Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52406
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนิต ภู่จินดาen_US
dc.contributor.authorนรุตม์ พูลรสen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:07:32Z-
dc.date.available2017-03-03T03:07:32Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52406-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้ศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและการเดินทางเข้าถึงสถานีของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดรอบสถานีบีทีเอส มีคำถามการวิจัย คือ ประชากรที่อาศัยในอาคารชุดราคาสูงมีรูปแบบการเข้าถึงสถานีรถฟ้าต่างกับผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารชุดราคาทั่วไปหรือไม่อย่างไร โดยมีสมมติฐานหลักว่า ประชากรที่อาศัยในอาคารชุดราคาสูงมีรูปแบบการเข้าถึงสถานีรถฟ้าที่แตกต่างกับผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารชุดราคาทั่วไปทั้งระยะทางและรูปแบบการเข้าถึง และสมมติฐานรอง คือ ระยะทางมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งที่ตั้งของรูปแบบและราคาของอาคารชุด โดยกลุ่มประชากรเป้าหมาย คือประชากรที่อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมรอบสถานี มีขอบเขตการวิจัยคือศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานี และพฤติกรรมการเดินทางของประชากรในคอนโดมิเนียม เครื่องมือการทำวิจัย คือ ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานี และการสำรวจพฤติกรรมโดยใช้เวลาเร่งรีบช่วงเช้า (7.00 – 8.59 น.)เป็นตัวชี้วัดอันเนื่องมาจากเป็นเวลาที่กลุ่มประชากรเป้าหมายเดินทางเพื่อนเข้าสู่แห่ลงงาน ผลการศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินตามฐานนิยมของพื้นที่เพื่อระบุการใช้งานและนำไปเลือกพื้นที่การสำรวจที่เป็นย่านพักอาศัยโดยรอบสถานีเพื่อไปสำรวจพฤติกรรมการเดินทางจึงนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทางสถิติในรูปแบบที่ตั้งและการเดินทางของอาคารชุดราคาสูงและราคาทั่วไป พบว่า รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีจากสถานีที่เกิดขึ้นช่วงแรก 23 สถานี สามารถจำแนกการใช้งานได้ 6 ประเภท คือ 1) รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีแบบพื้นที่พักอาศัย 8 สถานี 2) รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีแบบพื้นที่พาณิชยกรรม 2 สถานี 3) รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีแบบพื้นที่ราชการหรืออำนวยความสะดวก 1 สถานี 4) รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีที่แบบพักอาศัยกึ่งพาณิชยกรรม 6 สถานี 5) รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีแบบพื้นที่ราชการกึ่งพาณิชยกรรม 5 สถานี 6)รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีแบบพักอาศัยผสมกับพื้นที่ราชการ 1 สถานี และรูปแบบที่ตั้งของอาคารชุดกับราคามีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามทำให้ทราบว่ารูปแบบอาคารชุดราคาทั่วไปจะมีที่ตั้งที่มีระยะทางมากกว่าอาคารชุดราคาสูง และรูปแบบการเดินทางที่เกิดขึ้นอาคารชุดราคาสูงมีสัดส่วนในการเดินเท้าเข้าสู่สถานีที่มากกว่าอาคารชุดราคาทั่วไป และในอาคารชุดราคาทั่วไปจะมีการเลือกเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวและรถแท็กซี่ใครสัดส่วนที่มากกว่าอาคารชุดที่อยู่ใกล้บีทีเอส งานวิจัยมีการเสนอแนะมาตรการการพัฒนาพื้นที่จอดแล้วจร (Park and ride) หรือการส่งเสริมโครงสร้างสาธารณะเบาเข้าสู่ตัวสถานี และการพัฒนาศูนย์ชุมชนรองเพื่อเป็นปลายทางเชื่อมต่อขนส่งดังกล่าว เพื่อลดการเดินทางรถยนต์หรือบริการรับจ้างภายในพื้นที่รอบสถานี และทำให้เกิดการใช้งานพื้นที่โดยรอสถานีรถไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeThis research study on land use pattern and accessibility for the residents of condominiums which located around BTS stations. The research problem and question is emphasized on the accessibility between those who reside in the mediocre condominiums and the expensive ones. The key assumption of this study is that there are differences between the residents of high-price condominiums and general-price condominiums, such as a reachable distance or accessibility to the BTS station. The alternative assumption is that the distance is related to the location, pattern and the price of the condominiums. The target populations are those who lived nearby the BTS station. The scope of this study are the area utilization around the BTS station and the behaviors of residents who lived in the condominiums in the area. Research tools contain two factors which are the data of land use and the behavioral survey of the target populations collected in rush hour (7 a.m-8.59 am.) when most of the people use transportation to get to their work places. The results, using the collected land use data, are analyzed by the segregation of land use using the intermediate value for determining usability and to choose the residential study area located around the BTS stations for the transporters behavioral analysis. By that result, this study can analyze statistic correlation between the location pattern and the transportation use whether those who lived in the general-price condominiums or the expensive. By the study, the land use around those 23 initial stations can be classified to 6 categories, which are 1. Land use for residential matter (8 stations), 2. Land use for business (2 stations), 3. Land use for government service or public service (1 station), 4. Land use for semi-business (6 stations), 5. Land use for half- Government service and business (5 stations) and 6. Land use for half- government service and residential matter (1 station). Moreover, the pattern of condominium location and the price have a contrast correlation, which shown that the pattern of general-price condominiums are located distantly from the station compared to the expensive ones when the expensive condominiums have more the “to-the-BTS station pathway” compared to the general-price ones. Lastly, those who reside in the general-price condominiums rather use their private cars or taxi compared to those who reside in the “not-to-far-from-BTS station” expensive condominiums. This study recommended the measure on “park and ride” area development, the transportation service to the BTS stations development, and the second community development which the ultimate target is to support future BTS station construction and to decrease the to-the-BTS station-transportation use. Thus, the area around BTS stations would be efficiently used in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.213-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการใช้ที่ดินในเมือง-
dc.subjectการเลือกวิธีการเดินทาง-
dc.subjectรถไฟฟ้า-
dc.subjectการขนส่งมวลชน-
dc.subjectLand use, Urban-
dc.subjectChoice of transportation-
dc.subjectLocal transit-
dc.subjectElectric railroads-
dc.titleรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและการเดินทางเข้าถึงสถานีของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดรอบสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสen_US
dc.title.alternativeLAND USE PATTERNS AND STATIONS ACCESS TRIP OF CONDOMENIUM RESIDENTS AROUND BTS STATIONSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPanit.P@Chula.ac.th,Panit.P@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.213-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873313625.pdf13.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.