Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52737
Title: ผลของการประคบอุ่นส้นเท้าด้วยถุงเท้าถั่วเขียวต่อการตอบสนองต่อความเจ็บปวดในทารกแรกเกิดที่ได้รับการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า
Other Titles: The effect of heel warming by mung bean sock on pain response in newborn receiving heel prick
Authors: พรพรรณ พุ่มประดับ
Advisors: วีณา จีระแพทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: j_veena@hotmail.com
Subjects: ทารกแรกเกิด
การเจาะหลอดเลือดดำ
ความเจ็บปวดในเด็ก
Newborn infants
Veins -- Puncture
Pain in children
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการประคบอุ่นส้นเท้าด้วยถุงเท้าถั่วเขียว ต่อการตอบสนองต่อความเจ็บปวดในทารกแรกเกิดที่ได้รับการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า ขณะเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า และหลังเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า นาทีที่ 1, 2 และ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ทารกแรกเกิด อายุครรภ์ 37-42 สัปดาห์ น้ำหนัก 2,500-4,000 กรัม ที่เข้ารับการรักษาที่ห้องเด็กแรกเกิด จำนวน 70 ราย ทำการสุ่มด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ คู่มือและอุปกรณ์การประคบอุ่นส้นเท้าด้วยถุงเท้าถั่วเขียวก่อนเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า และแบบประเมินการตอบสนองความเจ็บปวดของทารกแรกเกิด Neonatal Infant Pain Scale ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและมีค่าความเที่ยงของการสังเกตเท่ากับ 0.92 เก็บรวบรวมข้อมูลการตอบสนองต่อความเจ็บปวดด้วยการบันทึกวีดิทัศน์ขณะเจาะเลือดและหลังเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยมีดังนี้ 1.ค่าเฉลี่ยของคะแนนการตอบสนองต่อความเจ็บปวดของทารกแรกเกิด ขณะเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า กลุ่มที่ได้รับการประคบส้นเท้าด้วยถุงเท้าถั่วเขียวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ค่าเฉลี่ยของคะแนนการตอบสนองต่อความเจ็บปวดของทารกแรกเกิด หลังการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้านาทีที่ 1, 2 และ 3 ในกลุ่มที่ได้รับการประคบส้นเท้าด้วยถุงเท้าถั่วเขียวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การประคบอุ่นส้นเท้าด้วยถุงเท้าถั่วเขียวสามารถลดการตอบสนองต่อความเจ็บปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: This quasi-experimental research was to investigate the effects of heel warming by mung bean sock on pain response in newborns receiving heel prick. Subjects included 70 newborns with gestational age of 37 to 42 weeks and body weight of 2,500 to 4,000 grams, who were admitted to nursery ward. They were randomly selected into experimental group and control group, 35 in each group. Research intervention instruments consisted of the manual and equipment for heel warming by mung bean sock. Data collection instrument was the Neonatal Infant Pain Scale which had content validity and inter-rater reliability of 0.92. Data of pain responses were collected by video recording during and after receiving heel prick. Data were analyzed using descriptive statistics and independent t-test. The results were as follows: 1. The mean score of pain response to heel prick in newborns receiving heel warming by mung bean sock was significantly lower than those who receiving conventional nursing care at the level of .05. 2. The mean score of pain response after heel prick at the 1st, 2nd and 3rd minute in newborns receiving heel warming by mung bean sock was significantly lower than those who receiving conventional nursing care at the level of .05. The research findings revealed that heel warming by mung bean sock is an effective nursing intervention to reduce pain response in newborns receiving heel prick.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52737
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1782
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1782
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pornphan_ph.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.