Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52490
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนิต จินดาวณิค-
dc.contributor.advisorอรรจน์ เศรษฐบุตร-
dc.contributor.authorณรงค์ชัย ประเสริฐศักดา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-03-07T00:03:56Z-
dc.date.available2017-03-07T00:03:56Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52490-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractศึกษาผลกระทบของกระแสลมต่อผู้ใช้พื้นที่ใต้ถุนอาคารสูง ปัญหาของกระแสลมต่อสภาวะน่าสบาย และสร้างแนวทางการออกแบบให้เกิดสภาวะน่าสบายในการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ สำหรับพื้นที่ใต้ถุนอาคาร การศึกษาดำเนินการโดยเก็บข้อมูลความเร็วลมและทิศทางของกระแสลม จากพื้นที่อาคารกรณีศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลความเร็วลมในพื้นที่ใต้ถุนอาคารกรณีศึกษา ซึ่งพบว่าอาคารที่มีความสูงมากกว่า 6 ชั้น มีค่าความเร็วลมมากกว่าสภาวะน่าสบายที่กำหนดไว้ 3.0 m/s ซึ่งรบกวนการใช้งานและทำให้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาเริ่มปลิว จากการศึกษาอาคารกรณีศึกษาแล้วได้นำมาสร้างเป็นอาคารจำลองในสัดส่วนอาคาร 1:1, 1:2, 1:3 และ 1:4 ในระดับความสูง 4 ชั้น 8 ชั้น 12 ชั้น และ 20 ชั้น และใช้โปรแกรม Computation Fluid Dynamic หรือ CFD ซึ่งศึกษาผลกระทบต่อผู้ใช้พื้นที่ใต้ถุนอาคารสูงโดยใช้ความเร็วลมเฉลี่ยของกรุงเทพมหานครที่ 1.7 m/s จากการจำลองสภาพดังกล่าวค่าความเร็วลมเฉลี่ยในพื้นที่ใต้ถุนอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 6 ชั้น มีค่าความเร็วลมมากกว่าสภาวะน่าสบายที่กำหนด และอาคารที่มีปัญหามากที่สุดคืออาคารที่มีสัดส่วน 1:2 จากข้อมูลดังกล่าวได้นำไปศึกษาแนวทางการออกแบบ 4 แนวทางคือ การใช้แผงดักลม 1 ด้าน และ 2 ด้าน ที่ขนานกับอาคารตามแนวยาวเพื่อควบคุมทิศทางและความเร็วลม การใช้แนวต้นไม้ที่มีความหนาแน่น 50% และการปรับปรุงภูมิทัศน์ จากการจำลองสภาพกับอาคารจำลองสัดส่วน 1:2 ทำให้ทราบว่าอาคารการใช้แผงดักลมร่วมกับแนวต้นไม้ มีประสิทธิภาพในการลดความเร็วลมมากที่สุดคือ 43% จากผลการศึกษาสามารถสร้างแนวทางในการออกแบบดังนี้ อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 6-10 ชั้น ควรติดตั้งแผงดักลมความกว้าง 1 เท่าของความสูงพื้นที่ใต้ถุนอาคารทั้ง 2 ด้าน ขนานตามแนวยาวเพื่อปรับให้กระแสลมอยู่ในสภาวะน่าสบาย อาคารสูง 12 ชั้น จำเป็นต้องใช้แนวต้นไม้ที่ความหนาแน่น 50% เพื่อชะลอความเร็วลมร่วมกับแผงดักลมกว้าง 1 เท่า ของความสูงพื้นที่ใตถุนอาคารและอาคารความสูงมากกว่า 12 ชั้นควรติดตั้งแผงดักลมทั้ง 2 ด้าน ขนานตลอดแนวอาคารเพื่อควบคุมทิศทางและกระแสลมในพื้นที่ใต้ถุนอาคาร โดยสร้างแนวต้นไม้ที่มีระยะห่างจากอาคารไม่เกิน 1.5 เท่าของความสูงใต้ถุนอาคาร และควรสร้างแนวต้นไม้ 2 แนวสลับแถวเพื่อลดความเร็วลมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeTo investigate the effects of wind speed underneath tall buildings, the effects of wind speed on a comfort zone and a design creating a comfort zone through natural ventilation. The study was conducted by collecting data on wind speed and wind directions of open space underneath the tall buildings in Chulalongkorn University. According to the data analysis, the rate of wind speed underneath buildings of more than 6 stories was higher than the standard rate of wind speed creating a comfort zone (3.0 m/s). This causes problems to those working in such areas and light material can be blown away. Building models were constructed at the aspect ratio of 1:1, 1:2, 1:3 and 1:4. These models were of different stories: 4 stories, 8 stories, 12 stories, 16 stories and 20 stories. Computational fluid dynamics (CFD) analysis was used to analyze the effects of average wind speed creating a comfort zone. This average wind speed at 1.7 m/s is determined by the Bangkok weather data. It was found that the average wind speed underneath the buildings of more than 6 stories was higher than standard wind speed for creating a comfort zone. The building with the aspect ratio of 1:2 posed a lot of problems. The obtained results led to 4 designs to control wind direction and wind speed. The 4 designs were 1) using a one-sided windbreaker along the length of the building, 2) using a two-sided windbreaker, 3) using a row of trees with the density of 50% and 4) improving the landscape. When the two-sided windbreaker and a row of trees were used with the building with the ratio of 1:2, the wind speed could be reduced by 43%. It can be concluded that a building of 6-10 stories should be equipped with a two-sided windbreaker. In this case the windbreaker should be as the height of the open space underneath the building. As for a building of 12 stories, a row of trees and a two-sided windbreaker which is as wide as the height of the open space underneath the building are required. A building of more than 12 stories should be equipped with a two-sided windbreaker, two rows of trees planted away from the building within the range of 1.5 times of the height of the building. These two rows of trees should be planted alternately.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectลม -- ความเร็ว -- การออกแบบen_US
dc.subjectลมกับสถาปัตยกรรมen_US
dc.subjectอาคารสูงen_US
dc.subjectภาวะสบายen_US
dc.subjectWinds -- Speed -- Designen_US
dc.subjectWinds and architectureen_US
dc.subjectTall buildingsen_US
dc.subjectHuman comforten_US
dc.titleการออกแบบปรับปรุงความเร็วลมเพื่อภาวะน่าสบายใต้ถุนอาคารสูงen_US
dc.title.alternativeDesign for wind speed improvement in open space underneath tall buildingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorcthanit@chula.ac.th-
dc.email.advisorAtch.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
narongchai_pa_front.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
narongchai_pa_ch1.pdf581.59 kBAdobe PDFView/Open
narongchai_pa_ch2.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
narongchai_pa_ch3.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
narongchai_pa_ch4.pdf6 MBAdobe PDFView/Open
narongchai_pa_ch5.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open
narongchai_pa_ch6.pdf974.11 kBAdobe PDFView/Open
narongchai_pa_back.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.