Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52488
Title: "ความเป็นผู้หญิง" ในนิตยสารสตรีสาร (พ.ศ.2491-2539) : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์
Other Titles: "Femininity" in Satrisarn magazine (1948-1996) : a relation between language and ideology
Authors: ชนกพร อังศุวิริยะ
Advisors: เทพี จรัสจรุงเกียรติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Tepee.J@Chula.ac.th
Subjects: สตรี -- ไทย -- ภาวะสังคม
อุดมการณ์
Women -- Thailand -- Social conditions
Ideology
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษา "ความเป็นผู้หญิง" ในนิตยสารสตรีสาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491-2539 รวมทั้งสิ้น 576 ฉบับ โดยเลือกข้อมูลจากบทความแสดงความคิดเห็น ถ้อยแถลงหรือบทบรรณาธิการ และคอลัมน์ตอบจดหมายทั้งหมด 3,268 ตัวบท ผลการศึกษาพบว่า เมื่อศึกษาโครงสร้างของนิตยสารสตรีสารตามกรอบความคิด 3 มิติ วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (CDA) ของแฟร์เคลาฟ์ (Fairclough) พบว่า ตัวบท แสดงให้เห็น "ความเป็นผู้หญิง" ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ผลิต ได้แก่ บรรณาธิการและนักเขียน มีวัตถุประสงค์ให้ผู้หญิงมีการศึกษาและมีบทบาทสร้างสรรค์สังคม อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้อ่านส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้หญิงได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ผ่านจดหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคดังกล่าว ถือเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการทางวาทกรรม โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมากกว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจ ถือเป็นจุดเด่นของนิตยสารสตรีสาร และการศึกษาตามกรอบบริบททางสังคมภายนอกหรือปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรม ทำให้เห็นว่าสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจในช่วงเวลา 48 ปี ตั้งแต่เริ่มผลิตนิตยสารจนปิดกิจการ มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ส่งผลให้ผู้หญิงมีบทบาทนอกบ้านมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งนี้ย่อมมีผลต่อการผลิตตัวบทในนิตยสารสตรีสารด้วย จากการวิเคราะห์กลวิธีทางภาษา พบ 9 กลวิธี ได้แก่ การเลือกใช้คำศัพท์ การใช้ทัศนะภาวะการอ้างถึง การใช้คำถามวาทศิลป์ การใช้สำนวน การใช้อุปลักษณ์ การใช้ถ้อยคำนัยผกผัน การใช้มูลบท และการใช้สหบท ซึ่งสะท้อนความคิดเกี่ยวกับผู้หญิงโดยจำแนกเป็น 3 ความคิด ความคิดแรก ได้แก่ ความงามแบ่งเป็นความงามของร่างกายและการตกแต่งร่างกาย ความคิดที่สอง ได้แก่ พฤติกรรม แบ่งเป็นพฤติกรรมระหว่างเพศและพฤติกรรมการแสดงออกและอารมณ์ความรู้สึก ส่วนความคิดสุดท้าย ได้แก่ การทำหน้าที่แบ่งเป็นการทำหน้าที่ในบ้านและการทำหน้าที่นอกบ้าน ทั้ง 3 ความคิดดังกล่าวได้สะท้อนอุดมการณ์ที่สำคัญ 2 อุดมการณ์ คือ อุดมการณ์ปิตาธิปไตยและอุดมการณ์สตรีนิยม ได้แก่ เรื่องของความงาม ทำให้เห็นว่าผู้หญิงจะต้องมีความงามและจัดการให้ตัวเองงามได้มีพฤติกรรมที่ตกเป็นรองผู้ชายหรือเป็นผู้รับ และยังมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นแม่และเมีย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่านิตยสารสร้างความเป็นผู้หญิงเพื่อรับใช้ผู้ชายสะท้อนการครอบงำทางความคิดของอุดมการณ์ปิตาธิปไตย ขณะที่บางความคิดสะท้อนให้เห็นว่า ผู้หญิงสามารถศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และมีบทบาทในการทำงานหรือทางสังคมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นกรอบความคิดของอุดมการณ์สตรีนิยมที่พยายามเรียกร้องให้ผู้หญิงสามารถพึ่งพาตัวเองได้
Other Abstract: The dissertation studies "femininity" in 576 issues of Satrisarn Magazine from 1948-1996 by selecting a total of 3,268 texts from columns of opinion expression, statement, editorial and correspondence. The findings are as follows: After examining the magazine according to three dimensions of Fairclough's critical discourse analysis (CDA) framework, the text demonstrates the fact that "femininity" is the result of the objective of the producer such as the editor and the writers who wish to see women become more educated and play a more active role in their society. Besides, the readers are also able to express their opinions on a variety of subjects through their correspondence with the magazine. This relationship between the producer and consumer emerges as a part of a Discursive Practice whereby the magazine's distinctive feature is to give priority to the consumer instead of aiming for business benefits. In addition, the study of social context or Sociocultural Practice also indicates that within the prevailing social and economic condition during the 48 year period from the beginning until the terminating of the magazine's operations have seen social changes that result in more women taking on a role outside the domestic sphere. Ultimately this also affects the text generated in the magazine. From the analysis of the content, there are altogether nine linguistic strategies which include word choice, modality, reference, rhetorical question, idiom, metaphor, verbal irony, presupposition and intertexuality. These linguistic stratetgies reflect three notions of "femininity" i.e. (1) aesthetic physical beauty and dressing, (2) behavior such as behavior across genders and behavior of feeling and emotional expression and (3) duties and responsibility both in housework and work outside home. These three notions above reflect two important ideologies i.e. "patriarchal ideology" and "feminist ideology". For the aesthetic physical beauty, women believe that they must be physically appealing and are able to make themselves physically attractive. With regard to behavior, women are inferior to men or they play the submissive role. They also are confined to the roles of wife and mother. By analyzing the text, the magazine creates "femininity" to support men-a clear indication of the dominant "patriarchal ideology". Moreover, some ideas show that women can educate themselves for the purpose of self-improvement and to enhance their professional and social roles. The framework of "feminist ideology" calls for an increased self-reliance among women.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52488
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1961
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1961
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanokporn_an_front.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
chanokporn_an_ch1.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
chanokporn_an_ch2.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open
chanokporn_an_ch3.pdf6.62 MBAdobe PDFView/Open
chanokporn_an_ch4.pdf11.67 MBAdobe PDFView/Open
chanokporn_an_ch5.pdf16.28 MBAdobe PDFView/Open
chanokporn_an_ch6.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
chanokporn_an_back.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.