Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5241
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสราวุธ อนันตชาติ-
dc.contributor.authorกรกช อนันตสมบูรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-01-03T10:22:54Z-
dc.date.available2008-01-03T10:22:54Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741306539-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5241-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractศึกษาโครงสร้างของหลักสูตรด้านการโฆษณาของมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนการโฆษณาเป็นวิชาเอกในระดับปริญญาตรี ศึกษาคุณสมบัติของแรงงานสาขาการโฆษณาตามความต้องการของตลาดแรงงาน ศึกษาความสอดคล้องของคุณสมบัติของแรงงานสาขาการโฆษณาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย กับหลักสูตรการโฆษณา และความต้องการของตลาดแรงงานสาขาโฆษณา และ ศึกษาความสอดคล้องกันระหว่างหลักสูตรในการผลิตบุคลากรสาขาการโฆษณา กับความต้องการของตลาดแรงงานด้านโฆษณา โดยแบ่งวิธีการวิจัยออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากอาจารย์ผู้ดูแลหลักสูตรสาขาวิชาการโฆษณาในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชาการโฆษณาเป็นวิชาเอกในระดับปริญญาตรีจำนวน 20 คน และผู้บริหาร/หัวหน้าแผนกในบริษัทตัวแทนโฆษณาที่ให้บริการการสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร จำนวน 25 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการสำรวจ จากอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาการโฆษณา ในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนการโฆษณาเป็นวิชาเอก ในระดับปริญญาตรี จำนวน 59 คน ผู้บริหาร และหัวหน้าแผนกจากบริษัทตัวแทนโฆษณาที่ให้บริการแบบครบวงจร จำนวน 52 คน และนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ที่ศึกษาการโฆษณาเป็นวิชาเอก ในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนการโฆษณาเป็นวิชาเอก จำนวน 216 คน ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรการศึกษาทางด้านการโฆษณาในประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ หลักสูตรที่มุ่งหวังผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้รอบรู้ สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาได้ทุกแขนง และสามารถไปศึกษาต่อได้ และหลักสูตรประเภทที่สอง มุ่งเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งทางการโฆษณาให้กับบัณฑิต ตามความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งลักษณะของบุคลากรทางด้านการโฆษณา ที่ทางตลาดแรงงานต้องการนั้น บุคลากรจะต้องมีความรู้เรื่องการตลาด การโฆษณา มีทักษะทางภาษาอังกฤษที่ดีใฝ่รู้ กล้าแสดงความคิดเห็น กระตือรือร้น และมีความอดทน นอกจากนี้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรทางด้านการโฆษณา และทักษะของบุคลากรทางด้านการโฆษณานั้น ของกลุ่มตัวอย่างทั้งสามกลุ่ม ไปในทิศทางเดียวกันในขณะที่ กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ที่เป็นอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาการโฆษณา และผู้บริหารบริษัทตัวแทนโฆษณา มีทั้งความคิดเห็นที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน และความคิดเห็นที่เป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามen
dc.description.abstractalternativeExamines the undergraduate advertising curriculum structure both in public and private Thai universities, identifies required qualifications of advertising graduates in the workforce, explores the consistency between the required qualification of advertising graduates for universities and those in the workforce and, explores the consistency between the undergraduate advertising curriculum and the workforce demand. Both qualitative and quantitative research methods were used. First, 20 faculty members fully responsible for advertising curriculum both in public and private universities, and 25 executives and supervisors in full service advertising agencies were in-depth interviewed. Then, a survey was conducted with 59 advertising faculty members, 52 advertising executives and supervisors, and 216 senior advertising students. The result showed that there were 2 types of curriculum structures existed : consolidated and specialist. The consolicated one focused on producing graduates who are fully-loaded with general advertising knowledge and, therefore, are able to efficiently work or further their studies. The specialist one aimed at training graduates who are skillful on particular jobs in advertising (e,g, creative, account executive) the academics and the practitioners agreed that advertising graduates should have advertising and marketing knowledge, and proficiency in English communication, as well as possess the following qualifications : eager to learn, outspoken, enthusiastic, and patient. In addition, the quantitative findings indicated that the three parties agreed on details relating to advertising curricula and professional skill required for advertising graduate while the qualitative results showed both agreement and disagreement of advertising faculty and practitioners on various topics discussed.en
dc.format.extent3461847 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.322-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโฆษณา -- การศึกษาและการสอนen
dc.subjectหลักสูตรen
dc.subjectตลาดแรงงานen
dc.subjectอุปสงค์แรงงานen
dc.titleหลักสูตรการศึกษาด้านการโฆษณาระดับปริญญาตรี กับความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศไทยen
dc.title.alternativeUndergraduate curriculum in advertising and workforce demand in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการโฆษณาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSaravudh.A@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.322-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
korakod.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.