Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52351
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันชัย บุญรอดen_US
dc.contributor.authorพชร ชลวณิชen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:06:03Z-
dc.date.available2017-03-03T03:06:03Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52351-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกความแข็งแรงของแกนกลางลำตัวที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว และการทรงตัวในนักกีฬาเทนนิส วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักกีฬาเทนนิสชาย อายุ 15-19 ปี จำนวน 21 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 11 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน ทั้งสองกลุ่มทำการฝึกทักษะเทนนิสที่มีรูปแบบโปรแกรมการฝึกที่เหมือนกัน และฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาที่ความหนัก 80 เปอร์เซ็นต์ของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่สามารถออกแรงได้สูงสุดเพียงครั้งเดียว (1RM) โดยฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เฉพาะกลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียวที่มีการฝึกเสริมความแข็งของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่ความหนัก 50 เปอร์เซ็นต์ของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่สามารถออกแรงได้สูงสุดเพียงครั้งเดียว (1RM) โดยฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ระยะเวลาการฝึกทั้งหมด 6 สัปดาห์ ทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยาก่อนการฝึก และภายหลังสัปดาห์ที่ 6 นำผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการวิจัย ภายหลังสัปดาห์ที่ 6 พบว่า ค่าเฉลี่ยความคล่องแคล่วว่องไวของกลุ่มทดลองมีความคล่องแคล่วว่องไวเพิ่มขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยเวลาน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และค่าเฉลี่ยดัชนีการทรงตัว (Sway Index) ที่ได้จากการทดสอบการทรงตัวด้วยโปรแกรมซีทีเอสไอบี (CTSIB) โดยเครื่องทดสอบการทรงตัว Bio Sway พบว่ากลุ่มทดลองมีความสามารถในการทรงตัวที่ดีขึ้นในท่ายืนบนพื้นนิ่ม ลืมตา ซึ่งมีค่าเฉลี่ยดัชนีการทรงตัว (Sway Index) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย การฝึกเสริมความแข็งแรงของแกนกลางลำตัว ร่วมกับการฝึกความแข็งแรงของขาสามารถพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไวได้ แต่ยังไม่สามารถพัฒนาความสามารถในการทรงตัวของนักกีฬาได้en_US
dc.description.abstractalternativePurpose : The purpose of this experiment was to investigate the effects of core strength training on agility and balance in tennis player. Methods : The study consisted of 21 male tennis players aged between 15 – 19 years. They were random assignment into 2 groups with 11 subjects in experimental group and 10 subjects in control group. In addition to the regular training program, both group worked with combined tennis training program and lower body strength training with a load 80% of 1RM. Only experimental group did core strength training with a load 50% of 1RM. Both groups trained lower body strength training two days a week and only the experimental group worked core strength training three days a week for a period of six weeks. The collected data were one-repetition maximum of muscle, agility and balance. Then, the obtained data from pre and post training were compared and analyzed by mean, standard deviation, dependent t-test, independent t-test and one-way ANCOVA. Results : After 6 weeks of the experiment, the agility of the experimental group were improved significantly better than before training at the 0.05 level and Sway Index tested by CTSIB program from Bio Sway was found that the balance of the experimental group were significantly better than the control group in eyes open- unstable surface at the 0.05 level. Conclusion : Core strength training supplementation and lower body strength training can develop agility but did not develop balance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.807-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเทนนิส -- การฝึก-
dc.subjectนักกีฬา-
dc.subjectTennis -- Training-
dc.subjectAthletes-
dc.titleผลของการฝึกเสริมความแข็งแรงของแกนกลางลำตัวที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว และการทรงตัวในนักกีฬาเทนนิสen_US
dc.title.alternativeEffects of core strength training supplementation on agility and balance in tennis playersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWanchai.B@Chula.ac.th,Wanchai.B@chula.ac.th,Wanchai.B@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.807-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5778321439.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.