Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52565
Title: Cost effectiveness analysis of hypertension screening conducted by public health officers versus village health volunteers in Mae Fa Laung district, Chiang Rai province in 2011-2012
Other Titles: การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของการตรวจวัดความดันโดยเจ้าพนักงาน สาธารณสุขเปรียบเทียบกับการตรวจวัดความดันโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ในช่วงปี พ.ศ.2554-2555
Authors: Onn Laingoen
Advisors: Kannika Damrongplasit
Piya Hanvoravongchai
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Economicsะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: kannika.d@chula.ac.th
piya.h@chula.ac.th
Subjects: Blood pressure -- Measurement
Blood pressure -- Measurement -- Cost effectiveness
Public health personnel -- Thailand -- Chiang Rai
ความดันเลือด -- การวัด
ความดันเลือด -- การวัด -- ต้นทุนและประสิทธิผล
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข -- ไทย -- เชียงราย
บุคลากรสาธารณสุข -- ไทย -- เชียงราย
อาสาสมัครสาธารณสุข -- ไทย -- เชียงราย
Issue Date: 2013
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This study focuses on the cost and effectiveness analysis of hypertension screening conducted by public health officers versus by village heath volunteers in Mae Fah Luang District, Chiang Rai Province in 2011-2012. Only provider perspective has been included in this study. To obtain the cost of each program, activity-based costing method has been employed. However, we focus on two kinds of effectiveness measures including: (i) number of people screened and (ii) number of people with correct detection of hypertension. Delphi technique has been employed to estimate the probability of correct detection. The total cost from provider perspective indicates that hypertension screening conducted by public health officers in 2011 was 63,988.90 Baht and the number of people who were screened is equal to 1,048. So the cost effectiveness ratio comes up to be 61.05 Baht / person. In addition, the number of people with correct detection of hypertension was equal to 891, which implies that the monetary cost is 71.83 Baht / one case detect correctly. However, the total cost of hypertension screening conducted by village health volunteers in 2012 was 89,852.70 Baht and 1,106 of people were screened. Thus, the cost effectiveness ratio is equal to 81.24 Bath/person in 2012. For the performance of village health volunteers on the correctly detecting hypertension, we estimate from Delphi technique that 619 people were correctly detected. Thus 145.07 Baht is needed in order to pay for one case to correct detection of hypertension in 2012. As a result, this study can conclude that hypertension screening conducted by public health officers is more cost effective than when it was conducted by village heath volunteers.
Other Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบต้นทุนและประสิทธิผลของการคัดกรองความดันโลหิตสูงซึ่งเปรียบเทียบระหว่างการคัดกรองความดันโลหิตโดยเจ้าพนักงานสาธารณสุขกับการคัดกรองความดันโลหิตโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ.2554-2555 จากมุมมองของผู้ให้บริการเพียงอย่างเดียวโดยใช้ต้นทุนฐานกิจกรรม (activity-based costing)ในการคำนวณหาต้นทุนของแต่ละโครงการ และวัดประสิทธิผลสองอย่าง คือจำนวนของผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองทั้งหมดของแต่ละโครงการ และจำนวนคนที่ได้รับคัดกรองว่าเป็นหรือไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอย่างถูกต้อง ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนทั้งหมดของการตรวจวัดความดันโดยเจ้าพนักงานสาธารณสุขในปี2554 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,988.90 บาท และสามารถตรวจคัดกรองเพื่อหาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ทั้งหมด 1,048 ราย ซึ่งคิดเป็นต้นทุนต่อการคัดกรอง 1 ราย เป็นเงิน 61.05 บาท จากจำนวนผู้ที่ถูกคัดกรองทั้งหมดนี้มี 891 คนที่ได้รับการวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องว่าเป็นหรือไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่อประเมินออกมาเป็นมูลค่าเงินแล้วเท่ากับว่าต้องใช้เงินจำนวน 71.83 บาท ต่อการคัดกรองหาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้อย่างถูกต้องหนึ่งรายโดยเจ้าพนักงานสาธารณสุข ส่วนต้นทุนทั้งหมดของการคัดกรองความดันโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในปี2555 นั้น รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 89,852.70 บาท คัดกรองผู้ป่วยได้ทั้งหมด 1,106 ราย เมื่อคิดเป็นต้นทุนต่อการคัดกรอง 1 รายแล้วเท่ากับ 81.24 บาท สำหรับความแม่นยำในการคัดกรองนั้นพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สามารถคัดกรองได้อย่างถูกต้อง 619 ราย เท่ากับว่า ต้องใช้ต้นทุนทั้งสิ้น 145.07 บาทต่อการคัดกรองผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง 1 ราย สุดท้ายแล้วการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า การคัดกรองความดันโดยเจ้าพนักงานสาธารณสุขนั้นคุ้มค่ากว่าการคัดกรองความดันโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
Description: Thesis (M.S.c.)--Chulalongkorn University, 2013
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Health Economics and Health Care Management
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52565
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1739
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1739
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
onn_la.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.