Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52405
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนิต ภู่จินดาen_US
dc.contributor.authorเธียรวนันต์ จอมสืบen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:07:31Z-
dc.date.available2017-03-03T03:07:31Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52405-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractกรุงเทพมหานครมีการสัญจรทางน้ำเป็นรูปแบบการเดินทางที่สำคัญ อันเนื่องมาจากการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติทำให้มีการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารผ่านมายังแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางหลัก เกิดเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญคือท่าเรือเพื่อรองรับการขนส่งดังกล่าว ท่าเรือในอดีต จึงหมายถึง ที่จอดเรือและสถานที่สำหรับให้บริการแก่เรือในการจอดเทียบบรรทุกหรือขนถ่ายของ ต่อมากรุงเทพมหานครได้พัฒนามากขึ้น เกิดรูปแบบการคมนาคมขนส่งที่หลากหลาย แม่น้ำเจ้าพระยาจึงได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นเส้นทางสัญจรของผู้โดยสารที่ต้องการเข้ามายังพื้นที่เมืองและท่าเรือโดยสารให้บริการตลอดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันการเดินเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ เรือด่วนพิเศษธงเขียว เรือด่วนพิเศษธงเหลือง เรือด่วนพิเศษธงส้ม เรือประจำทาง และเรือท่องเที่ยวเจ้าพระยา โดยวิ่งผ่านท่าเรือทั้งสิ้น 39 ท่า ซึ่งจากข้อมูลเส้นทางเดินเรือที่ปรากฏจะแสดงให้เห็นถึงท่าเรือที่สำคัญ มีความถี่ในการให้บริการสูง จึงสามารถนำมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทท่าเรือโดยสารเพื่อศึกษาต่อไป ทั้งนี้ การสัญจรทางน้ำนับว่ามีบทบาทสำคัญกับการพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเมือง เนื่องจากทุกท่าเรือทำหน้าที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายทำให้เกิดกิจกรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องการศึกษาในปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาและระบุความสำคัญของท่าเรือโดยสารอันเกิดจากความสามารถในการขนส่งกับลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน พร้อมทั้งวิเคราะห์รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณท่าเรือโดยสารที่แตกต่างกันตามความสำคัญของท่าเรือและอธิบายความสัมพันธ์ของท่าเรือโดยสารกับการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบ ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินมีความคล้ายคลึงกันในแต่ละกลุ่มความสำคัญของท่าเรือ เนื่องจากตั้งอยู่บนข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่คล้ายคลึงกัน ส่งผลให้รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละท่าเรือไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้ จากการศึกษาพฤติกรรมการเดินทาง แสดงให้เห็นถึง ผู้ใช้งานท่าเรือไม่ได้เข้ามาใช้งานท่าเรือในช่วงเวลาเร่งด่วน เนื่องจากมีระยะรอรับการให้บริการที่มีระยะเวลานาน ไม่ถึงที่หมายได้โดยทันที่ ต้องต่อรูปแบบโดยสารอื่นๆออกไปอีกหลายต่อ ท่าเรือจึงมีบทบาทเป็นเพียงพื้นที่การเปลี่ยนถ่ายท่าเรือในปัจจุบัน และไม่เกิดการทำกิจกรรมในพื้นที่เท่าใดนัก จึงสามารถสะท้อนได้ว่า ความสำคัญของท่าเรือโดยสารไม่ได้สัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนั้นในการวางแผนการพัฒนาพื้นที่รอบท่าเรือ อาจจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยเฉพาะของแต่ละพื้นที่เพื่อให้สามารถเกิดการพัฒนาที่เหมาะสมต่อไปได้ในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeWaterborne transport once were the heart of transportation mode that provided mobility and flexibility for Thais. Cities faced water for commerce, opportunities, and leisure purpose until the arrival of motorway development. Many canals were covered and turned into street, cities also turned to inland development, resulted in the decline of water role. However, there are four waterways that have been operated and literally making a comeback due to the well-known traffic jam on land-based transport. The four waterways connect from the north to the south and from the east to the west of Bangkok by running through residential areas, old town and historical areas, Central Business District (CBD) and modern development areas. Although waterborne transport had been neglected and planned independently from other transportation modes until recently. It offers fixed and reliable traveling time without congestion. These benefits can be integrated into urban planning policies and transport system to increase urban mobility, especially on Chao Phraya River since it transports around 13 million passengers per year. Waterborne Transport on Chao Phraya River works outstandingly from other waterborne systems around the globe. Chao Phraya River accommodates 39 piers with 5 service routes. The study found that each pier has land use pattern within the same group. the location of the pier are located on the same land use requirement, so make patterns of land use are not very different. Moreover the study also found that passenger not come to use piers in rush hour reflects that the water transportation is not a form that people use in times of emergency. Because of the long waiting time for service and cannot arrive at the places immediately so people doesn't have activities surrounding the port. It can reflect that the importance of the piers was not related to land use.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.214-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.subjectLand use -- Thailand -- Bangkok-
dc.titleรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณท่าเรือโดยสารริมแม่น้ำเจ้าพระยาen_US
dc.title.alternativeLAND USE PATTERN OF BOATYARD AREAS ALONG CHAO PHRAYA RIVER.en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPanit.P@Chula.ac.th,pujinda@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.214-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873312025.pdf12.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.