Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52352
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ | en_US |
dc.contributor.author | ณิชารีย์ อังกาบ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-03-03T03:06:05Z | - |
dc.date.available | 2017-03-03T03:06:05Z | - |
dc.date.issued | 2559 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52352 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกการออกกำลังกายเพื่อการทรงตัวที่มีต่อความสามารถในการกระโดดและการทรงตัวในนักกีฬาวอลเลย์บอลเยาวชนหญิง กลุ่มตัวอย่างคือ นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงโรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร อายุ 16-18 ปี จำนวน 18 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 9 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย ทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ ระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองทำการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกการออกกำลังกายเพื่อการทรงตัว ก่อนการฝึกซ้อมตามปกติ ส่วนในกลุ่มควบคุมทำการฝึกซ้อมตามปกติ ทำการทดสอบความสามารถในการกระโดด ในทั้ง 3 ท่าของการกระโดด คือ กระโดดตบ กระโดดสกัดกั้น และวิ่งสามก้าวกระโดดตบ และทดสอบการทรงตัวในขณะอยู่นิ่งในลักษณะของความสามารถในการทรงท่า ก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ โดยใช้สถิติ Pair t-test และสถิติ The Wilcoxon matched pairs signed-ranks test และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติ Independent t-test และสถิติ The Kolmogorov-smirnov two-sample Test ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีความสามารถในการกระโดด ทั้ง 3 ท่า มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และพบว่าการทรงตัวขณะอยู่นิ่งทั้งในขณะลืมตาและหลับตามีค่าที่ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีความสามารถในการกระโดดทั้ง 3 ท่ามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าการทรงตัวขณะอยู่นิ่งทั้งในขณะลืมตาและหลับตาของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to examine the effects of balance exercise training on jump performance and balance in young female volleyball players. Eighteen volleyball players from the Bangkok Sport School were purposively sampled to participate in the research. The subjects were assigned into two groups of 9 players. So the subject divide to experimental group for 9 players (N=9) and 9 players (N=9) for control group. The experimental group had a supplementary balance exercise training before their regular training in the each day. While the control group had only the regular training. Both groups trained 3 day per week for a period of six weeks. The data of jump performance; Spike height, Block height and 3-Step Spike height and balance in characterize of postural stability test were collected before experiment and six week after training. The obtained data were analyzed in term of means, standard deviation. Pair sample T-test and the Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test was used to check the difference between before and after training. Independent t-test and the Kolmogorov-Smirnov Two-Sample Test was used to check the difference between the two groups. The result indicated that: After six weeks of experiment, jump performance (3 position) in the experimental group were significantly better than those before experiment at 0.05 level. However there was no statistical difference on balance of the postural stability test both open and close eyes between before and after of experiment. After six weeks of experiment, jump performance (3 position) in the experimental group were significantly better than the control group at 0.05 level. However there was no statistical difference on balance of the postural stability test both open and close eyes between the two groups. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.806 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การทรงตัว | - |
dc.subject | การออกกำลังกาย | - |
dc.subject | สมรรถภาพทางกาย | - |
dc.subject | Equilibrium (Physiology) | - |
dc.subject | Exercise | - |
dc.subject | Physical fitness | - |
dc.title | ผลของการฝึกการออกกำลังกายเพื่อการทรงตัว ที่มีต่อความสามารถในการกระโดดและการทรงตัวในนักกีฬาวอลเลย์บอลเยาวชนหญิง | en_US |
dc.title.alternative | EFFECTS OF BALANCE EXERCISE TRAINING ON JUMP PERFORMANCE AND BALANCE IN YOUNG FEMALE VOLLEYBALL PLAYERS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Chaninchai.I@Chula.ac.th,Chaninchai.I@Chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.806 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5778406139.pdf | 4.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.