Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52331
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีพร ธนศิลป์en_US
dc.contributor.advisorนพมาศ พัดทองen_US
dc.contributor.authorจิตตินันท์ ส่องแสงจันทร์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:05:35Z-
dc.date.available2017-03-03T03:05:35Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52331-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย และศึกษาความสามารถของปัจจัยในการทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลในครอบครัวที่พาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมาตรวจที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอกอายุรกรรมเฉพาะโรคมะเร็ง จำนวน 121 คน จากโรงพยาบาลตติยภูมิในเขตกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็ง แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความเข้มแข็งในการมองโลก และแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบประเมินโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ 0.87, 0.98, 0.92, 0.76 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 85.96 (SD = 20.71) 2. ความเหนื่อยล้า และภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -0.64 และ -0.73) ความเข้มแข็งในการมองโลก และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.61 และ 0.34) ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย (r = 0.11, p > .05) 3. ปัจจัยที่ทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า (Beta = -0.43) ความเข้มแข็งในการมองโลก (Beta = 0.26) และความเหนื่อยล้า (Beta = -0.22) โดยสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 62 (R2 = 0.62)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this predictive research were to describe quality of life in family caregivers of terminal cancer patients and examine the factors predicting quality of life of family caregivers of terminal cancer patients. The sample is 121 family caregivers of terminal cancer patients from the outpatient department of 3 tertiary hospitals in Bangkok. The research instruments comprised of demographic data form, quality of life of family caregiver of cancer patient scale, fatigue scale, depression scale, sense of coherence scale and social support scale. The reliability of research instruments were 0.87, 0.98, 0.92, 0.76 and 0.91 respectively with Cronbach’s alpha coefficient. Data were analyzed using frequency, percentage, minimum, maximum, mean, standard deviation, Pearson correlation coefficient and Stepwise multiple regression. The results show the following; 1. Quality of life in family caregivers of terminal cancer patients was rated at the middle level (Mean = 85.96 SD = 20.71). 2. Fatigue and depression were negative related to quality of life in family caregivers of terminal cancer patients at a statistical significant level of .05 (r = -0.64 and -0.73). Sense of coherence and social support were positive related to quality of life in family caregivers of terminal cancer patients at a statistical significant level of .05 (r = 0.61 and 0.34). Duration of caring was not significant related to quality of life in family caregivers of terminal cancer patients (r = 0.11, p > .05). 3. The factors predicted quality of life in family caregivers of terminal cancer patients at a statistical significant level of .05 were depression (Beta = -0.43), sense of coherence (Beta = 0.26) and fatigue (Beta = -0.22). Predictive factors accounted for 62 percent of quality of life in family caregivers of terminal cancer patients (R2 = 0.62).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.612-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิต-
dc.subjectผู้ดูแล-
dc.subjectมะเร็ง -- ผู้ป่วย-
dc.subjectQuality of life-
dc.subjectCaregivers-
dc.subjectCancer -- Patients-
dc.titleปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายen_US
dc.title.alternativeFactors predicting quality of life in family caregivers of terminal cancer patientsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSureeporn.T@Chula.ac.th,s_thanasilp@hotmail.com,s_thanasilp@hotmail.comen_US
dc.email.advisorNoppamat.P@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.612-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777158336.pdf5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.