Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52344
Title: | ผลของโปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกระยะแรกด้วยรูปแบบต่างกันต่อการฟื้นสภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะระดับรุนแรง |
Other Titles: | The effect of early multimodal sensory stimulation program with different formats on recovery in severe traumatic brain injury patients |
Authors: | อุราภรณ์ เชยกาญจน์ |
Advisors: | ชนกพร จิตปัญญา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chanokporn.J@Chula.ac.th,jchanokp@hotmail.com |
Subjects: | ศีรษะบาดเจ็บ การกระตุ้นประสาทสัมผัส ผู้ป่วย -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ Head -- Wounds and injuries Sensory stimulation Patients -- Rehabilitation |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย เพื่อเปรียบเทียบการฟื้นสภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะระดับรุนแรง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกระยะแรกตามแนวคิดของ Mandeep et al. (2013) กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกตามแนวคิดของ Sosnowski and Ustik (1994) และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1 และหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จำนวน 45 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกระยะแรกตามแนวคิดของ Mandeep et al. (2013) กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกตามแนวคิดของ Sosnowski and Ustik (1994) ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ สุ่มผู้ช่วยวิจัยจำนวน 3 คน เพื่อประเมินการฟื้นสภาพของผู้ป่วยในวันที่ 1 ก่อนการทดลอง และวันที่ 1-14 หลังการทดลอง ตามแบบประเมิน Coma Recovery Scale-Revised ของ Giacino et al. (2004) ซึ่งหาค่าความเที่ยงของการสังเกตได้เท่ากับ .91-.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การฟื้นสภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะระดับรุนแรง ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกระยะแรกตามแนวคิดของ Mandeep et al. (2013) กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกตามแนวคิดของ Sosnowski and Ustik (1994) และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทั้ง 3 กลุ่มมีการฟื้นสภาพเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา 2. การฟื้นสภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะระดับรุนแรง ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกระยะแรกตามแนวคิดของ Mandeep et al. (2013) ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกตามแนวคิดของ Sosnowski and Ustik (1994) และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกตามแนวคิดของ Sosnowski and Ustik (1994) มีการฟื้นสภาพดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะระดับรุนแรงกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกระยะแรกตามแนวคิดของ Mandeep et al. (2013) ฟื้นสภาพเร็วที่สุด มีระยะเวลาไม่รู้สึกตัว ระยะเวลาการใส่เครื่องช่วยหายใจ และระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจสั้นที่สุด โดยพบว่าผู้ป่วยเริ่มฟื้นสภาพตั้งแต่วันที่ 4 หลังการทดลอง มีระยะเวลาที่ไม่รู้สึกตัว 9.73 วัน ระยะเวลาการใส่เครื่องช่วยหายใจ 10.87 วัน และระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจ 12.33 วัน |
Other Abstract: | The purpose of this double-blinded randomized controlled trial was to compare the effect of early multimodal sensory stimulation program with different formats on recovery in severe traumatic brain injury patients. The samples were 45 TBI patients admitted to surgical wards in Maharaj Nakhonsithammarat Hospital. The subjects were randomly assigned into one control group, and two experimental groups. Each group consisted of 15 patients. The experiment group 1 received Mandeep et al.(2013)' s early sensory stimulation program, and experiment group 2 received sensory stimulation program based on Sosnowski and Ustik (1994)’s theory while the control group received conventional care. Three research assistants were blinded to assess recovery on base line, and 1st -14th days after intervention using Giacino et al. (2004)’s Coma Recovery Scale-Revised. Interrater reliability were .91-.95. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, Chi-square and repeated measure ANOVA. The major findings were as follows: 1. Recovery of severe traumatic brain injury patients after receiving the early multimodal sensory stimulation program with different formats in both experimental groups and control group were significantly different (p<.05). Also, recovery increased at all time periods. 2. Recovery of severe traumatic brain injury patients after receiving the early multimodal sensory stimulation program in experimental group 1 were significantly higher than experimental group 2, and control group (p<.05). Also, the experimental group 2 was significantly higher than the control group (p<.05). 3. The experimental group 1 receiving Mandeep et al. (2013)’s early sensory stimulation program was earliest recovered; having shortest duration of coma (9.73 days); shortest duration of mechanical ventilation (10.87 days), and duration of intubation (12.33 days). The finding showed that patients started recovery on 4th days after intervention. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52344 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.610 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.610 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5777210236.pdf | 9.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.