Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52613
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระพันธ์ เหลืองทองคำ-
dc.contributor.authorชมนาด อินทจามรรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-03-13T09:10:50Z-
dc.date.available2017-03-13T09:10:50Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52613-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างของรูปแบบระดับเสียงในคำที่ไม่ใช่คำยืมไทในภาษามัล 4 วิธภาษาและภาษาไปร 1 วิธภาษาตามพยัญชนะต้น พยัญชนะท้าย และโครงสร้างพยางค์โดยวิธีการทางกลสัทศาสตร์ และรูปแบบระดับเสียงของคำยืมไทและคำคู่เทียบเสียงในภาษามัล 4 วิธภาษาและภาษาไปร 1 วิธภาษา โดยเก็บข้อมูล 5 จุด ได้แก่ ภาษามัลบ้านเกวต (MK) ภาษามัลบ้านภูกอก (MPK) ภาษามัลบ้านตาหลวง (MTL) ภาษามัลบ้านยอดดอยวัฒนา (MYW) และภาษาไปรบ้านห้วยล้อม (PHL) เก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษาเพศหญิงวิธภาษาละ 3 คน อายุ 30 ปีขึ้นไป โดยให้ผู้บอกภาษาออกเสียงคำตัวอย่างซึ่งเป็นคำพยางค์เดียว 3 ครั้ง ในการบันทึกเสียงใช้โปรแกรม Adobe Audition เวอร์ชั่น 2 จากนั้นจึงวิเคราะห์คำทดสอบทั้งสิ้น 6,003 คำ โดยใช้โปรแกรม Praat เวอร์ชั่น 4.5.24 และโปรแกรมเสริมในการหาค่าความถี่มูลฐาน การวิเคราะห์ค่าทางสถิติใช้โปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 13.0 ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงของเสียงในภาษาดั้งเดิมมาเป็นเสียงในภาษาปัจจุบันดูเหมือนว่าไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบระดับเสียงโดยรวมในภาษามัลและภาษาไปร โดยรูปแบบระดับเสียงที่พบในแต่ละวิธภาษาต่างก็มีรูปแบบเฉพาะของตนเองที่ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลงของเสียงพยัญชนะต้น พยัญชนะท้าย และสระ อย่างไรก็ดี พบว่าในวิธภาษา MK MTL และ MYW ระดับเสียงขึ้นกับโครงสร้างพยางค์ คือ ระดับเสียงสูงตกในพยางค์เป็น กับ ระดับเสียงสูงระดับในพยางค์ตาย ขณะที่วิธภาษา MPK และ PHL โครงสร้างพยางค์ไม่มีอิทธิพลต่อระดับเสียง เมื่อวัดค่าความถี่มูลฐานของคำยืมไทกับคำคู่เทียบเสียงและคำพ้องเสียง 3 กลุ่ม คือ คำยืม-คำยืม คำยืม-คำมัล หรือ คำยืม-คำไปร และ คำมัล-คำมัล หรือ คำไปร-คำไปร พบว่า พฤติกรรมของค่าความถี่มูลฐานสามารถแบ่งวิธภาษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ภาษาไม่มีวรรณยุกต์ (วิธภาษา MK MPK และ PHL) และภาษาวรรณยุกต์ (วิธภาษา MTL และ MYW) ในกลุ่มภาษาไม่มีวรรณยุกต์ พบว่า ระดับเสียงในคำพ้องเสียงทั้ง 3 กลุ่มจะมีระดับเสียงเดียวกัน ส่วนในกลุ่มภาษาวรรณยุกต์ พบว่า ระดับเสียงในคำคู่เทียบเสียงทั้ง 3 กลุ่มมี 2 ระดับเสียง ซึ่งใช้จำแนกความหมายของคำ คือ ระดับเสียงสูง (สูงตก และ สูงระดับ) และระดับเสียงต่ำ (ต่ำขึ้น) ดังนั้น จะเห็นได้ว่าวิธภาษา MTL และ MYW เป็นภาษาวรรณยุกต์ โดยมีวรรณยุกต์ 2 หน่วยเสียง คือ /สูง/ และ /ต่ำ/ นอกจากนี้ พบว่า 2 หน่วยเสียงวรรณยุกต์ดังกล่าว ถูกกำหนดให้กับคำยืม แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ วรรณยุกต์สูง ในคำยืมไทที่มีวรรณยุกต์กลางขึ้น วรรณยุกต์สูงระดับ และวรรณยุกต์สูงตก กับ วรรณยุกต์ต่ำ ในคำยืมไทที่มีวรรณยุกต์ต่ำขึ้น วรรณยุกต์กลางระดับ และวรรณยุกต์กลางตก ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าเส้นทางการกำเนิดวรรณยุกต์ในภาษามัลบางวิธภาษาในอดีตเป็นเพราะได้รับอิทธิพลจากคำยืมไท (คำเมืองถิ่นน่าน) จากการสัมผัสภาษา โดยยืมสัทลักษณะเด่นของวรรณยุกต์คำเมืองถิ่นน่าน คือเสียง “ขึ้น” และกำหนดระดับเสียงขึ้นให้คำยืม ต่อมาได้กระจายไปสู่คำมัลด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยภายใน ได้แก่ ค่าความถี่มูลฐานธรรมชาติของสระ ค่าความถี่มูลฐานของสระเมื่ออยู่หลังพยัญชนะต้น และค่าความถี่มูลฐานของสระเมื่ออยู่หน้าพยัญชนะท้าย สามารถแสดงให้เห็นทิศทางหรือแนวโน้มของพัฒนาการของวรรณยุกต์ในวิธภาษาที่เป็นภาษาวรรณยุกต์ และพัฒนาการของรูปแบบระดับเสียงไปเป็นวรรณยุกต์ในวิธภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ได้เช่นกันen_US
dc.description.abstractalternativeThis study aims to analyze and compare the pitch patterns of native words in 4 Mal varieties and 1 Pray variety in term of initial consonants, final consonants and vowels by using acoustical measurement, and also to analyze and compare the pitch patterns of Tai loanwords and word pairs in 4 Mal varieties and 1 Pray variety. The data was collected at 5 villages, namely Kwet Mal (MK), Phu Kok Mal (MPK), Ta Luang Mal (MTL) Yotdoi Watthana Mal (MYW) and Huay Lom Pray (PHL). Three female speakers of each variety, aged 30 years above, were asked to pronounce each wordlist 3 times. The data was recorded directly to the computer with the use of Adobe Audition version 2 and then 6,003 tokens were acoustically analyzed by using Praat version 4.5.24. The SPSS program version 13.0 was used for statistical measurement. The results suggest that sound change doesn’t seem to influence on overall pitch pattern of Mal and Pray. Each variety has its own pitch pattern. The pattern is not conditioned by any sound changes, i.e. initial consonants, final consonants and vowels. However, the pitch pattern can be different depending on syllable structures. The MK MTL and MYW varieties have two pitches; high-falling in non-checked syllable and high-level in checked syllable. Whereas, the MPK and PHL varieties have only one pitch. The pitch patterns of loanwords and 3 types of word pairs, minimal pairs and in some cases homophonous pairs, i.e. loanwords-loanwords, loanwords-native words and native words-native words can be used as a criterion to divide Mal and Pray languages into 2 groups, non-tonal language (MK MPK and PHL) and tonal language (MTY and MYW). The pitch pattern of the homophonous pairs in the non-tonal varieties are the same, whereas, there are two pitches in the word pairs which can distinguish the meaning, i.e. /high/ [high falling and high level] and /low/ [low rising] in the tonal varieties. Therefore, it can be concluded that MTY and MYW are tonal language having two tones /high/ and /low/. These two tones are also assigned to Tai Yuan loanwords. The high tone occurs in loanwords having mid-rising tone, high-level tone and high-falling tone. The low tone occurs in loanwords having low-rising tone, mid-level tone and mid-falling tone. In conclusion, the pathway of becoming a tonal language of some Mal varieties is influenced by Tai loanwords (Kham Muaeng Nan). Salient tone shape of two Tai Yuan rising tones was borrowed and assigned to loanwords at the first place and then to native words. However, the intrinsic F0 of vowels, the F0 of vowel preceded by initial consonants and the F0 of vowel followed by final consonants also show to a certain extent the possibility of tonal development in the tonal varieties and tonal evolution in the non-tonal varieties of Mal-Pray.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.176-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษามัล -- การออกเสียงen_US
dc.subjectภาษาลัวะ -- วรรณยุกต์en_US
dc.subjectภาษาลัวะ -- การออกเสียงen_US
dc.subjectภาษาไทยถิ่นเหนือ -- ไทย -- น่านen_US
dc.subjectDialectology -- Pronunciationen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.titleเส้นทางสู่การเป็นภาษาวรรณยุกต์ของภาษามัล-ไปรที่พูดในจังหวัดน่านen_US
dc.title.alternativeOn becoming a tonal of Mal-Pray spoken in Nan provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTheraphan.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.176-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chommanad_ln_front.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open
chommanad_ln_ch1.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
chommanad_ln_ch2.pdf5.32 MBAdobe PDFView/Open
chommanad_ln_ch3.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open
chommanad_ln_ch4.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
chommanad_ln_ch5.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open
chommanad_ln_ch6.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open
chommanad_ln_ch7.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open
chommanad_ln_ch8.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open
chommanad_ln_ch9.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open
chommanad_ln_ch10.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open
chommanad_ln_back.pdf8.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.