์รุนแรงได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งยังส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในสุกร เป็นที่น่าสนใจว่าการใช้ดีเอ็นเอวัคซีนที่มียีนที่สร้างโปรตีนนิวคลิโอแคปสิดบางส่วนของเชื้อพีอาร์อาร์เอส ร่วมกับวัคซีนโรคพีอาร์อาร์เอสชนิดเชื้อเป็น สามารถช่วยกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มได้ดียิ่งขึ้น เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ดีเอ็นเอวัคซีนร่วมกับวัคซีนโรคพีอาร์อาร์เอสชนิดเชื้อเป็น ต่อการติดเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสชนิดสายพันธุ์รุนแรง ทำการแบ่งสุกรทดลองปลอดเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสออกเป็นจำนวน 5 กลุ่มการศึกษา เมื่อสุกรอายุประมาณ 2 สัปดาห์ (ในวันที่ -14; D-14) สุกรทดลองกลุ่ม DNA-MLV และ MLV จะได้รับดีเอ็นเอวัคซีน (pORF7t) และสารละลายพีบีเอส (PBS) ตามลำดับ และให้วัคซีนโรคพีอาร์อาร์เอสชนิดเชื้อเป็น (MLV) ในวันที่ 0 สำหรับสุกรทดลองกลุ่มอื่นๆ ประกอบด้วย สุกรทดลองกลุ่ม DNA ซึ่งได้รับการจะได้รับดีเอ็นเอวัคซีน (pORF7t) ในวันที่ -14 ตามด้วยการให้สารละลายพีบีเอส (PBS) ในวันที่ 0 สุกรกลุ่ม PBS จะได้รับสารละลายพีบีเอส (PBS) ในวันที่ 0 และกลุ่มควบคุมลบ (negative) เมื่อสุกรอายุ 6 สัปดาห์ ทำการฉีดพิษทับด้วยเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสชนิดสายพันธุ์รุนแรงแก่สุกรทดลองทุกกลุ่มยกเว้นกลุ่มควบคุมลบ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มสุกรทดลองในกลุ่ม DNA-MLV และ MLV แสดงอาการทางคลินิกที่น้อยกว่า และสามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้เร็วยิ่งขึ้น ภายหลังการฉีดพิษทับ พบว่าสุกรทดลองกลุ่ม DNA-MLV มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ดีกว่ากลุ่ม MLV โดยตรวจพบการระดับนิวทรัลไลซิ่งแอนติบอดี (neutralizing antibody) ต่อเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสชนิดสายพันธุ์รุนแรง และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์ต่อเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอส โดยการสร้างอินเตอร์ฟิรอนแกมม่า (IFN-g) ได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในเชิงลบ โดยลดการการสร้างอินเตอร์ลิวคิน 10 (Interleukin-10;IL-10) และ PRRSV-specific Treg ได้ อย่างไรก็ตาม การให้วัคซีน DNA-MLV ในรูปแบบไพรม์-บูส (prime-boost) และการให้วัคซีนเชื้อเป็นเพียงอย่างเดียวไม่สามารถให้ผลการป้องกันการติดเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสชนิดสายพันธุ์รุนแรงได้อย่างสมบูรณ์ ผลจากการศึกษานี้ สรุปว่า แม้ว่าการให้วัคซีนในรูปแบบไพรม์-บูส จะช่วยปรับเปลี่ยนการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อเชื้อพีอาร์อาร์เอสได้ดีขึ้น แต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อย่างสมบูรณ์ได้ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้ดีเอ็นเอวัคซีนร่วมกับวัคซีนในรูปแบบอื่นๆ (prime-boost strategy) สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การป้องกันการติดเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสอย่างสมบูรณ์ได้
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2016
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Veterinary Pathobiology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52327
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1907
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1907
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5775304231.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.