Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52336
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราพร เกศพิชญวัฒนาen_US
dc.contributor.authorนันท์พัสพร สุขสานต์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:05:43Z-
dc.date.available2017-03-03T03:05:43Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52336-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ใช้แบบแผนการวิจัยแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภค และขนาดรอบเอวของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วน โดยใช้ทฤษฎีการกำกับตนเอง (Cameron & Leventhal, 2003) กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วน ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก./ม2 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดชลบุรี จำนวน 44 คน คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มควบคุม 22 คน และกลุ่มทดลอง 22 จับคู่ในด้าน เพศ อายุ และค่าดัชนีมวลกาย ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเอง ใช้ระยะเวลา 9 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมได้รับการบริการตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่โปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วน ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .92 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที สรุปผลการวิจัย ดัง 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วน หลังการได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเอง และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยของขนาดรอบเอวของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วน หลังการได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเอง และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this experimental research with the pretest-posttest control group design was to study the effects of promotion self-regulation program on eating behaviors and waist circumference in the older patients with obese Diabetes. The promotion self-regulation Theory (Cameron & Leventhal, 2003) was applied to the development of the intervention. The sample consisted of 44 the older patients with obese Diabetes aged 60 years who diagnosed with type 2 diabetes mellitus, and had BMI of 25 kg/m2.. The patients sought treatment at Queen Sirikit Hospital, Chonburi and were purposively sampled. The first 22 subjects were assigned to the control group and the remaining 22 subjects were assigned to the experimental group. The participants were paired-match by gender, age and Body Mass Index. The experimental group received the promotion self-regulation program and the control group received routine care only. The instruments employed in the study included the “Promotion self-regulation on Eating Behaviors and Program”. Data were collected by using the “Eating Behaviors in the Older Patients with Obese Diabetes” Questionnaire which had been tested for content validity by a panel of five qualified experts. Content validity was .92 and an acceptable reliability obtained at .85. Data were analyzed using descriptive and t-test statistics. The research findings can be summarized as follows: 1. After receiving the promotion self-regulation program, the mean eating Behaviors score of the older patients with obese Diabetes in the experiment group was significantly higher than pretest score before receiving the program. Furthermore, the mean score for the experimental group was higher than that of the control group that received routine care only with statistical significance at .05. 2. After receiving the promotion self-regulation program, the mean waist circumference of the older patients with obese Diabetes in the experiment group was significantly less than the score before receiving the program. Furthermore, the waist circumference of the experimental group was less than that the control group that received routine service only with statistical significance at .05.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.572-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพ-
dc.subjectเบาหวาน -- ผู้ป่วย-
dc.subjectบุคคลน้ำหนักเกิน-
dc.subjectHealth behavior-
dc.subjectDiabetics-
dc.subjectOverweight persons-
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภค และขนาดรอบเอวของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วนen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF PROMOTION SELF-REGULATION PROGRAM ON EATING BEHAVIORS AND WAIST CIRCUMFERENCE IN OLDER PATIENT WITH OBESE DIABETESen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorJiraporn.Ke@Chula.ac.th,wattanaj@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.572-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777172036.pdf9.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.