Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52384
Title: | การปรับตัวของนิทานก้อมบนยูทูบ |
Other Titles: | ADAPTATION OF NITHAN GOM SHORT FABLE ON YOUTUBE |
Authors: | วีรภัทร บุญมา |
Advisors: | เจษฎา ศาลาทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jessada.Sa@Chula.ac.th,jess.salathong@gmail.com |
Subjects: | นิทานพื้นเมือง -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) วีดิทัศน์บนอินเทอร์เน็ต Internet videos YouTube (Electronic resource) Folk literature -- Thailand, Northeastern |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของนิทานก้อมบนยูทูบและกระบวนการสร้างสรรค์นิทานก้อมบนสื่อดิจิทัลว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อมีการเปลี่ยนช่องทางตั้งแต่ช่องทางดั้งเดิมคือมุขปาฐะ วีซีดีและช่องทางสื่อใหม่คือยูทูบ ทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงเลือกตัวอย่างนิทานก้อมที่มียอดวิวสูงสุด 30 ตัวอย่างจากศิลปินผู้สร้างสรรค์นิทานก้อม 3 ท่าน ได้แก่ สี คันโซ่ ในรูปแบบที่ใช้เสียงพากย์เพียงอย่างเดียว จานโจ่ย ลมพัดไผ่ ในรูปแบบใช้ทั้งเสียงพากย์และเสียงนักแสดงและ เทคเกอร์ ออดิโอ ในรูปแบบที่ใช้เสียงนักแสดงเพียงอย่างเดียว และการสัมภาษณ์เชิงลึกศิลปินผู้สร้างสรรค์นิทานก้อมทั้ง 3 ท่าน จากตัวอย่าง 30 เรื่องพบว่าในด้านรูปแบบการนำเสนอนิทานก้อม ศิลปิน 3 ท่านมีรูปแบบที่แตกต่างกันมากที่สุดในด้านการใช้เสียง ในด้านภาพมีความสอดคล้องกันคือใช้ฉากบ้านไม้ยกใต้ถุนมากที่สุด แต่ละรูปแบบยังนิยมเล่าเรื่องโดยมีโครงเรื่องแบบเก่ามากกว่าที่จะเป็นโครงเรื่องแบบใหม่และตัวละครเกือบทั้งหมดเป็นตัวละครที่เป็นคนอีสานคือพูดภาษาอีสานและมีพื้นเพคืออาชีพเกษตรกร เนื้อหาของนิทานก้อมที่ปรากฏมากที่สุดคือเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ รองลงมาคือเรื่องความโง่และความฉลาด โดยมีทั้งขนาดตอนเดียวและหลายตอน ในการปรับตัวของผู้ส่งสาร ศิลปินทั้ง 3 ท่านมีการปรับตัวเนื่องจากการเข้ามาของช่องทางการสื่อสารใหม่มากน้อยต่างกัน สี คันโซ่ มีการปรับตัวโดยการใช้ยูทูบเป็นช่องทางในการเผยแพร่คลิปเบื้องหลังการถ่ายทำ ศิลปินมีทัศนคติต่อช่องทางใหม่ในแง่ดีว่าสามารถช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายแผ่นวีซีดีได้ ศิลปินไม่ได้ใช้ช่องทางใหม่ในการเผยแพร่ผลงานโดยตรงเนื่องจากได้ขายผลงานให้บริษัทที่รับซื้อลิขสิทธิ์ ส่วนจานโจ่ย ลมพัดไผ่ ใช้ช่องทางยูทูบในการเผยแพร่ผลงานที่ได้ขายลิขสิทธิ์ในการผลิตเป็นวีซีดีเพื่อจำหน่ายและมีการใช้ช่องทางการสื่อสารบนยูทูบคือช่องแสดงความคิดเห็นในการตอบโต้กับผู้ชม ศิลปินเห็นว่าช่องทางใหม่มีข้อดีคือช่วยลดต้นทุนในการผลิตและจัดจำหน่าย และข้ามข้อจำกัดด้านพื้นที่ เทคเกอร์ ออดิโอ มีการปรับตัวมากที่สุดคือได้เลิกผลิตแผ่นวีซีดีและใช้ช่องทางยูทูบเพียงช่องทางเดียว ศิลปินมีการสื่อสารกับผู้ชมผ่านช่องแสดงความคิดเห็นและมีความเห็นว่าช่องทางใหม่มีข้อเสียคือมีผลกระทบต่อรายได้ และการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของช่องทางการสื่อสารในปัจจุบันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว |
Other Abstract: | This research aims to study the adaptation of Nithan Gom Short Fables on YouTube and the changes in their creative process on digital media since the time of oral literature, VCD and a new media, YouTube, regarding both format and content using qualitative study approach. Divided into two sections, content analysis and in-depth interviews. Content analysis part uses 30 most-watched Nithan Gom Short Fables on YouTube from 3 artists: 1) Si Kanso, using only single voice dubbing format, 2) Chanchoi Lompadpai, using both narrative dubbing and actors' dubbing technique, and 3) Taker Audio, using actors' dubbing only, and the latter is conducted with the three aforementioned Nithan Gom Short Fables creators. From 30 samples, from presentation aspect, all three artists are different on sound usage despite their similarity on setting where they usually employed wooden house with lifting basement. Each artist’s works prefer a conventional plot over a contemporary plot, and all characters are of North Eastern region (E-San), speaking their local language (E-San) with agrarian background. The most popular content appeared on Nithan Gom Short Fables are sexuality and foolishness and cleverness, respectively. Si Kanso uses YouTube as a channel to distribute behind-the-scene clips while adopting positive attitude that such new media enhances the distribution of VCD. Chanchoi Lompadpai uses YouTube channel to broadcast works that have VCD copy rights and to interact with audience. He perceives that a new media reduces both production and distribution costs and overcomes the physical space. Taker Audio, by far, has adapted the most as he ceased VCD production completely and uses YouTube as a sole distribution channel. While the artist takes this opportunity to communicate with audience through comment boxes, the decrease on income is inevitable. He also thinks that technological change in current media takes place rather rapidly. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52384 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.425 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.425 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5784682928.pdf | 4.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.