Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52347
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารีย์วรรณ อ่วมตานีen_US
dc.contributor.authorพลาธิป สารข้าวคำen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:06:01Z-
dc.date.available2017-03-03T03:06:01Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52347-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อบรรยายประสบการณ์การเป็นนักการเมืองของพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความตามแนวคิดของ Heidegger ผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 7 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การบันทึกภาคสนาม การรวบรวมเอกสารต่างๆ นิตยสาร เว็บไซต์ และ YouTube นำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลและวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen (1990) ผลการศึกษาประสบการณ์การเป็นนักการเมืองของพยาบาลวิชาชีพมีดังต่อไปนี้ 1. การเข้ามาเป็นนักการเมืองของแต่ละคนมีเหตุผลที่ต่างกัน ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) ครอบครัวผลักดันให้มาร่วมกันทำงาน 1.2) มีอุดมการณ์ทำงานเพื่อความถูกต้อง 1.3) เป็นความชอบของตนจึงเริ่มต้นเข้ามาทำงาน และ 1.4) ได้รับการเชิญชวนให้มีส่วนร่วมงานทางการเมือง 2. สมัครเป็นผู้แทนนั้นต้องใช้ฐานเสียงจากหลายฝ่าย ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) ฐานเสียงจากชุมชนที่ตนให้การพยาบาลและ 2.2) ฐานเสียงจากหลายส่วนงานให้ความช่วยเหลือ 3. หลากหลายวิธีการเรียนรู้งานทางการเมือง ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 3.1) พัฒนาตนเองให้มีความรู้ด้านกฎหมาย การเมืองและการปกครอง และ 3.2) พรรคเป็นแหล่งที่สองสนับสนุนการเรียนรู้และข้อมูลข่าวสาร 4. เบื้องหลังการทำหน้าที่ วิชาชีพมีส่วนช่วยเป็นพื้นฐาน ประกอบด้วย 7 ประเด็นย่อย ได้แก่ 4.1) ใช้จรรยาบรรณพยาบาลทำงานในหน้าที่ 4.2) แนวคิดการพยาบาลที่มี ใช้ได้ดีกับชุมชน 4.3) ให้ความสนใจการป้องกันแทนการรักษา 4.4) ร่วมเป็นกรรมาธิการด้านที่ตนให้ความสนใจ 4.5) ร่างพระราชบัญญัติให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย 4.6) ตั้งกระทู้สด-แห้งถามความสงสัย 4.7) อภิปรายไม่ไว้วางใจหากผลงานไม่บรรลุผล 5. ปัญหาของพยาบาลร่วมด้วยช่วยผลักดัน ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 5.1) พระราชบัญญัติวิชาชีพถูกตราเป็นกฎหมาย 5.2) นโยบายอัตรากำลังคนร่วมด้วยช่วยประสาน 5.3) ติดขัดการงานร้องเรียนมาหาทางช่วยเหลือ 6. แม้การเมืองจะหยุดชะงัก สมาชิกพรรคต้องรู้จักรักษาฐานเสียง ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 6.1) เยี่ยมชาวบ้านจัดการกับปัญหา 6.2) เป็นที่ปรึกษาให้หน่วยงานด้านต่างๆ 6.3) สร้างอาชีพสำหรับตนและช่วยชุมชนมีงานทำen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to explore experiences of being a nurse-politician. The Heidegger’s hermeneutic phenomenology was applied for this study. Seven nurse-politicians, who were used to be members of the House of Representatives in Thailand at least one term in their political positions, willingly participated in this study. In-depth interviews with tape-recordings, observation, field notes and artifacts were used for data collection. Study data were analyzed by using a content analysis of van Manen’s method (1990). The study findings fell into six major themes as follows: 1. Having several reasons to be a politician. Nurses enter to a political party for different reasons including 1.1) born into a politician’s family, 1.2) intended to stop corruption, 1.3) personal preferences in politics and 1.4) inviting from an idolized politician. 2. Having several sources of bastions from both of 2.1) an individual bastion and 2.2) multi-sources’ bastion. 3. Ways to learn the politics. Nurses have learned the politics by 3.1) self-learning and 3.2) political parties’ support. 4. Applying nursing science to politics by 4.1) being an honest politician, 4.2) applying holistic healthcare to help people, 4.3) supporting health promotion rather than curative, 4.4) being a committee on health, 4.5) participating the making of Acts, 4.6) interrogating participation and 4.7) censuring a debate. 5. Supporting nursing profession. They support nursing profession by 5.1) promoting the Professional Nursing Act, 5.2) fighting for adequate nurse staffing, and 5.3) assisting nurses who get into trouble from unfair management systems. 6. Taking a break in politics. When they take a break in politics they often 6.1) visiting the community, 6.2) being a consultant and 6.3) running their own business.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.601-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพยาบาล -- กิจกรรมทางการเมือง-
dc.subjectนักการเมือง-
dc.subjectNurses -- Political activity-
dc.subjectPoliticians-
dc.titleประสบการณ์การเป็นนักการเมืองของพยาบาลวิชาชีพen_US
dc.title.alternativeEXPERIENCES OF BEING A POLITICIAN OF PROFESSIONAL NURSESen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAreewan.O@Chula.ac.th,areeday@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.601-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777353336.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.