Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5266
Title: | การศึกษาความเป็นมาและการบริหารจัดการของสถานีวิทยุชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ |
Other Titles: | A study of community radio and their administration in Chaiyaphum Province |
Authors: | คม สัมพันธารักษ์ |
Advisors: | สุธี พลพงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | วิทยุชุมชน วิทยุชุมชน -- ไทย -- ชัยภูมิ วิทยุกระจายเสียง |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษา 1. ความเป็นมาของสถานีวิทยุชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ 2. โครงสร้างและแนวทางการบริหารจัดการของสถานีวิทยาชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ และ 3. เปรียบเทียบผังรายการและเนื้อหาสาระของสถานีวิทยุชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยทั้งการวิจัยเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เจาะลึก ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ความเป็นมาของสถานีวิทยุชุมชนในจังหวัดชัยภูมิเริ่มต้นในปี 2543 โดยรูปแบบเริ่มแรกเป็นแบบที่ภารรัฐจัดรูปแบบให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วยกรมประชาสัมพันธ์ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และหน่วยงานวิทยุตำรวจตระเวนชายแดน หลังจากนั้นในต้นปี 2546 ก็ได้เริ่มมีสถานีวิทยุชุมชนที่กระจายตัวอยู่ตามชุมชนต่างๆ ที่ก่อตั้งโดยงบประมาณจากกองทุนเพื่อการพัฒนาสังคม (SIF) โดยเริ่มจากศูนย์การเรียนรู้วิทยุชุมชนต้นน้ำซีที่อำเภอหนองบัวแดง และศูนย์การเรียนรู้วิทยุชุมชนคนตลาดแร้งที่อำเภอบ้านเขว้า ซึ่งต่อมาศูนย์การเรียนรู้วิทยุชุมชนคนตลาดแร้งได้ปิดตัวลงและย้ายอุปกรณ์ต่างๆ มาดำเนินงานใหม่ที่อำเภอบ้านแท่น โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์การเรียนรู้วิทยุชุมชนคนบ้านแท่น ต่อมากลางปี 2547 กรมประชาสัมพันธ์โดยดำเนินการผ่านกองงาน กกช. ก็ได้จัดโครงการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชนโดยอนุญาตให้มีโฆษณาได้ จึงเกิดสถานีวิทยุชุมชนขึ้นมาอย่างรวดเร็วทั้งจังหวัด โดยมีจุดปฏิบัติการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชนคนภูเขียว ที่อำเภอภูเขียว และจุดปฏิบัติการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชนคนรักษ์ถิ่น ที่อำเภอเมือง ได้เกิดขึ้นเป็นสถานีแรกและสถานีที่สองของโครงการดังกล่าวตามลำดับ จากการศึกษาโครงสร้างและแนวทางการบริหารจัดการ ตลอดจนเปรียบเทียบผังรายการและเนื้อหาสาระของสถานีวิทยุชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ พบว่าสถานีวิทยุชุมชนในรูปแบบที่กระจายตัวอยู่ตามชุมชนต่างๆ ทั้ง 4 สถานี มีการดำเนินงานที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบประกอบด้วย 1) ศูนย์การเรียนรู้วิทยุชุมชนต้นน้ำชี ภายใต้รูปแบบการบริหารจัดการของกลุ่มเครือข่ายประชารัฐ ที่ปฏิบัติตามแนวคิดวิทยุชุมชนของกลุ่มประชาสังคม ซึ่งทำให้วิทยุชุมชนเป็นของชุมชนอย่างแท้จริง 2) ศูนย์การเรียนรู้วิทยุชุมชนคนบ้านแท่น ภายใต้รูปแบบการบริหารจัดการแบบราชการ เนื่องจากมีการบริหารงานโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแท่น 3) จุดปฎบัติการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชนคนภูเขียว ภายใต้รูปแบบการบริหารจัดการแบบธุรกิจ ที่มีการแสวงหารายได้จากการโฆษณาเป็นหลัก 4) จุดปฏบัติการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชนคนรักษ์ถิ่น ภายใต้รูปแบบการบริหารจัดการแบบธุรกิจการเมือง ที่มีการแสวงหาผลประโยชน์จากการโฆษณาและผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างชัดเจน |
Other Abstract: | To (1) study the history and development of the community radio in Chaiyaphum province, (2) investigate the structure and administrative process of community radio in Chaiyaphum province, and (3) compare the radio program schedule of Chaiyaphum's community radio by using research methodologies, including document research, participation observance, and indepth interview. As a result, we can summarize that Chaiyaphum's community radio stations started since 2000 with the government initiative. In the early stage of the development process, there were 3 types of community radio stations which are the Public Relations Department, Mass Communication of Thailand and The Border Police Patrol Radio. By the year 2003, many community radio stations were distributed in several areas of Chaiyaphum's community by the support of the Social Investment Fund (SIF). Initially, Ton Nam Chee Community Radio Learning Centre and Kon Talhad Rang Community Radio Learning Centre at Ban Khao district had been started. Later on, the 2 radio stations were relocated at Ban Tan district and renamed as Kon Ban Tan Community Radio Learning Centre. In mid 2004, the Public Relations Department by The Committee of Radio and National Radio and Television Division promoted "The Readiness Community Radio Project" and had allowed advertisement of this project. Therefore, Community Radios increased rapidly in Chaiyaphum province. At that time, the Kon Phu Keaw Community Radio Readiness Operation Point and Kon Rug Thin Community Radio Readiness Operation Point were the first and the second radio stations, respectively, as a result of this project. By investigating the structure and administrative process, and comparing among radio problems of community radio in Chaiyaphum province, we find that there are 4 models of community radio which can be categorized by their operations and objectives, as follow 1) The Social Citizen Group Model (The Ton Nam Chee Community Radio Learning Centre) 2) The Governmental Model (The Kon Ban Tan Community Radio Learning Centre) 3) The Business Model (The Kon Phu Keaw Community Radio Readiness Operation Point) 4) The Political Business Model (The Kon Rug Thin Community Radio Readiness Operation Point) By considering on ownership, community participation, the independent from political and business influence. It may be said that the first model is truely community radio implementing. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5266 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.689 |
ISBN: | 9741735332 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.689 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.