Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52343
Title: ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2
Other Titles: The effect of an individual and family self-management programon hba1c in older persons with type 2 diabetes mellitus
Authors: แสงอรุณ สุรวงค์
Advisors: ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Tassana.C@Chula.ac.th,tassana.c@chula.ac.th
Subjects: ฮีโมโกลบิน
เบาหวาน -- ผู้ป่วย
ผู้สูงอายุ
Hemoglobin
Diabetics
Older people
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับ HbA1c > 7.5% ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน-ธัยรอยด์ และระบบฮอร์โมน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 44 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยจัดให้ทั้ง 2 กลุ่มมีคุณสมบัติเหมือนหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด ในเรื่อง เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่เป็นโรค ระดับ HbA1c ของผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวตามแนวคิดของ Ryan and Sawin (2009) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และเครื่องตรวจระดับฮีโมโกลบินเอวันซี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวมีค่าต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=10.66, p <.05) 2. ค่าเฉลี่ยระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวมีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=-5.67, p<.05)
Other Abstract: The present study was based on a quasi-experimental research design aimed test studying the effect of an individual and family self-management program on HbA1cin older persons with type 2 diabetes mellitus. Purposive sampling was need to recruit 44 persons aged 60 years and above, diagnosed type 2 diabetes mellitus and HbA1c. The subjects were treated at the Diabetes-Thyroid and Hormone Clinic, Out-Patient Department, King Chulalongkorn Memorial Hospital. They were divided into experimental and control groups with 22 members in each group. The experimental group received the individual and family self-management program while the control group received conventional care for a period of 8 weeks. Both groups were matched with similar characteristics of gender, age, level of education, time with the disease and HbA1clevels. The instrumentations were the individual and family self-management program based on Ryan and Sawin’s concept (2009). The data collection was conducted by demographic questionnaire and HbA1c. Data were analyzed using mean, percentage, standard deviation and t-test statistics. The results were as follows: 1. The mean score of HbA1c an older persons with type 2 diabetes mellitus after receiving the individual and family self-management program was significant lower than before at .05 (t=10.66, p <.05) 2. The mean score of HbA1c an older persons with type 2 diabetes mellitus from the group that received the individual and family self-management program was significant lower than the group receiving conventional at .05 (t=-5.67, p<.05)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52343
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.604
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.604
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777207436.pdf9.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.